พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนืออำนาจ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ ไม่มีหน้าที่รับชำระหนี้จากสมาชิกของโจทก์ แต่ได้กระทำการนอกหน้าที่โดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจไปหลอกลวงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นแล้ว ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเงินและรับเงินไว้จากสมาชิก จำเลยที่ 1จึงมีหน้าที่จะต้องนำมามอบให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย การที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามความในข้อ 1 แห่งสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากกระทำหรืองดเว้นกระทำไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และเมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความว่า ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างผู้รับจ้างกระทำการในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์โจทก์เช่นนี้ เมื่อความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองด้วย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามความในข้อ 1 แห่งสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากกระทำหรืองดเว้นกระทำไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และเมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความว่า ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างผู้รับจ้างกระทำการในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์โจทก์เช่นนี้ เมื่อความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองโมฆะ: แม้มีเจตนาจะจำนอง แต่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย สัญญาจึงไม่สมบูรณ์
การที่จำเลยมอบโฉนดที่ดินพร้อมด้วยใบมอบอำนาจและเอกสารอื่นให้แก่โจทก์เพื่อจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ในการที่จำเลยนำเช็คไปขายลดแก่โจทก์ถึงแม้จะมีข้อกำหนดให้นำไปจดทะเบียนจำนองได้หลังจากเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาจะเอาทรัพย์จำนองเป็นประกันนั้นเองเมื่อไม่ได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมายสัญญาจำนองจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา115เดิมและมาตรา714ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ไม่ได้บัญญัติไว้ในที่ใดให้มีสัญญาจะจำนองได้เมื่อสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะและสัญญาจะจำนองมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่อาจอ้างอิงสัญญาดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ขายลดเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีเงินฝากและขอบเขตการฟ้องร้อง: หนี้ของ ซ. กับสิทธิโจทก์
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้ แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของ ซ. ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่น และโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของ ซ.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนอง เมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับ ซ. โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้จากการจำนองร่วมกับผู้อื่น แม้ฟ้องผิดฐาน แต่สิทธิหักบัญชีมีผลบังคับ
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของซ.ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่นและโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้วแต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของช.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนองเมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับซ.โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ขอบังคับจำนองแต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลยแต่เป็นหนี้ของซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลยแต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโอนและจำนองที่ดินเป็นโมฆะจากเจตนาทุจริต ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจโดยยังไม่กรอกข้อความจำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่1โดยโจทก์ไม่รู้เห็นด้วยนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นจากการทุจริตจึงตกเป็น โมฆะ ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยที่2รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่2มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ เพิกถอนนิติกรรม จำนองระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินฯ ที่มีข้อจำกัดเรื่องการโอนสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระขอให้ยึดที่ดินจำนองของจำเลยซึ่งมีข้อความบันทึกไว้ในสารบัญจดทะเบียนหลังโฉนดห้ามโอนภายในห้าปีตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44 วรรคหนึ่งออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะขอให้บังคับจำนองที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ในภายหลังต่อไป ฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับที่ดินจึงไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ส่วนฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำนองที่ดิน เป็นการฟ้องบังคับจำนองที่ดินของจำเลยซึ่งได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้องยังไม่พ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ที่ดินจำนองของจำเลยดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 มาตรา 44 วรรคสองฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6082/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองกำลังฟ้องบังคับจำนองที่ดินเอาแก่จำเลยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินจะโอนกรรมสิทธิ์ไปยังโจทก์ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงมีอยู่ตามเดิมส่วนวิธีการที่จะบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินแปลงนี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ร้องรอการส่งมอบโฉนดที่ดินต่อศาลเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธานถึงกำหนด หนี้จำนองถึงกำหนดตาม, ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินจากการบังคับคดี
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ ว.และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าวย่อมถึงกำหนดเช่นกัน
ทรัพย์ที่ ว.และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว.นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว.มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิดได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสอง ว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
ทรัพย์ที่ ว.และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว.นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว.มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิดได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสอง ว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ยึด แม้ผู้จำนองไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ว. และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าว ย่อมถึงกำหนดเช่นกัน ทรัพย์ที่ว. และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว. นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว. มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสองว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด