พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีในการขยายเวลาฟ้องคดี และการหักค่าใช้จ่ายทางภาษีตามหลักเกณฑ์สิทธิ
ระยะเวลา 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าคำร้องของโจทก์ที่ขอขยายระยะเวลามีพฤติการณ์พิเศษ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจที่จะอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องจำเลยออกไปได้
โจทก์สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1220 เมื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนแล้ว โจทก์ยังอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเพิ่มทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1228 ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนเป็นวันที่โจทก์เพิ่มทุนและรับชำระเต็มมูลค่าหุ้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยมิได้หักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินไม่ชอบ ไม่นำค่าใช้จ่ายมารวมเป็นต้นทุนขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ส่งหลักฐานรายจ่ายในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่างมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารนั้น จึงเชื่อได้ว่าเอกสารดังกล่าวแสดงรายจ่ายอันแท้จริงของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่นำค่าใช้จ่ายตามรายการดังกล่าวไปหักให้ย่อมเป็นการไม่ชอบ การประเมินภาษีเงินได้และคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่ โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1220 เมื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนแล้ว โจทก์ยังอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่จะต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเพิ่มทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1228 ดังนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนเป็นวันที่โจทก์เพิ่มทุนและรับชำระเต็มมูลค่าหุ้น
โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยมิได้หักค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินไม่ชอบ ไม่นำค่าใช้จ่ายมารวมเป็นต้นทุนขายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ส่งหลักฐานรายจ่ายในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ทั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่างมิได้โต้แย้งหรือปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารนั้น จึงเชื่อได้ว่าเอกสารดังกล่าวแสดงรายจ่ายอันแท้จริงของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่นำค่าใช้จ่ายตามรายการดังกล่าวไปหักให้ย่อมเป็นการไม่ชอบ การประเมินภาษีเงินได้และคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649-3650/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะจากเหตุข่มเหง การพิจารณาความรุนแรงของการกระทำและลดโทษ
ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นวัยรุ่นบุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้านที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวอยู่อาศัยและปีนหลังคาห้องน้ำแอบดูการอาบน้ำของน้องสาวจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในวัยรุ่นเช่นกันและยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการข่มเหงจำเลยที่ 2 อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จนก่อให้เกิดโทสะขึ้นถึงขั้นกระทำความผิดลงได้ จำเลยที่ 2 ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายสาหัส แม้การกระทำของจำเลยที่ 2 จะกระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองในลักษณะที่รุนแรงเกินไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาการริบของกลางที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมยึดหลอดกาแฟ 10 หลอด เป็นของกลาง และขอให้ริบของกลางด้วยนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายืน แต่ไม่ริบหลอดกาแฟของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบเยื่อกระดาษทางท่อมิใช่การขายกระแสไฟฟ้า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ
การขายเยื่อกระดาษของโจทก์แม้จะมีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านทางท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ขายให้แก่บริษัท ป. เพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 (1) กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกับการขายกระแสไฟฟ้าตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 ฯ ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 เพราะกรณีดังกล่าวต้องเป็นการขายสินค้าที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันเมื่อใด
แม้คำฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการประเมินคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับจึงชอบแล้ว
แม้คำฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการประเมินคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การส่งมอบสินค้าเป็นน้ำเยื่อกระดาษ มีมิเตอร์วัดปริมาณชัดเจน ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบ ไม่ใช่เมื่อรับชำระเงิน
โจทก์ขายเยื่อกระดาษ มีสภาพเป็นน้ำเยื่อกระดาษส่งผ่านท่อตลอด 24 ชั่วโมง แต่ขายให้ลูกค้าเพียงรายเดียว มีมิเตอร์วัดปริมาณการขายเป็นรายวันสามารถทราบปริมาณการขายในแต่ละวันได้ชัดเจน โดยสรุปรายการไว้ใน Daily Report เป็นกรณีที่ทราบจำนวนเนื้อเยื่อกระดาษที่ส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแต่ละวันได้แน่นอน ความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78 (1) แห่ง ป.รัษฎากร กรณีหาใช่เป็นการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการขายกระแสไฟฟ้า ตามมาตรา 78/3 (1) ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ข้อ 1 ไม่
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นภาษีคนละเดือนภาษี ซึ่งสภาพแห่งข้อหาแต่ละเดือนภาษีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีหลายข้อหาเป็นรายเดือนภาษี ต้องเสียค่าขึ้นศาล โดยคิดแยกแต่ละข้อหาตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อหุ้น/ที่ดิน เป็นรายจ่ายลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) พ.ร.ร. ไม่นำมาตรฐานบัญชีมาใช้
การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ถือเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินนั้น จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้หุ้นและที่ดินมาโดยตรง ดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อโจทก์ทำการกู้ยืมเงินมาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายอันเป็นผลโดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อหุ้นและที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่เป็นต้นทุนของโจทก์ ดังนั้น ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อหุ้นและที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ซึ่งการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลย่อมเป็นไปตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติไว้ โจทก์จะนำมาตรฐานการบัญชีซึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติสำหรับนักบัญชีในการจัดทำบัญชีมาใช้ให้ขัดกับ ป.รัษฎากร ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: หนี้ไม่แน่นอนเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน
จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) แล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานได้ หนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามการแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้รับคืนไปในคดีนี้จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มเป็นมูลหนี้ต่างราย ศาลยืนตามเดิม แต่แก้ไขค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี บัญญัติว่า เงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินอากร หมายถึงให้ถือเป็นเงินประเภทเดียวกันเท่านั้น หาได้หมายความถึงเป็นมูลหนี้รายเดียวกันไม่ หนี้ค่าอากรขาเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง ในขณะนั้นหนี้เงินเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น หนี้เงินเพิ่มเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ชำระค่าอากรภายในกำหนดตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง หนี้ค่าอากรกับหนี้เงินเพิ่มจึงเป็นมูลหนี้หลายราย หนี้ค่าอากรเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ย่อมได้รับปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ 15,668.98 บาท ศาลภาษีอากรกลางกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ 2,000 บาท เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ 15,668.98 บาท ศาลภาษีอากรกลางกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ 2,000 บาท เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศเข้าข่ายเป็น 'การผลิต' และต้องเสียภาษีสรรพสามิต
การจะวินิจฉัยถึงความหมายของเครื่องปรับอากาศนั้น ต้องวินิจฉัยตามคำนิยามในกฎหมาย เมื่อไม่มีบัญญัติในกฎหมายจึงจะถือเอาความหมายตามพจนานุกรม
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้กำหนดสินค้าเครื่องปรับอากาศไว้ในตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า ประเภทที่ 03.01 ว่า เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตได้ตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศไว้ โดยกำหนดให้แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท 03.01 แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบด้วยโครงแฟนคอยล์ มอเตอร์โบลว์ โครงคอนเดนซิ่ง และคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างติดตั้ง และรับประกอบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทุกชนิด การที่โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศครบชุดซึ่งสามารถประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศที่ครบชุดบริบูรณ์ได้ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แสดงถึงความมุ่งหมายของโจทก์ที่จะขายเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็มีเครื่องปรับอากาศที่ประกอบครบชุดบริบูรณ์แล้วอยู่ในสถานประกอบการของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อันเป็นการผลิตสินค้าและสถานประกอบการของโจทก์ก็เป็นสถานที่ผลิตสินค้า ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อโจทก์จำหน่ายเครื่องปรับอากาศหรือนำสินค้าเครื่องปรับอากาศออกจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมมีความรับผิดต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 7 , 10 (1) (ก) และ 10 (1) วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 , 4 และ 5 ตามลำดับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศไปโดยเสียภาษีสรรพสามิตยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้องได้ การประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้คัดค้านการประเมินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ขอทุเลาการชำระภาษี การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 97 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระภาษีสรรพสามิตที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ได้
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ได้กำหนดสินค้าเครื่องปรับอากาศไว้ในตอนที่ 3 เครื่องไฟฟ้า ประเภทที่ 03.01 ว่า เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามหลักเกณฑ์ในประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตได้ตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศไว้ โดยกำหนดให้แผนคอยล์ยูนิต (ส่วนที่อยู่ในอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอนเดนซิ่งยูนิต (ส่วนที่อยู่นอกอาคาร) ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภท 03.01 แฟนคอยล์ยูนิตและคอนเดนซิ่งยูนิตแต่ละส่วนจึงเป็นเครื่องปรับอากาศโดยมิต้องประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำหน่ายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศซึ่งประกอบด้วยโครงแฟนคอยล์ มอเตอร์โบลว์ โครงคอนเดนซิ่ง และคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างติดตั้ง และรับประกอบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทุกชนิด การที่โจทก์แยกขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศครบชุดซึ่งสามารถประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศที่ครบชุดบริบูรณ์ได้ให้แก่ลูกค้ารายเดียวกันภายในเดือนเดียวกัน แสดงถึงความมุ่งหมายของโจทก์ที่จะขายเครื่องปรับอากาศครบชุดบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็มีเครื่องปรับอากาศที่ประกอบครบชุดบริบูรณ์แล้วอยู่ในสถานประกอบการของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าเครื่องปรับอากาศ อันเป็นการผลิตสินค้าและสถานประกอบการของโจทก์ก็เป็นสถานที่ผลิตสินค้า ถือเป็นโรงอุตสาหกรรม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อโจทก์จำหน่ายเครื่องปรับอากาศหรือนำสินค้าเครื่องปรับอากาศออกจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมมีความรับผิดต้องเสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4 , 7 , 10 (1) (ก) และ 10 (1) วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 , 4 และ 5 ตามลำดับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
โจทก์ขายสินค้าเครื่องปรับอากาศไปโดยเสียภาษีสรรพสามิตยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้องได้ การประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้คัดค้านการประเมินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ขอทุเลาการชำระภาษี การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 97 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์เพื่อชำระภาษีสรรพสามิตที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าขาดบัญชี: ศาลยืนตามการประเมินตามหลักฐาน มิใช่ตามนิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม
การที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารบัญชีคุมสินค้าของโจทก์ซึ่งมีทั้งรายการสินค้าที่ขาดและเกินจากบัญชี โดยนำเอามูลค่าของสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าตามที่โจทก์ตรวจนับเองมาคำนวณเป็นรายได้เท่ากับยอดขายสินค้า โดยถือว่าโจทก์ขายสินค้าดังกล่าวแล้วไม่ลงบัญชีหรือลงบัญชีต่ำไป แต่เมื่อโจทก์ชี้แจงถึงเหตุที่สินค้าขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าหลายประการ เจ้าพนักงานของจำเลยก็ยอมให้โจทก์นำรายการสินค้าที่เกินจากบัญชีมาหักออกจากรายการสินค้าที่ขาดจากบัญชีสำหรับสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แล้วแก้รายการที่โจทก์ยื่นไว้เดิมว่าโจทก์มีรายได้จากการขายสินค้าที่ขาดจำนวนในบัญชีคุมสินค้านั้น เป็นวิธีประเมินด้วยการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ปรากฏ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 มิได้ประเมินตามมาตรา 77/1 (8) (จ) จึงเป็นการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้อง