คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดคดี
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 62 วรรคสาม และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4 (1) และ ข้อ 5 (1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ(อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8641/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์: การพิเคราะห์บทบาทและเจตนาของผู้ร่วมกระทำความผิด
คนร้ายที่ใช้กำลังประทุษร้ายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปมีเพียง 2 คน เท่านั้นคือจำเลยกับ ส. ส่วน ป. คงยืนเฉย ๆ มิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือจำเลยกับ ส. และตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้คบคิดกันมาก่อนพฤติการณ์ที่ ป. ยืนอยู่เฉย ๆ ในที่เกิดเหตุจะถือว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่ได้เมื่อการกระทำความผิดมีผู้ร่วมกระทำความผิดเพียง 2 คน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8641/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์: การร่วมกระทำผิดและการลดโทษจากอายุและทรัพย์สินที่ได้ไป
++ เรื่อง ปล้นทรัพย์ ++
คนร้ายที่ใช้กำลังประทุษร้ายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปมีเพียง 2 คน เท่านั้นคือจำเลยกับ ส. ส่วนคนร้ายที่เหลืออีก 1 คน คือ ป.นั้นคงยืนเฉย ๆ มิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือจำเลยกับ ส. และพฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับ แล้วจำเลยก็ขับแซงขึ้นไปจึงเกิดเหตุคดีนี้ขึ้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้คบคิดกันมาก่อน เป็นเรื่องเฉพาะตัว จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี เท่านั้น
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แต่ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 339วรรคหนึ่ง, 340 ตรี จึงไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นจำเลยมีความผิดตามป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และศาลฎีกามีอำนาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ เพราะโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ซึ่งมีโทษหนักขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8573/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีบังคับจดทะเบียนภาระจำยอมซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ศาลในคดีก่อนพิจารณาว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ได้ระบุอ้างบันทึกข้อตกลงในโฉนดที่ดินเป็นพยาน ทั้งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แม้ภายหลังจำเลย (โจทก์คดีนี้) จะส่งต้นฉบับต่อศาล แต่ก็เป็นเวลาหลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว โดยไม่มีพยานมาสืบประกอบ จึงรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์ (จำเลยคดีนี้) มีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานจำเลย (โจทก์คดีนี้) ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ (จำเลยคดีนี้) ตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) ก่อนให้ชำระหนี้ค่าที่ดิน พิพากษายกฟ้องแย้ง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาของประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันไปจดทะเบียนภาระจำยอม อ้างเหตุตามบันทึกข้อตกลงเดียวกัน มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาว่ากล่าวฟ้องร้องเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีอาญา: ต้องเกิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษเท่านั้น
คดีอาญาเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ย่อมมีความหมายว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ภายหลังเวลาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้วตลอดไปจนครบกำหนด 1 ปีหากจำเลยได้กระทำความผิดขึ้นอีก อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลที่พิพากษาคดีหลังมีอำนาจบวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ หากคดีหลังนี้ศาลพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58(ที่แก้ไขใหม่) จำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2540 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะพิพากษา แม้คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยถึงจำคุกด้วยก็ตามศาลในคดีนี้ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่ศาลพิพากษาก่อนคดีนี้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้เพราะการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้มิใช่เป็นการกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: เหตุผลและขอบเขตตามกฎหมายอาญา
คดีอาญาเรื่องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม2540 ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ย่อมมีความหมายว่า นับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540ภายหลังเวลาที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้วตลอดไปจนครบกำหนด1 ปี หากจำเลยได้กระทำความผิดขึ้นอีก อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลที่พิพากษาคดีหลังมีอำนาจบวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้ หากคดีหลังนี้ศาลพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ทั้งนี้ตามป.อ.มาตรา 58 (ที่แก้ไขใหม่) จำเลยกระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มกราคม2540 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะพิพากษา แม้คดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยถึงจำคุกด้วยก็ตาม ศาลในคดีนี้ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่ศาลพิพากษาก่อนคดีนี้ มาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้เพราะการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้มิใช่เป็นการกระทำความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 58
แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่ จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา และศาลสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการบวกโทษจำเลยอันเกี่ยวพันถึงการกระทำความผิดของจำเลยศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความจริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจำเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง ศาลฎีกาจะฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน ต้องสอดคล้องกับวันทำละเมิด
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่ปี2536 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อเดือนมิถุนายน 2536 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่ปี 2536 ซึ่งมีความหมายว่านับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป จึงไม่ชอบเพราะเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายก่อนวันทำละเมิด ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปไถที่ดินวันใดแน่ จึงกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2536 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายเริ่มนับแต่เวลาที่เกิดละเมิด การกำหนดวันเริ่มผิดพลาดต้องแก้ไข
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่ปี 2536เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อเดือนมิถุนายน2536 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่ปี2536 ซึ่งมีความหมายว่านับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป จึงไม่ชอบเพราะเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายก่อนวันทำละเมิด ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปไถที่ดินวันใดแน่ จึงกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2536 เป็นต้นไป
of 33