พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิต vs. สัญญาบัญชีเดินสะพัด และอายุความของหนี้
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ต้องใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติหากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
สัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสดตลอดจนสามารถใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองออกไปแม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีกระแสรายวันโดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้หรือนำเงินเข้าบัญชีลดยอดหนี้ภายในสิ้นเดือนนั้นแต่จำเลยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้นทั้งมิได้นำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดหนี้ โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
สัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสดตลอดจนสามารถใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองออกไปแม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีกระแสรายวันโดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้หรือนำเงินเข้าบัญชีลดยอดหนี้ภายในสิ้นเดือนนั้นแต่จำเลยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้นทั้งมิได้นำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดหนี้ โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กรณีโทษจำคุกเกินสองปี
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำคุกและการรอการลงโทษ: กรณีโทษจำคุกเกินเกณฑ์
ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงหลังจากลดโทษแล้ว จำคุก 2 ปี 3 เดือนกรณีจึงไม่อาจรอการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
สาระสำคัญของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4(1) อยู่ที่วันออกเช็ค ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำความผิด เพียงแต่ความผิดยังไม่เกิดจนกว่าธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นความผิดจึงจะเกิดสำเร็จ เมื่อจำเลยออกเช็ควันที่ 31 มีนาคม 2539 โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบเพียงว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2539 ให้เหตุผลว่า โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอใช้เงินตามเช็ค ซึ่งหากโจทก์ร่วมนำไปเรียกเก็บเงินในวันดังกล่าว ธนาคารย่อมจะต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คอยู่นั่นเอง พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาซื้อขาย และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องออกค่าภาษีเงินได้แทนจำเลยตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้ เพราะยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญา พิพากษายกฟ้อง ซึ่งหมายความว่า โจทก์และจำเลยยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอยู่ หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายย่อมใช้สิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ โดยสภาพของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่จำต้องมีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด จึงไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกัน ซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า "จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกัน ซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า "จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายห้องชุด: ไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกันและอายุความไม่ขาด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีหน้าที่ต้องออกค่าภาษีเงินได้แทนจำเลยตามสัญญา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา แต่จำเลยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วไม่ได้ เพราะยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญา พิพากษายกฟ้องซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอยู่ หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายย่อมใช้สิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น โดยสภาพของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด จึงไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่พิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกันซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัยฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนประเด็นที่ถูกต้องคือ "โจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้แทนจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่" ที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนกำหนดประเด็นว่า "จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดและโอนที่พิพาทโดยการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่" เป็นการนำข้อโต้แย้งหลายเรื่องที่ไม่สัมพันธ์กันมารวมเป็นประเด็นเดียวกันซึ่งในการวินิจฉัยนั้นจะต้องยึดตามประเด็นที่แท้จริงดังที่ศาลฎีกาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า"จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจองและซื้อห้องชุดตามฟ้องหรือไม่" ประเด็นทั้งสองคดีแตกต่างกันและประเด็นในคดีหลังยังไม่มีการวินิจฉัยฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงลดหนี้กับการถอนฟ้อง, การยักยอกเงินค่าเบี้ยประกัน, และการกำหนดโทษ
จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและควบคุมตัวดำเนินคดีสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงเป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ร่วมยังติดใจหนี้อีกเพียง 381,699 บาท และจะถอนคำร้องทุกข์ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมแล้วไม่มีข้อความว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีต่อจำเลยในทันที การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ร่วมจนครบจึงถือเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ร่วมจึงไม่ถูกผูกพันที่ต้องถอนคำร้องทุกข์และถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในหนี้บางส่วน โดยยังติดใจในหนี้อีกเพียง 381,699 บาท การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยนำเงินมาชำระแก่โจทก์ร่วมเพียง 30,000 บาทจึงเหลือเงินจำนวน 351,699 บาท ที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า จำเลยทำผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีเหตุอันจำเป็นบังคับ จำเลยใช้เงินคืนโจทก์ร่วมบางส่วนแล้ว การรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จำเลยจะใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่เคยรู้สึกสำนึกผิด ทั้งจำเลยได้ยักยอกเงินค่าเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระให้แก่โจทก์ร่วมมีจำนวน 84 ราย เป็นเงินจำนวน 763,399 บาท โทษจำคุก6 เดือน จึงเหมาะสมและไม่มีเหตุรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การสละสิทธิและการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเองแล้ว ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวให้ ผู้มีสิทธิก็ย่อมสละสิทธินั้นได้ ดังนั้น การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองต่อไป การที่จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโดยอ้างว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นการนำข้อความเท็จไปแจ้งทำให้เจ้าพนักงานของรัฐหลงเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิจริง ดังนั้น การที่จำเลยได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ส.3) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จึงเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริงย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การได้มา การสละสิทธิ และการคุ้มครองการครอบครอง
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินดังกล่าว ราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวผู้มีสิทธิย่อมสละสิทธินั้นได้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองแล้ว
พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การโอนสิทธิและการแจ้งเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินดังกล่าว ราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวผู้มีสิทธิย่อมสละสิทธินั้นได้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองแล้ว
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลยเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลยเมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย