คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10815/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษสามเท่าและข้อยกเว้นเมื่อโทษจำคุกตลอดชีวิต
แม้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง , 66 วรรคสอง และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ต้องระวางโทษหนังขึ้นเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ตาม แต่โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง บัญญัติไว้ให้จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ซึ่งก็ไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ได้ ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 2 คงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง , 66 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10721/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้มอบอำนาจย่อมไม่ทำให้สัญญาจำนองที่บุคคลภายนอกสุจริตทำขึ้นเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทแต่พฤติการณ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1และที่ 2 นำไปใช้ในกิจการอื่นถือว่าโจทก์ที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ที่ 1 จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนมาฟ้องจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตขอให้เพิกถอนการจำนองหาได้ไม่
เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่สามารถฟ้องเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ ที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่ซึ่งจำเลยที่ 3 สามารถบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินพิพาทได้ไม่ว่าที่ดินพิพาทจะถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนองที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล โดยพิจารณาถึงความสุจริตของผู้รับจำนอง
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้สิทธิสถานีบริการน้ำมันกับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ศาลยืนตามประเมินของเจ้าหน้าที่
ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินค่ารายปีและภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย และคำชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรงเรือนพิพาทตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาสัญญาการให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการซึ่งเป็นโรงเรือนพิพาทที่ปรากฏในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่โจทก์ได้รับค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า เพราะเป็นสัญญาที่ตกลงให้คู่สัญญาสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินและคู่สัญญาต้องเสียค่าตอบแทนในการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ค่าใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเพียงค่าเช่าบางส่วน การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วปรับกับข้อกฎหมายตามประเด็นข้อพิพาท จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็นพิพาทตามที่โจทก์อุทธรณ์
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนและป้องกันผู้อื่นจากการทำร้ายร่างกายและการใช้ขวดแตกเป็นอาวุธ ศาลเห็นว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ผู้ตายทำร้ายจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 1 เข้าช่วยจำเลยที่ 2 โดยผลักผู้ตายล้มลงแต่ผู้ตายลุกขึ้นมาเตะจำเลยที่ 1 ล้มลง ถือว่าภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายยังคงมีอยู่ การที่จำเลยที่ 2 จับล็อกมือทั้งสองข้างของผู้ตายไว้ จึงเป็นการป้องกันตนหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายอันใกล้จะถึง จำเลยที่ 1 ใช้ขวดแตกที่จำเลยที่ 1 หยิบฉวยได้ใกล้มือแทงผู้ตายเพียง 1 ครั้ง โดยไม่มีโอกาสเลือก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่อการอนาจารเมื่อมีเหตุผลความยินยอมจากผู้ปกครอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยกับผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 14 ปีเศษรักใคร่กันอย่างชู้สาวมารดาผู้เสียหายก็ทราบและอนุญาตให้จำเลยพาผู้เสียหายออกจากบ้านไปรับประทานอาหารเที่ยวชมภาพยนตร์กันบ้างเพื่อให้จำเลยและผู้เสียหายได้มีโอกาสอยู่ด้วยกัน และทำความรู้จักคุ้นเคยกันเพื่อประโยชน์ของการอยู่กินเป็นสามีภริยากันในวันข้างหน้า และทุกครั้งจำเลยก็จะพากลับมาส่งที่บ้าน อันเป็นการยอมรับในอำนาจการปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายอยู่ การที่จำเลยได้ล่วงเกินทางเพศแก่ผู้เสียหายด้วยการกอดจูบรวมทั้งกระทำชำเราผู้เสียหายก็เป็นไปตามโอกาสและตามวิสัยคนรักใคร่ชอบพอกัน ซึ่งจำเลยต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำของตนในแต่ละครั้งอยู่แล้วหากการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ยังไม่พอถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของมารดาผู้เสียหายต่อการพาออกไปเที่ยวชมภาพยนตร์และรับประทานอาหาร