คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าป้ายโฆษณาและป้ายบอกทางเข้าสถานีบริการน้ำมันถือเป็นป้ายเดียวกันตามกฎหมายภาษีป้ายหรือไม่
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูน แยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โดยป้ายดังกล่าวโจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตรSYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ อันต้องเสียภาษีป้ายตามขนาดของป้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาการเสียภาษีป้ายตามนิยามของ พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ป้ายและการเชื่อมโยงของป้าย
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูนแยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตร SYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือว่าเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ต้องเสียภาษีป้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นบ้านโดยอาศัยความยินยอมและพบของกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันคำพิพากษาเดิม
เจ้าพนักงานตำรวจได้ขอความยินยอมจาก น. มารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุก่อนทำการค้น แสดงว่าการค้นกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมของน. แม้การค้นจะกระทำโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการค้นได้เห็นจำเลยซึ่งอยู่ในห้องนอนโยนเมทแอมเฟตามีนออกไปนอกหน้าต่าง อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกำลังกระทำความผิด ซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1),92(2) เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จึงนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองจริง การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยรบกวนการครอบครองโดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดออกโฉนด ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจากชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น เพียงแต่การที่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครอง ข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งการครอบที่ดินพิพาทยังไม่เกิด ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองก่อน มิใช่แค่การรังวัดเพื่อออกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์แต่โจทก์ได้แย่งการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่เกิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ทั้งในการพิพากษาคดีศาลจะต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ซึ่งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่กลับขอให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองการทำประโยชน์เป็นชื่อของโจทก์ จึงไม่มีกรณีจะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเรื่องสิทธิครอบครองเมื่อยังไม่มีการแย่งการครอบครองเป็นเหตุไม่มีสิทธิฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนั้นเพียงแต่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งสิทธิครอบครองจึงยังไม่เกิด ทั้งคำขอท้ายฟ้อง มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการแจ้งผลการส่งหมายนัด: ความรับผิดของจำเลยในการดำเนินการตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ว่า "รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 สำเนาให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำส่งใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และมีข้อความประทับไว้ด้วยว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 9 เมษายน 2544 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และทนายจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินของภริยา และเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามมาตรา 57 ตรี
น. เป็นผู้ซื้อที่ดิน และต่อมา น. ตกลงยินยอมให้ ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรฯ น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) และเป็นเงินได้ในปีนั้น ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ก็ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของภริยาขณะสมรส ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีตามประมวลรัษฎากร
น. เป็นผู้ซื้อที่ดินมาคนเดียว ต่อมา น. ตกลงให้ ช. ม. และ ว. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับค่าตอบแทน ต้องถือว่าเป็นการขายตามความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร น. จึงเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 40(8) ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นสามี น. และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวของ น. ต้องถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าเงินนั้นจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ละเมิด: การส่งมอบสินค้าชำรุดไม่เข้าข่ายความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ตกลงซื้อโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้จากจำเลย การที่จำเลยส่งมอบโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ชำรุดบกพร่อง เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่นเป็นเหตุให้เขาเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
of 33