คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 702

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองมีลำดับก่อนสิทธิอื่นแม้มีคดีซื้อขายทรัพย์สินที่จำนองค้างอยู่ การงดบังคับคดีไม่เป็นประโยชน์
โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาของจำเลยได้ยึดที่ดินของจำเลยไว้ขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องแต่คดียังไม่ถึงที่สุดเพราะจำเลยอุทธรณ์อยู่ กรณีเช่นนี้แม้หากต่อมาคดีของผู้ร้องจะถึงที่สุดก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองนั้นได้ เพราะสิทธิจำนองย่อมตกติดอยู่กับตัวทรัพย์ ดังนั้นการงดการบังคับคดีไว้ตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดอีกทั้งผู้ร้องก็สามารถที่จะใช้สิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องหาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าคดีของผู้ร้องและจำเลยจะถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานจำเลย แม้ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ - สัญญาจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบของจำเลยที่ 2 เมื่อให้การปฏิเสธสัญญาจำนอง ไม่ถือเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันการค้ำประกัน vs. หนี้เบิกเกินบัญชี สัญญาจำนองชัดเจน ศาลฎีกาตัดสินตามเจตนา
ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า จำเลยที่ 3 มอบอำนาจให้ ช.ทำการจำนองที่ดิน 2 แปลง ตามโฉนดที่ดินที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจเพื่อเป็นประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน 117,000 บาท และตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายก็มีข้อความระบุว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนเงิน 117,000 บาทข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวย่อมเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน117,000 บาท เท่านั้น หาได้จำนองเพื่อประกันหนี้อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ไม่ ส่วนที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินมีข้อความว่าส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต่อท้ายของธนาคารรวมอยู่ด้วยนั้น ย่อมหมายถึงข้อตกลงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยนอกจากที่กล่าวไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน แต่ก็ต้องถือเอาข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักในการพิจารณาว่า คู่กรณีมีเจตนาในการจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้อะไรและมีจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ข้อความในสัญญาต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบของหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเท่านั้น แม้ตามหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินจะมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า เพื่อเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองหรือจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า ลูกหนี้ ได้หรือจะได้กู้ไปจากธนาคาร ได้เบิกหรือจะได้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากธนาคาร และหนี้สินอื่นใดซึ่งลูกหนี้หรือผู้จำนองเป็นหนี้ธนาคารอยู่ในเวลานี้ หรือที่จะเป็นต่อไปในภายหน้าในวงเงินไม่เกิน 117,000 บาท แต่ข้อความดังกล่าวจะตีความว่ารวมถึงหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีอยู่กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะถ้าโจทก์และจำเลยที่ 3 มีเจตนาที่จะให้จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ด้วย ก็คงจะต้องระบุข้อความดังกล่าวรวมทั้งจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในวันที่จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายด้วย การที่จำเลยที่ 3 นำพยานบุคคลมาสืบว่า การจำนองที่ดินตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร โดยไม่รวมถึงหนี้ตามฟ้องโจทก์ด้วยนั้นเท่ากับเป็นการนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3ไม่มีหนี้ตามฟ้องที่จะต้องรับผิดต่อกันสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามฟ้องไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่จำเลยที่ 3 จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อประกันการค้ำประกัน vs. หนี้เบิกเกินบัญชี: สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ใด
จำเลยที่ 3 มอบอำนาจให้ ช. จำนองที่ดินกับโจทก์ โดยระบุในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน117,000 บาท จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ดังกล่าว หาใช่หนี้อื่น ๆ ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วยไม่ ที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 5 ระบุว่า ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาต่อท้ายนั้น ย่อมหมายถึงข้อตกลงที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย นอกจากที่กล่าวไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต้องถือเอาข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักในการพิจารณา โดยข้อความในสัญญาต่อท้ายเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นดังนั้นแม้หนังสือสัญญาต่อท้าย จะมีข้อความระบุว่า เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้สินอื่นใดซึ่งผู้จำนองหรือจำเลยที่ 1เป็นหนี้ธนาคารอยู่ในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้าในวงเงินไม่เกิน117,000 บาท จึงจะตีความว่ารวมถึงหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 มีอยู่กับโจทก์ด้วยหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง เป็นการจำนองเพื่อประกันการที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรุงเทพมหานคร โดยไม่รวมถึงหนี้ตามฟ้องโจทก์ เป็นการนำสืบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 3 ไม่มีหนี้ตามฟ้องต่อกัน สัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามฟ้องไม่เกิดขึ้นหรือไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจำนองและการบังคับคดี: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับโอน vs เจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส. ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส. ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่า ส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว ส. เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เมื่อ ส. กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส. มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1 ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์ แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส. ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 305สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ และผลของการโอนสิทธิไปยังผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 กู้เงิน ส. และจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ส.ให้ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนออกหน้าเป็นผู้รับจำนองไว้แทน ส.ในฐานะตัวการไม่เปิดเผยชื่อย่อมมีสิทธิที่จะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งผู้คัดค้านได้ทำไว้แทนตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 เมื่อ ส.ดำเนินการให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวแทนโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าส. ตัวการได้โอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนองลำดับหนึ่งนั้นให้แก่ผู้ร้องแล้ว
ส.เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การตั้งผู้คัดค้านเป็นตัวแทนไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจำนองลำดับหนึ่ง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ คดีดังกล่าวผู้ร้องมิได้เข้าเป็นคู่ความด้วย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้อง แม้ในคดีดังกล่าว ศาลฟังว่าผู้คัดค้านทำสัญญาจำนองในฐานะส่วนตัวแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นตัวแทนของ ส.ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อเมื่อ ส.กลับแสดงตนเข้ารับเอาสัญญาโดยดำเนินการให้ผู้คัดค้านโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องจาก ส.มิใช่รับโอนจากผู้คัดค้านในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 1ภายหลังศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ตาม การโอนสิทธิเรียกร้องก็มีผลสมบูรณ์
แม้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจะระบุว่า ผู้โอนตกลงโอนและผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจำนอง ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า ส.ประสงค์จะโอนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตนให้ผู้ร้องเพื่อเป็นการชำระหนี้ จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้ที่ ส. มีต่อจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งผลของการโอนย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 305 สิทธิจำนองลำดับหนึ่งอันได้จดทะเบียนไว้แล้วย่อมตกไปยังผู้ร้องผู้รับโอนด้วย กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าผู้ร้องได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหา-ริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในบังคับที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ ผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วย วิธีการพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระค่าฤชาธรรมเนียมในฐานะเจ้าหนี้จำนองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองสินสมรส: สิทธิเรียกร้องเงินจากการบังคับคดีขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับจำนองไม่ทราบเจตนาเจ้าของร่วม
การที่ผู้ร้องอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งและไม่ได้ยินยอมให้นำทรัพย์พิพาทส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนองด้วยนั้น ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของผู้ร้องว่า โจทก์ผู้รับจำนองได้ทราบเช่นนั้นไม่ การจำนองจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำนองและศาลพิพากษาให้บังคับตามสัญญาจำนองได้แล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ส่วนการที่จำเลยนำทรัพย์ส่วนของผู้ร้องเข้าร่วมจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ร้องนั้น หากเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นอีกคดีเรื่องหนึ่งต่างหากจะมาร้องขอกันส่วนให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเกินวงเงินและดอกเบี้ยทบต้น: ข้อตกลงโมฆะและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำ-ประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน1,000,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3
of 39