พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจำนองและการบังคับคดี การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้เกินกำหนดไม่ตัดสิทธิ
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกันจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ
คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้อง และเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน
คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้อง และเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีเหนือทรัพย์สิน แม้ไม่ยื่นคำร้องก่อนขายทอดตลาด และความชอบด้วยกฎหมายของการงดการไต่สวน
คำร้องของผู้ร้องฉบับก่อนเป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ส่วนคำร้องของผู้ร้องฉบับหลังเป็นการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 ซึ่งบัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลภายนอกไว้ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามบทกฎหมายคนละเหตุคนละมาตราเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือร้องซ้ำ คำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287ไม่ใช่คำฟ้องตามมาตรา 1(3) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล คงเสียแต่ค่าคำร้องเหมือนคำร้องธรรมดา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรืออนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดมิได้ขัดแย้งกัน ไม่ได้ทำให้คำร้องนั้นเสียไป ตามคำร้องหมายความว่าหากเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้ จึงขอให้ได้รับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองตามป.วิ.พ. มาตรา 287 โดยเท้าความถึงคำร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 289 ฉบับก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ จำเลย ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีโอกาสคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว ซึ่งตามคำคัดค้านของโจทก์นั้นก็มิได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องตามสัญญาจำนองว่าเป็นเงินเท่าใด และผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองนั้นหรือไม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดการไต่สวนจึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่องเพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง เป็นแต่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 287 ฉะนั้นเมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายโดยปลอดจำนองตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ร้องและเมื่อขายทอดตลาดได้แล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินมรดกที่ผู้จัดการมรดกทำโดยมิชอบ โดยทายาทมีสิทธิขัดขวางได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นทายาทร่วมด้วย การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกมาเป็นของตนตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวกับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองจึงเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้มาเมื่อ ล.เจ้ามรดกตาย ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ล. และเป็นผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนจำเลยที่ 2ต้องเสียเปรียบ จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล. ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนการที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 11 ส่วนจึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท 10 ใน 11 ส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, เช่าซื้อ, ผู้ชำระบัญชี, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกัน ส. และ ว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือน พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนหนี้ของ ส. และ ว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับจำนองไม่เคลือบคลุม, อำนาจผู้ชำระบัญชี, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนหนี้ของส.และว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้องฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ๆ นั้นในอรรถคดีด้วย ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ย แก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันหลังจำนอง ไม่เป็นสัญญาอุปกรณ์ สิทธิของผู้ค้ำประกันยังคงมีอยู่จนกว่าหนี้จะหมด
สัญญาค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม2525 ระบุว่าเป็นการค้ำประกันสัญญากู้เงินเบิกเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2525 และเป็นสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ทำขึ้นหลังจากที่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ซึ่งจดไว้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2524 กรณีถือไม่ได้ว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจำนอง เมื่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังมีอยู่จำเลยที่ 4 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามที่ได้เข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองสุจริต ผู้ครอบครองปรปักษ์ยังไม่จดทะเบียนสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับจำนอง
ผู้ร้องได้ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์นำยึดมาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนทำไม่ได้
ผู้ร้องได้ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์นำยึดมาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองย่อมมีผลผูกพัน แม้มีการซื้อขายที่ดินภายหลัง และผู้ซื้อได้มาโดยสุจริต
ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นคนละแปลงกับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 408 ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 408 ที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองและนำยึดไว้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 408 จึงเป็นการมิชอบ ที่ดินพิพาทมีโฉนดของผู้ร้องเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส.3เลขที่ 408 ซึ่งโจทก์เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบในขณะที่มี น.ส.3เป็นหลักฐานโดยมีชื่อผู้จำนองเป็นเจ้าของ การจำนองยังไม่ระงับสิ้นไปโจทก์ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองเอากับที่ดินทั้งสองแปลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 และ 702 วรรคสอง การที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในภายหลังแม้จะได้มาโดยสุจริตก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่เดิมเสียไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: แม้มีหนี้สิน แต่มีทรัพย์สินและรายได้เพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลไม่ควรสั่งให้ล้มละลาย
เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวนหลายแปลง ซึ่งแม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองทุกแปลง และจำเลยนำสืบว่าราคาที่แท้จริงมากกว่ามูลค่าจำนองโดยการประมาณของจำเลยเอง โดยไม่มีหลักฐานจากสำนักงานที่ดินมายืนยันสนับสนุน แต่จำเลยก็มีที่ดินอยู่มากแปลงซึ่งเมื่อรวมมูลค่ากันแล้ว ส่วนที่เกินจากการถูกบังคับจำนองก็น่าจะมีมูลค่าเหลืออยู่เป็นเงินจำนวนสูง นอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก และยังประกอบอาชีพมีรายได้ รวมทั้งจำเลยนำสืบได้อีกว่าช. ลูกหนี้โจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ยังประกอบธุรกิจหากโจทก์บังคับคดีแก่ ช. ก็จะได้ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง สรุปแล้วจำเลยนำสืบมาพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ กรณีมีเหตุไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย