พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมหนี้สินเชื่อได้ - ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์รวม
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินประกอบธุรกิจด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า ซึ่งทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะโดยการให้กู้ยืมเงิน ให้เบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นที่สามารถทำได้ในการให้เงินหรือหลักประกันแก่ลูกค้าโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ ย่อมสามารถทำธุรกิจการเงินกับโจทก์ได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ขอเบิกเงินเกินบัญชีและขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์ แม้จะเรียกชื่อวิธีการก่อให้เกิดหนี้ต่างกันแต่ทุกประการล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์นั่นเอง จำเลยจึงสามารถนำที่ดินและทรัพย์สินหลายรายการมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ก่อขึ้นทั้งหมดกับโจทก์ โดยมิได้แบ่งแยกว่าทรัพย์รายใดประกันหนี้ประเภทไหนรายการใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาเป็นคดีเดียวกันได้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.ข้อ (1) ก. ชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมโดยแยกเป็นมูลหนี้แต่ละรายการ จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินจากสองแสนบาทคืนโจทก์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องมีปัญหาข้อกฎหมายที่ชัดเจน หากมีข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยก่อน การอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 13,172 บาท ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ และขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 3ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีอย่างเป็นหนี้ร่วมด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยมิได้แยกส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยออกต่างหาก และศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ชี้สองสถานไว้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,976,386.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ เมื่อมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ชดใช้นั้นรวมเบี้ยประกันแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องพิจารณาข้อเท็จจริงก่อน หากยังไม่ชัดเจนการอนุญาตให้ขึ้นศาลฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 13,172 บาทขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ และขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสามีอย่างเป็นหนี้ร่วมด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องโดยมิได้แยกส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยออกต่างหาก และศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ชี้สองสถานไว้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,976,386.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ เมื่อมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ชดใช้นั้นรวมเบี้ยประกันแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 223 ทวิ และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงก่อน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 13,172 บาทขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์และขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีอย่างเป็นหนี้ร่วมด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 2,567,362.10 บาทโดยมิได้แยกส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยออกต่างหากศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ชี้สองสถานไว้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,976,386.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยก่อนว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ชดใช้นั้นรวมเบี้ยประกันแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยก่อน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในความผิดชิงทรัพย์ - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ - การรอการลงโทษ
จำเลยมิได้ถืออาวุธปืนจ้องมาทางผู้เสียหาย ก่อนหยิบเสื้อของ ว. ไป จำเลยพูดว่าเอาเสื้อไปนะ ขณะหยิบเสื้อของ ว. ซึ่งแขวนอยู่ที่ไม้แขวนเสื้อและเครื่องรับโทรศัพท์ไร้สาย จำเลยถืออาวุธปืนอยู่ในมือข้างเดียวกับที่ถือไม้แขวนเสื้อแสดงว่าจำเลยมิได้หยิบเสื้อของ ว. ไปโดยพลการ จำเลยถือไม้แขวนเสื้อในมือที่ถืออาวุธปืนมีลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวได้ ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายไม่กล้าขัดขวางจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยถืออาวุธปืน จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายและว. ไปจึงมิใช่เกิดจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยเอาทรัพย์ไปก็เพื่อให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จำเลยมีฐานะดี การที่เอาทรัพย์ของผู้เสียหายและ ว. ไป เพื่อต้องการให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จึงไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยเอาทรัพย์ไปก็เพื่อให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จำเลยมีฐานะดี การที่เอาทรัพย์ของผู้เสียหายและ ว. ไป เพื่อต้องการให้ ว. เอาฝาถังน้ำมันรถยนต์ของจำเลยไปแลกทรัพย์คืนมา จึงไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ โดยโจทก์โต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี แม้จะเป็นการแก้ไขมาก โจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษและริบของกลาง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลในการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การลากจูงรถที่ไม่ได้ประกันภัย ทำให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยและจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัย ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 นำรถที่เอาประกันภัยไปลากจูงรถพ่วงที่ไม่ได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของหนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพบริษัท: อำนาจตัวแทนยังคงมีผลผูกพันบริษัทที่แปรสภาพหรือไม่
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตามพระราชบัญญัตินี้ บริษัท เอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่งพระราชบัญญัติมหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่าบริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการแปรสภาพบริษัท: สิทธิและอำนาจตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลผูกพันกับบริษัทที่แปรสภาพ
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตาม พ.ร.บ.นี้ บริษัทเอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่ง พ.ร.บ.มหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่า บริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลจำกัดขอบเขตค่าเสียหายตามที่ฟ้องเท่านั้น
ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ต้องกู้ยืมเงินผู้อื่นมาชำระแก่จำเลยทั้งสามต้องเสียดอกเบี้ยกับขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปขายเอากำไร มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาดังโจทก์อ้างในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายจากการไม่ได้รับดอกเบี้ยซึ่งอาจนำเงินที่ชำระแก่จำเลยทั้งสามไปฝากประจำธนาคารพาณิชย์ด้วย ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้