คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 702

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ หากสิทธิในสัญญามีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาซื้อขายได้ หากสิทธิที่จำเลยจะได้รับตามสัญญา มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-จำนอง-ค้ำประกัน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการคำนวณดอกเบี้ยและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ประกอบไว้ท้ายฟ้องส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 2 โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้วมีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนด คำขอของจำเลยที่ 2ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วสัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่ 5สิงหาคม 2524 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วแลกเงิน: การพิสูจน์หนี้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ประกอบไว้ท้ายฟ้อง ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 2 โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้ว มีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนดคำขอของจำเลยที่ 2ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่5 สิงหาคม 2524 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4987/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจำนอง: จำนองที่ดินผิดวัตถุประสงค์ ทำให้โมฆะ
โจทก์มอบให้ ช. พนักงานของสหกรณ์การเกษตรจำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ของโจทก์ที่จะกู้จากจำเลยแต่ ช. กลับนำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนจำนองประกันเงินกู้ของ ล. จึงเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ นิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะโจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองมีผลบังคับ แม้จะยังไม่ได้รับเงินกู้ เหตุผลคือเป็นการประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วและที่จะเกิดขึ้น
สัญญาจำนองระบุว่าเป็นการประกันหนี้ประเภทต่าง ๆ บรรดาที่จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองดังกล่าวหรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ซึ่งขณะที่ทำสัญญาจำนองนั้นจำเลยก็ยังมีหนี้เกี่ยวค้างเจ้าหนี้อยู่ สัญญาจำนองดังกล่าวย่อมมีผลบังคับ แม้จำเลยจะมิได้รับเงินจากเจ้าหนี้ตามสัญญาจำนอง ก็หามีผลให้สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยจำนอง สิทธิยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายนี้แก่โจทก์ และได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา เสร็จแล้วจะส่งคืนให้ผู้ร้องยึดถือไว้ต่อไป เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งได้ยึดถือโฉนดที่ดินไว้ในฐานะผู้รับจำนองจะปฏิเสธไม่ยอมส่งมอบโดยอ้างสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินนั้นไว้หาได้ไม่ทั้งนี้เพราะศาลเพียงแต่มีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดินเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาใช่จะเอาโฉนดที่ดินนั้นไปจากการยึดถือครอบครองของผู้ร้องเสียเลยทีเดียวไม่ แม้ที่ดินดังกล่าวจะโอนกรรมสิทธิ์ไปยังโจทก์ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองก็คงยังมีอยู่ตามเดิม ส่วนวิธีการที่จะบังคับจำนองเอากับที่ดินแปลงนี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากการกู้ยืม แม้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และสัญญาจำนองถูกเพิกถอน
หนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจำนวน 300,000 บาท แม้ต่อมาสัญญาจำนองจะถูกเพิกถอนก็ไม่กระทบกระเทือนถึงข้อความที่ระบุไว้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินถือได้ว่าการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 92

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือแม้จำนองถูกเพิกถอน เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
หนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจำนวน 300,000 บาท แม้ต่อมาสัญญาจำนองจะถูกเพิกถอนก็ไม่กระทบกระเทือนถึงข้อความที่ระบุไว้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ถือได้ว่าการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 92

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จำนองถูกเพิกถอน เจ้าหนี้ยังขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
หนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจำนวน 300,000 บาท แม้ต่อมาสัญญาจำนองจะถูกเพิกถอนก็ไม่กระทบกระเทือนถึงข้อความที่ระบุไว้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน ถือได้ว่าการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 92.
of 39