คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 702

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, การบังคับชำระหนี้, สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, การฟื้นฟูกิจการ, ผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินดังกล่าวได้จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยติดจำนองมาด้วย ซึ่งสิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงต้องรับภารจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองจนกว่าจะมีเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 แม้ต่อมาธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. แต่ส่วนของลูกหนี้ก็ยังคงติดจำนองอยู่กับธนาคาร ม. และภาระหนี้ยังเป็นของบริษัท ส. ตามเดิมเช่นนี้ ที่ดินส่วนของลูกหนี้ย่อมติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป แต่ภารจำนองของลูกหนี้ย่อมไม่เกินวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ย เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินดังกล่าว โดยไม่เกินจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดทรัพย์สินชำระหนี้จากการจำนองเรือ แม้ขายทอดตลาดแล้วยังขาด หนี้เป็นหนี้สามัญผู้จำนองต้องรับผิด
เมื่อนำข้อตกลงในสัญญากู้ยืมที่ระบุว่า "ถ้าข้าพเจ้าล้มตายหรือหลบหายไปเสียข้าพเจ้ายอมให้เอาทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้าขายทอดตลาดเงินต้นและดอกเบี้ยให้ท่านจนครบ" มาพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเลฯที่กำหนดว่า "ถ้าเอาเรือที่จำนองออกขายหรือขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าเงินที่ค้างชำระแก่ผู้รับจำนอง... เงินยังขาดอยู่เท่าใดให้ถือว่าเป็นหนี้สามัญซึ่งผู้รับจำนองอาจเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ แต่ถ้าผู้จำนองไม่ได้เป็นลูกหนี้จะเรียกร้องจากผู้จำนองไม่ได้" แล้ว เห็นชัดเจนได้ว่า เมื่อโจทก์ผู้รับจำนองนำเรือที่จำนองออกขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ ส่วนที่ขาดอยู่จำเลยผู้จำนองยังคงต้องรับผิดเพียงแต่กฎหมายกำหนดให้เป็นหนี้สามัญไม่ใช่หนี้บุริมสิทธิ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ผู้แพ้หรือผู้ชนะเป็นฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับก็ได้การที่โจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็มิได้หมายความว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองคุ้มครองหนี้ภายหน้า-ดอกเบี้ยนิตินัย: สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้, ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ไม่ใช่เบี้ยปรับ
สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันเอกสารหมาย จ.16 และ จ.17 จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2529 ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เพื่อเป็นประกันหนี้เงินเบิกเกินบัญชีหนี้เงินกู้แล้ว ยังจำนองเป็นประกันหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่แล้วในขณะทำสัญญานี้และหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าและตามบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการดังนั้น สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว นอกจากจะประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพิ่มเติมอีก ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหน้า สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน จึงมีผลผูกพันเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองหรือขึ้นเงินจำนองอีก
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต & อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน เอกสารหมาย จ.16 และ จ.17 จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2529 ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เพื่อเป็นประกันหนี้เงินเบิกเกินบัญชีหนี้เงินกู้แล้ว ยังจำนองเป็นประกันหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่แล้วในขณะทำสัญญานี้และหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าและตามบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการดังนั้น สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวนอกจากจะประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพิ่มเติมอีก ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหน้า สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน จึงมีผลผูกพันเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองหรือขึ้นเงินจำนองอีก
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้เดิม-สัญญาใหม่: เจตนาที่แท้จริงผูกพันจำเลยที่ 3-4 แม้ระบุสัญญาจ้างผิด
หนังสือรับสภาพหนี้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ขอนำหลักทรัพย์ที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยที่ 3 มาประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 ยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ ต่อมาจำเลยที่ 3 และที่ 4 จดทะเบียนจำนองที่ดินให้แก่โจทก์ในวงเงินจำนวนสูงมาก โดยมิได้โต้แย้งแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 ทำเงินขาดบัญชีและมีเจตนาจำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาสัญญาจำนองที่ระบุว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยอมรับผิดในหนี้สินใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในเวลานี้หรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปในภายหน้าไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทุกประการ และหนังสือรับสภาพหนี้ได้ทำขึ้นก่อนที่จะทำสัญญาจำนองดังกล่าว ดังนี้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์
แม้สัญญาจำนองจะระบุความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับที่สิ้นสุดไปแล้ว และได้มีการทำสัญญาจ้างกันใหม่ ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งสองจำนอง ที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยที่ 1 ในขณะที่ทำสัญญาจำนอง จึงเป็นกรณีที่ระบุสัญญาจ้างผิดฉบับคลาดเคลื่อนไป โดยผิดหลง โดยมีเจตนาที่แท้จริงจะผูกพันกันตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่อาจยกข้อผิดหลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนตามสัญญาจำนองที่มีต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันพิพากษาตามยอม การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6678/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ ต้องมีหนี้ประธานก่อนบังคับจำนอง ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษาตามยอม
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อนการบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาจำนองอันดับที่ 1 กับจำเลยตั้งแต่วันที่17 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 10 มิถุนายน 2520 ก็ตามแต่เมื่อการไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมซึ่งเป็นหนี้ประธานเพิ่งเกิดขึ้นภายหลังวันทำสัญญาจำนองดังกล่าวโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม
บุริมสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 เป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์จำนองไม่เกินวงเงินที่จำนองตามสัญญาจำนอง ซึ่งรวมเป็นต้นเงินจำนวน35,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเท่านั้นจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกินกว่านั้นหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 เป็นเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระแต่กรณีของโจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงไม่ใช่กรณีที่จะบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมไปจนกว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองอันดับที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจะได้รับชำระครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ก่อนครบกำหนด
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถามและฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
of 39