พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การบอกเลิกสัญญาและอายุความของหนี้
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็ค โดยปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคารเสมือนหนึ่งได้ขอร้องเปิดเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คหลายฉบับที่นำมาเรียกเก็บพร้อม ๆ กัน ธนาคารทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะจ่ายเงินตามเช็คฉบับใดก็ได้ และธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ย เงินเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน ข้อตกลงนี้จะใช้ในทุกกรณี เห็นได้ว่ามีการตกลงกันซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลย
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้เบิกเงินเกินบัญชี เริ่มนับจากวันหักทอนบัญชีและเรียกร้องหนี้คงเหลือ
แม้จำเลยสั่งจ่ายเช็คครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2523 แต่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง 25 มีนาคม 2539 ไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชี คดีไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอจดทะเบียนโอนสิทธิในทรัพย์มรดกที่เคยฟ้องแบ่งสินสมรสแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. เป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่ง ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย ซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน จึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันเพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ทั้งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้วแต่โจทก์ไม่ขอ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ โดยมีคำขอต่างกัน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท.ต่อมา ท.ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท.แก่กองมรดก ท.ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท.ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท.ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท.และเป็นทรัพย์มรดกของ ท.ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกันให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน เพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาทกับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตาม แต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องขอแบ่งสินสมรส/ทรัพย์มรดกซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทคดีนี้กับทรัพย์สินอื่นรวม 11 รายการ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. ต่อมา ท. ถึงแก่กรรมขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ท. แก่กองมรดก ท. ถ้าการแบ่งไม่เป็นที่ตกลงกัน ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วนเพื่อนำไปแบ่งระหว่างทายาท กับให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างเหตุเดียวกันอีก แม้โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ใน น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยก็ตามแต่ในการที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ ศาลจำต้องวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. และเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ครึ่งหนึ่งหรือไม่เสียก่อน กรณีจึงเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่โจทก์มีคำขอบังคับแตกต่างไปจากคำขอในคดีก่อนเท่านั้น ซึ่งคำขอบังคับดังกล่าวโจทก์สามารถขอได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตไม่ถือเป็นเหตุบอกล้างสัญญา หากไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคเฉพาะเจาะจง
แม้ตรวจพบว่ามีการอักเสบของตับ แต่ตามรายงานการตรวจของแพทย์ได้แนะนำให้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ผู้ตายมิได้แจ้งผลการตรวจโรคดังกล่าวในแบบสอบถามของจำเลย จึงมิใช่กรณีผู้ตายรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจจำเลยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ผู้ตายประสบอุบัติเหตุหกล้มศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจำเลยให้การเพียงว่า ผู้ตายปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนทราบมาก่อนว่าเป็นโรคตับ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือโต้แย้งเรื่องผู้ตายประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยอ้างแทนมารดาและการสิทธิในกองมรดก: การนำสืบพยานและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทบางส่วนโดยอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ซ. เป็นการรับโอนแทนมารดาโจทก์บางส่วน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนการที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่แสดงในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นดีกว่าคนอื่นเท่านั้น มิใช่การทำนิติกรรมแต่อย่างใด โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลตามข้ออ้างของตนได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญาและการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระ แม้มีการปฏิเสธเช็ค
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 มีความว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าว" ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อไว้ล่วงหน้า 8 ฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2538 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทุกฉบับโจทก์มิได้มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลย แสดงว่าโจทก์ยังไม่มีเจตนาเลิกสัญญากับจำเลยและโดยสภาพข้อสัญญาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ผู้ให้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ยึดรถคืนในวันที่16 กันยายน 2538 อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่ามีการเลิกสัญญา เช็คจำนวน 7 ฉบับที่สั่งจ่ายถึงวันที่ยึดรถ จึงเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจำเลยทั้งสองจึงต้องชำระหนี้ตามเช็ค7 ฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาและการรับผิดในหนี้เช่าซื้อเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่าย
หนังสือสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉยไม่นำเงินที่ค้างชำระทั้งหมดมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อนี้เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ดังนั้น แม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อไว้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างชำระมาชำระ ทั้งยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญาเพราะสัญญาข้อ 7 ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยดังจำเลยอ้างไม่ เพราะหากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อประสงค์จะเลิกสัญญา ย่อมทำได้โดยง่ายด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อจำเลยยังคงครอบครองรถขุดที่เช่าซื้ออยู่ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนที่โจทก์จะยึดรถกลับคืนมา อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน
เมื่อเช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายตามมูลหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
เมื่อเช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายตามมูลหนี้ค่าเช่าซื้อ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์