พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจเจ้าหน้าที่เพื่อยึดทรัพย์สิน กรณีพิพาทสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ ร้านอาหารพิพาท ซึ่งมี จ. ลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่ง จ. ให้ออกจากร้าน มิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง จ. กลัวจึงยอมออกจากร้านจำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้ หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้ บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน นอกจากนั้นโจทก์ ยังนำสืบว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 คดีจึงยังมีปัญหาข้อเท็จจริง ที่ต้องให้ปรากฏชัดแจ้งก่อนว่า โจทก์ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362, 364, 365 ประกอบด้วยมาตรา 83 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้ พิจารณาได้ การที่ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาจึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ. ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นนอกคำอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาความเสียหายจากการยึดทรัพย์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นฟ้องเคลือบคลุมและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง และไม่พิจารณาการละเมิด สรุปฎีกายกคำพิพากษาให้ส่งสำนวนกลับพิจารณาใหม่
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจโทษในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุก 10 ปี และฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี รวมจำคุก 20 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษา แก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 8 ปี ลดโทษกระทงละกึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 8 ปี จึงเป็นกรณีที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นฎีกาโต้เถียง ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอนาคต
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วย เพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อและอำนาจฟ้องของโจทก์เมื่อยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อที่สูงกว่าความเป็นจริง จำเลยต้องยกข้อเท็จจริงราคาปัจจุบันที่ชัดเจนต่อศาลจึงจะรับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 36,000 บาทให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: หน้าที่ก่อสร้าง, การผิดสัญญา, และดอกเบี้ยกรณีไม่สามารถก่อสร้างได้
สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระบุว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินค่ามัดจำห้องชุดโดยวิธีผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ส่วนที่เหลือผู้ซื้อจะชำระให้แก่ผู้ขายในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และผู้ขายจะทำการก่อสร้างให้เสร็จภายในเวลาประมาณ 18 เดือน นับตั้งแต่ได้รับอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างอาคารจากทางราชการ? แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขาย ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ได้ชำระมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ครบตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ก่อสร้างห้องชุดพิพาทให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จตามรายการที่ระบุในสัญญาดังกล่าว ซึ่งนับตั้งแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ระบุไว้ในสัญญาว่าจะก่อสร้างเสร็จ จนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือแจ้ง บอกเลิกสัญญาเป็นรายเวลานานถึง 3 ปี จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดดังกล่าว ระบุว่า "หากบริษัทฯ ไม่สามารถทำการก่อสร้างหรือไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดอันเนื่องจากขัดต่อข้อบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ หรือขัดข้องด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือบริษัทฯ เลิกทำการก่อสร้างอาคารชุด บริษัทฯ มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้และคืนเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระจาก "ผู้จะซื้อ" ให้แก่ "ผู้จะซื้อ" พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตรา 14% ต่อปี?" ย่อมหมายถึง สัญญาเลิกกันโดยมิใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินที่รับชำระไว้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิใช่หมายถึงเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายบอกเลิกด้วยเหตุที่ระบุดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับชำระแต่ละงวดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 2
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดดังกล่าว ระบุว่า "หากบริษัทฯ ไม่สามารถทำการก่อสร้างหรือไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดอันเนื่องจากขัดต่อข้อบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ หรือขัดข้องด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม หรือบริษัทฯ เลิกทำการก่อสร้างอาคารชุด บริษัทฯ มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้และคืนเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระจาก "ผู้จะซื้อ" ให้แก่ "ผู้จะซื้อ" พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตรา 14% ต่อปี?" ย่อมหมายถึง สัญญาเลิกกันโดยมิใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินที่รับชำระไว้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิใช่หมายถึงเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายบอกเลิกด้วยเหตุที่ระบุดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับชำระแต่ละงวดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัดเลิกกันเมื่อไม่มีการสะพัดนานเกินควร โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลาแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการ เดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลานานเกินสมควร การใช้สิทธิของโจทก์เช่นนี้จึงมิได้กระทำโดยสุจริตและเมื่อมีข้อสงสัยเช่นนี้ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2531