คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 702

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายใน 5 ปี เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ขายตามสภาพและมีภาระจำนอง
โจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ต่อมาโจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เองเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 แล้วขายไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 จึงเป็นกรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี จึงต้องถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลังตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6) วรรคท้าย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว และการโอนที่ดินดังกล่าวทำใน 5 ปี นับแต่ได้มา โดยโจทก์ซื้อ 10 ล้านบาท ขาย 30 ล้านบาท แสดงว่าที่ดินโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญแล้ว แม้โจทก์จะขายที่ดินส่วนอื่นตามสภาพที่ซื้อมาก็ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534
รายรับที่คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) มิได้พิจารณาจากยอดเงินรายรับจริงอย่างเดียว ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับก็ถือเป็นรายรับด้วย การที่บริษัท ร. รับภาระจำนองไป 37,280,000 บาท ซึ่งเป็นภาระจำนองประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์ในฐานะลูกหนี้อาจก่อหนี้เต็มวงเงินตามสัญญาจำนองได้ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากจำนวนเงินที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้ปลดตัวเองจากภาระจำนอง การปลดจากภาระจำนองจึงถือเป็นรายรับที่โจทก์พึงได้รับจากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย ที่จำเลยประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะโดยนำราคาขายมาคำนวณกับวงเงินจำนองแล้วประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับ 67,280,000 บาท ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7131/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณรายรับรวมภาระจำนอง และระยะเวลาการได้มา
โจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ต่อมาโจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 แล้วขายไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 จึงเป็นกรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี จึงต้องถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6) วรรคท้าย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว และการโอนที่ดินดังกล่าวทำใน 5 ปี นับแต่ได้มา โดยโจทก์ซื้อ 10 ล้านบาท ขาย 30 ล้านบาท แสดงว่าที่ดินโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญแล้ว แม้โจทก์จะขายที่ดินส่วนอื่นตามสภาพที่ซื้อมา ก็ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)
รายรับที่คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) มิได้พิจารณาจากยอดเงินรายรับจริงอย่างเดียว ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่พึงได้รับก็ถือเป็นรายรับด้วย การที่บริษัท ร. รับภาระจำนองไป 37,280,000 บาท ซึ่งเป็นภาระจำนองประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์ในฐานะลูกหนี้อาจก่อหนี้เต็มวงเงินตามสัญญาจำนองได้ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากจำนวนเงินที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้ปลดตัวเองจากภาระจำนอง ภาระจำนองจึงถือเป็นรายรับที่โจทก์พึงได้รับจากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย ที่จำเลยประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินรวมเฉพาะส่วนสิทธิ การบังคับชำระหนี้จำกัดเฉพาะส่วนของจำเลย
ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า จำเลยจำนองทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้นเป็นประกันการชำระหนี้ แต่ตัวทรัพย์ทั้งหมดนั้นจำเลยจะก่อภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของรวมคนอื่นยินยอมให้จำเลยทำนิติกรรมจำนอง การจำนองดังกล่าวจึงไม่ผูกพันตัวทรัพย์ทั้งหมด การที่จำเลยเจ้าของรวมคนหนึ่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของตนต่อโจทก์จึงเป็นการจำนองเฉพาะส่วนแห่งสิทธิของตนเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่กระทบถึงส่วนแห่งสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3009/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการจดจำนองโดยสุจริตของผู้รับจำนอง
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ อ. และ ว. ไปยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่บุคคลทั้งสองกลับสมคบกับโจทก์ไปกรอกข้อความจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์ จำเลยจะต้องรับผลในความเสียงภัยที่ตนก่อขึ้นดังกล่าว และถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน การที่ อ. และ ว. ปลอมหนังสือมอบอำนาจเป็นผลสืบเนื่องจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยโดยตรง เมื่อโจทก์มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ อ. และ ว. ผู้รับมอบอำนาจ ทั้งไม่อาจทราบว่า อ. และ ว. สมคบกันปลอมหนังสือมอบอำนาจ จึงยอมรับจดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หากให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างมาก การที่โจทก์จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองแยกต่างหากจากค้ำประกัน เจ้าหนี้ไม่อาจยึดทรัพย์สินจำนองเพื่อหนี้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิซึ่งจำเลยเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ผู้ค้ำประกันเมื่อ ป. ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของโจทก์ผู้ค้ำประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แตกต่างไปจากสิทธิตามสัญญาจำนองที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่ได้ทำขึ้นในภายหลังและไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องให้โจทก์รับผิดรวมไปถึงความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย ประกอบกับโจทก์กู้เงินจำเลยเพื่อนำไปซื้อห้องชุดพิพาทแล้วนำมาจำนองไว้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาจดทะเบียนจำนองห้องชุดพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่มีแก่จำเลยเท่านั้น ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง นอกจากนี้ขณะที่โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่จำเลยครบถ้วน จำเลยยังไม่ได้ฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ความรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อหนี้เงินกู้ของโจทก์อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปและโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันอยู่อีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8905/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ดอกเบี้ยกู้ยืม โจทก์ต้องพิสูจน์หนี้ประธานจำนวนแน่นอนก่อนบังคับจำนอง
โจทก์ไม่สามารถสืบให้สมตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน และจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกด้วย เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 702 บัญญัติว่า "อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง" เมื่อการจำนองมิได้เป็นการประกันการชำระหนี้กู้ยืม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง เนื่องจากจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้ประธานอันเป็นหนี้กู้ยืม เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนี้ประธาน จำเลยก็หาจำต้องรับผิดในหนี้อุปกรณ์ต่อโจทก์ด้วยไม่
หนี้ประธานในกรณีที่จำเลยจดทะเบียนจำนองนั้นเป็นหนี้การประกันดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เมื่อหนี้ประธานยังมิได้มีกำหนดจำนวนที่แน่นอน ศาลย่อมมิอาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดในหนี้จำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้เนื่องจากยังไม่ปรากฏหนี้อันเป็นที่แน่ชัดว่ามีจำนวนค้างชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7913/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและจำนองประกันหนี้เดียวกัน เมื่อชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันย่อมระงับ
จำเลยที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยจำกัดวงเงิน แม้การค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิส่วนการจำนองเป็นทรัพยสิทธิ แต่เมื่อเป็นการประกันหนี้จำนวนเดียวกันและจำเลยที่ 5 ได้ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองครบถ้วนจนมีการไถ่ถอนจำนองให้จำเลยที่ 5 แล้ว อันมีผลให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระงับไปด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือตามสัญญาค้ำประกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการกู้ยืม: สัญญาขายฝากที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ และมีลักษณะของการกู้ยืมเงิน
ค. กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน 3,500,000 บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าจำนวน 300,000 บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักชำระภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง: รายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย รวมถึงภาษี เป็นฐานชำระหนี้จำนอง
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองมาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้สามัญ แต่เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่โจทก์มีสิทธิขอให้นำไปชำระหนี้นี้หมายถึงเงินรายได้สุทธิที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวแล้ว ซึ่งรวมถึงค่าภาษีที่เกิดจากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองตาม ป.รัษฎากรด้วย
ภาษีเงินได้ของจำเลยที่เกิดจากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองเป็นภาษีที่จะต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน มิใช่เป็นหนี้ภาษีอากรที่จำเลยค้างชำระ แม้ผู้ซื้อทรัพย์จะเป็นผู้ชำระแต่มีคำสั่งกรมบังคับคดีให้สิทธิผู้ซื้อทรัพย์นำใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาขอคืนภาษีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีลงรายการดังกล่าวในบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ค่าภาษีเงินได้พึงประเมินของจำเลยจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายที่ดิน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินไปหักชำระภาษีดังกล่าวโดยคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งได้ชำระค่าภาษีแทนจำเลยไปแล้วนำเงินส่วนที่เหลือซึ่งเป็นรายได้สุทธิจากการขายที่ดินไปชำระหนี้จำนองแก่โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ทุกประเภท แม้ชำระหนี้กู้แล้ว หากยังมีหนี้อื่นค้าง จำเลยมีสิทธิไม่ไถ่ถอนจำนอง
สัญญาจำนองข้อ 1 ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของ อ. ที่มีต่อธนาคาร ก. ผู้ร้องจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ทุกประเภทหนี้ เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท และตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ข้อ 2 ระบุว่า หนี้สินและภาระผูกพันใดๆ ที่จำนองเป็นประกัน ได้แก่ หนี้สินและภาระผูกพันทุกประเภท ทุกอย่าง ที่มีต่อผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้และที่จะมีต่อไปในภายหน้า เมื่อหนี้สินและภาระผูกพันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งระงับสิ้นไป แต่หนี้สินและภาระผูกพันประเภทอื่นยังมีอยู่หรือจะมีต่อไปในภายหน้าสัญญาจำนองไม่ระงับสิ้นไปคงผูกพันเป็นประกันต่อไป เห็นได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการทำนิติกรรมกับจำเลยต่างสาขากัน แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยเช่นกันถือได้ว่า โจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลย สาขาสามพราน ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้
of 39