พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างปรับค่าบริการตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ศาลยืนตามสัญญา แม้โจทก์มิได้แสดงประกาศ
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ เห็นได้ว่าการที่จำเลยมีข้อตกลงดังกล่าวกับโจทก์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้โจทก์มิได้นำส่งประกาศ ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แต่มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ใช้บังคับระหว่างที่โจทก์ให้บริการจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับค่าบริการให้เพิ่มสูงขึ้นตามสัญญาว่าจ้างได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง แม้โจทก์มิได้นำส่งประกาศ ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แต่มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ใช้บังคับระหว่างที่โจทก์ให้บริการจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับค่าบริการให้เพิ่มสูงขึ้นตามสัญญาว่าจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย: สิทธิการปรับเพิ่มราคาตามประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ และการพิสูจน์ข้อตกลงการใช้บริการวิทยุสื่อสาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประกาศซึ่งมีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้องรู้เอง
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว
ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ระบุหมายเหตุไว้ว่าค่าบริการจะถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละเดียวกันกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้มีผลในขณะเดียวกันกับที่ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับสูงขึ้นนั้นมีผลใช้บังคับ ถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มสูงขึ้นได้เท่าจำนวนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและให้โจทก์ปรับค่าบริการเพิ่มได้ทันทีเมื่อการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีผลใช้บังคับ
ท. เป็นลูกจ้างของบริษัทควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยท. มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ ท. ตกลงกับโจทก์และโจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารให้พนักงานรักษาความปลอดภัยนำไปใช้เพื่อความสะดวกในการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์จัดบริการวิทยุสื่อสารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้ระยะเวลาครอบครองเดิมสิ้นสุดลง และต้องนับระยะเวลาใหม่
ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 ต่อมาวันที่ 11 มีนาคม 2530 ส. เจ้าของที่ดินพิพาทเดิม จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ย่อมใช้ยันผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองปกปักษ์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาก็ตาม ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่มี อยู่แล้วนั้นย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ใหม่ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททางทะเบียน แต่เมื่อนับถึงวันที่ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการโอนที่ดิน: การเลิกสัญญาเช่านาแลกกับการจัดหาที่ดินใหม่
การที่จำเลยยอมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่โจทก์ทั้งสามยอมเลิกการเช่านาและออกจากนาที่เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับได้ กรณีมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 525 และ 526 บันทึกข้อตกลงที่ให้จำเลยเป็นผู้จัดหาที่ดิน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์ทั้งสามนำสืบพยานบุคคลให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใด จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกชำระหนี้แทนการโอนทรัพย์สิน การรับโอนทรัพย์สินโดยสุจริต และผลของการรับรองจากศาล
คำสั่งศาลจังหวัดสกลนครในคดีก่อนเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ามีการกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้อย่างไร จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้อย่างไรจึงจะถูกต้อง และมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิใช่เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือประเด็นแห่งคดี ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการชำระเงินโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกก่อน จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะยกข้อดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคดีนี้ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้น บังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองกับพวก หากช. ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 กับ ช. ร่วมกันชำระเงิน137,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองกับพวกนั้น เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ หาใช่เป็นการกระทำหลายอย่างอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกนำเงินจำนวน 137,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ทั้งสองกับพวก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าหลังจากได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินค่าที่ดินจำนวน 137,000 บาท พร้อมค่าทนายความและค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ทั้งสองมาวางต่อศาลจังหวัดสกลนครและศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้รับเงินในวันนั้นเอง และจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปยื่นขอแบ่งขายต่อสำนักงานที่ดินอำเภอสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาสำนักงานที่ดินดังกล่าวมีหนังสือถึงศาลจังหวัดสกลนครเพื่อขอให้อธิบายคำพิพากษาซึ่งศาลก็เห็นชอบด้วยกับความเห็นของสำนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะยื่นคำขอแบ่งขายที่ดินพิพาทได้จำเลยที่ 1 จึงได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากิน ทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่ดินพิพาท, อำนาจจัดการมรดก, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส.ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส.ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเช่า และอำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องโทษจำคุก: การไม่โต้แย้งในศาลอุทธรณ์ทำให้ฎีกาต้องห้าม
แม้คดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยสูงเกินไป แสดงว่าจำเลยพอใจกับโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยกลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยสูงเกินไปถือได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าว จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องโทษสูงเกินไปหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ถือเป็นการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาจึงต้องห้าม
แม้คดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยสูงเกินไป แสดงว่าจำเลยพอใจกับโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยกลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยสูงเกินไป ถือได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย