คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธำรงศักดิ์ ขมะวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีอายุความฟ้องคดีอย่างไร
ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมีเพียงที่ดินสองแปลงที่พิพาทกันในคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงแล้วนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจัดการมรดกไม่ถูกต้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 จัดการมรดกเสร็จสิ้น คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิจะรับมรดก เมื่อผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้ด้วยสิทธิความเป็นทายาทและย่อมจะครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตน กรณีไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดก และไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจัดการมรดกและการรับมรดกของทายาท ศาลฎีกายืนตามศาลล่างว่าฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งมรดกให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินสองแปลง จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ไปแล้วถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเกินกว่า 5 ปีคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตร ป. เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกย่อมมีความชอบธรรมที่จะรับไว้และครอบครองทรัพย์มรดกได้ด้วยอำนาจของตนไม่เข้าข่ายการปิดบังยักย้ายทรัพย์มรดกและไม่ถือว่าเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อรับเอาทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีมรดกมีอายุความ1 ปี ตามมาตรา 1754 โจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายเครื่องปรับอากาศ พิจารณาความสัมพันธ์ทางธุรกิจและประเภทสินค้า
โจทก์ทั้งสองเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันโดยประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เป็นบริษัทมหาชน จำกัด และบริษัทจำกัดทำกิจการร่วมกันประเภทการพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อของจำเลยที่ 1 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 3 ธุรกิจของฝ่ายโจทก์และจำเลยมิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กัน ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคารแต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์จึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้า: การค้าที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจการของลูกหนี้
การประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองเป็นประเภทผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ประกอบการค้าประเภทพัฒนาที่ดิน ปลูกสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ธุรกิจสองประเภทนี้มิได้มีความเกี่ยวข้องหรือต้องสัมพันธ์กันแต่อย่างใด ทั้งเครื่องปรับอากาศก็ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีประจำอาคาร แต่เป็นเพียงเครื่องใช้อย่างหนึ่งที่ติดตั้งขึ้นเพื่อความสบายในความเป็นอยู่ซึ่งจะมีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การค้าหรืออุตสาหกรรมของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้ทำขึ้นเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3 อันจะตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองในหนี้สินดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค: โจทก์สละสิทธิเรียกร้องเมื่อทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยร่วมเพื่อชำระค่าโทรทัศน์สี แต่จำเลยร่วมมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้ทวงถามเช็คพิพาทคืน แต่จำเลยร่วมไม่คืนให้เพราะนำไปขายลดแก่โจทก์และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยร่วมและผู้สั่งจ่ายเช็ครายอื่นรวม 12 คน ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คจำนวน 20 ฉบับซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยร่วมยินยอมชำระเงินให้โจทก์ถือว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้วโดยได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาให้ที่พักกับคนต่างด้าวเพื่อทำงาน ไม่ถือเป็นความช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม
การกระทำที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำต้องให้คนต่างด้าวเข้าพักอาศัยซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม
พ. กับ อ. เป็นคนต่างด้าวสัญชาติพม่า เป็นลูกจ้างส่งน้ำแข็งที่ร้านของจำเลย แม้จำเลยให้บุคคลทั้งสองพักอาศัยที่บ้านของจำเลยแต่จำเลยมีเจตนาให้บุคคลทั้งสองทำงานให้จำเลยเท่านั้น หาได้มีเจตนาเพื่อให้บุคคลทั้งสองพ้นจากการจับกุมไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ พ. กับ อ. พ้นจากการจับกุมพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการให้ที่พักอาศัยแก่คนต่างด้าว ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง หากไม่มีเจตนาให้พ้นจากการจับกุม
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำจะต้องให้คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม
พ.กับอ. เป็นคนต่างด้าวสัญชาติพม่าเป็นลูกจ้างส่งน้ำแข็งที่ร้านของจำเลย แม้จำเลยให้บุคคลทั้งสองพักอาศัยที่บ้านของจำเลยแต่จำเลยมีเจตนาให้บุคคลทั้งสองทำงานให้จำเลยเท่านั้น หาได้มีเจตนาเพื่อให้บุคคลทั้งสองพ้นจากการจับกุมไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ พ.กับอ. พ้นจากการจับกุมพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5592/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาช่วยเหลือคนต่างด้าวหลบเลี่ยงการจับกุมเป็นสาระสำคัญของความผิด พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ 2522มาตรา 64 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำจะต้องให้คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม
พ.กับ อ.เป็นคนต่างด้าวสัญชาติพม่าเป็นลูกจ้างส่งน้ำแข็งที่ร้านของจำเลย แม้จำเลยให้บุคคลทั้งสองพักอาศัยที่บ้านของจำเลยแต่จำเลยมีเจตนาให้บุคคลทั้งสองทำงานให้จำเลยเท่านั้น หาได้มีเจตนาเพื่อให้บุคคลทั้งสองพ้นจากการจับกุมไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ พ.กับอ.พ้นจากการจับกุม พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจเจ้าหน้าที่เพื่อยึดทรัพย์สิน กรณีพิพาทสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ ร้านอาหารพิพาท ซึ่งมี จ. ลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่ง จ. ให้ออกจากร้าน มิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง จ. กลัวจึงยอมออกจากร้านจำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้ บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน นอกจากนั้นโจทก์ ยังนำสืบว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 คดีจึงยังมีปัญหาข้อเท็จจริง ที่ต้องให้ปรากฏชัดแจ้งก่อนว่า โจทก์ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364, 365 ประกอบด้วยมาตรา 83 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณาได้ การที่ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาจึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองร้านเช่าพิพาท: สิทธิของผูเช่าเมื่อถูกจำเลยกีดกันการเข้าใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง ลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362,364 และ 365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
of 13