ไม่ถือเป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา มารดาผู้เสียหายทราบว่าจำเลยชอบพอรักใคร่กับผู้เสียหาย การที่มารดาผู้เสียหายยินยอมและอนุญาตให้จำเลยพาผู้เสียหายออกจากบ้านไปรับประทานอาหารหรือเที่ยวชมภาพยนตร์ เห็นได้ว่ามารดาผู้เสียหายต้องการให้จำเลยและผู้เสียหายได้มีโอกาสอยู่ด้วยกัน และทำความรู้จักคุ้นเคยกัน เพื่อศึกษานิสัยใจคอซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของการอยู่กินเป็นสามีภริยากันในวันข้างหน้า และทุกครั้งจำเลยก็จะพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้าน แม้บางครั้งจะกลับล่าช้าและดึกไปบ้าง แต่ก็แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังยอมรับในอำนาจการปกครองบิดามารดาผู้เสียหาย การที่จำเลยได้ล่วงเกินทางเพศแก่ผู้เสียหายด้วยการกอดจูบ รวมทั้งกระทำชำเราผู้เสียหายในวันเกิดเหตุแต่ละครั้ง ก็เป็นไปตามโอกาสและตามวิสัยคนรักใคร่ชอบพอกัน ซึ่งจำเลยต้องรับผิดทางอาญาในการกระทำของตนในแต่ละครั้งอยู่แล้ว การกระทำของจำเลยยังไม่พอถือได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ชำระบัญชีต่อเจ้าหนี้: การละเว้นการชำระหนี้ภาษีหลังเลิกบริษัท
หากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้กระทำหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 , 1270 ประกอบกับ ป. รัษฎากร มาตรา 72 ย่อมจะต้องทราบถึงหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เว้นแต่จำเลยที่ 2 จะพิสูจน์ได้ว่าแม้ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยครบถ้วนตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็มิอาจทราบได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นเหลืออยู่ แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรต่อโจทก์ แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 หรือวางเงินเท่าจำนวนหนี้นั้นตามบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดที่มิได้มาทวงถามให้ใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1264 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 422 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในวงเงินไม่เกินที่จำเลยที่ 1 มีเหลืออยู่ในวันเลิกกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาประเมินเมื่อราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด และการปกปิดราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
ป. รัษฎากร มาตรา 78 (เดิม) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ไว้ในมาตรา 79 ว่า หมายความว่า เงินทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำกับลูกค้าบางห้อง มีราคาสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดิน แสดงว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดราคาอันแท้จริงที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้า และราคาซื้อขายห้องชุดดังกล่าวที่จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินมิใช่ราคาขายอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินรายรับของโจทก์ตามมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ และมีอำนาจประเมินภาษีการค้าเพิ่มขึ้น พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ตามมาตรา 87 (1) (2) และ 87 ทวิ
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การกระทำของจำเลยลดทอนสิทธิการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ทางภาระจำยอมกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดเนื้อที่ในที่ดินของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอม โจทก์มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะใช้ประโยชน์เป็นทางเข้าออกในทางภาระจำยอมตรงจุดใด บริเวณใด ในเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์หรือเพื่อความสะดวกของโจทก์ทุกเมื่อ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ทางภาระจำยอมหรือทำให้ทางภาระจำยอมลดน้อยลงหรือทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ทางภาระจำยอมนั้น การที่จำเลยนำเสาไม้มาปัก ย่อมทำให้ทางแคบลง การเทปูนซีเมนต์เพื่อทำให้ทางลาดชันย่อมทำให้การสัญจรผ่านไปมาไม่สะดวก การทำประตูเหล็กปิดกั้นรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออก แม้จำเลยจะอ้างว่าเพื่อตรวจสอบบุคคลที่ไม่มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมมาใช้ทางดังกล่าวก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก แต่การกระทำของจำเลยเช่นนั้นเห็นได้ชัดว่าโจทก์จะเข้าออกทางภาระจำยอมได้ไม่สะดวกเพราะโจทก์จะต้องคอยขออนุญาตจำเลยเปิดประตูไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางภาระจำยอมได้เต็มตามสิทธิ กรณีถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1390
of 33