พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่จริง การส่งมอบที่ดินขาดจำนวน และการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้
หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระบุว่า เป็นการซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) 3 แปลง (น.ส. 3) 1 แปลง แม้ไม่ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลง แต่ก็ระบุจำนวนเนื้อที่รวมซึ่งเป็นผลบวกของ เนื้อที่ดินทั้งสี่แปลง ต่อมามีการโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส. 3 ก. 3 แปลง ส่วนที่ดินตาม น.ส. 3 ไม่ได้โอนสิทธิครอบครองกันเนื่องจากที่ดินไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน จึงมีการเปลี่ยนที่ดินโดยนำที่ดินที่ติดต่อกับที่ดิน 3 แปลงข้างต้นมาซื้อขายกัน และคิดราคาที่ดินคำนวณเป็นราคาตารางวา โดยผู้ขายต้องใช้เงินคืนแก่ผู้ซื้อเพราะที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินแปลงเดิม ซึ่งราคาที่ดินที่ใช้คืนคำนวณแล้วก็ตรงกับราคาที่ตกลงซื้อขายกันแต่แรก แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์กับจำเลยว่าการซื้อขายที่ดินดังกล่าวถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ มิใช่เป็นการขายเหมา เมื่อจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยไปกว่าที่ตกลงกันไว้โดยโจทก์มิได้บอกปัด แต่รับเอาที่ดินไว้และใช้ราคาที่ดินตามส่วนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยเกินไปบางส่วนแล้วมาฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกันและจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยให้การเพียงว่า ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและไม่เข้ากฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ กับคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความในเรื่องใด อายุความมีกำหนดเท่าใด ซึ่งเริ่มนับแต่เมื่อใด และเพราะเหตุใด คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องอายุความ
จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่หายไป เมื่อมีข้อสงสัยว่าที่ดินซื้อขายกันนั้นขาดจำนวนไป 397 ตารางวา หรือ 297 ตารางวา ป.พ.พ. มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ก็คือจำเลยผู้ขายนั่นเอง เพราะมูลหนี้ที่ต้องเสียในคดีนี้เป็นการชำระเงินคืนแก่โจทก์ผู้ซื้อ
จำเลยให้การเพียงว่า ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและไม่เข้ากฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ กับคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โดยมิได้แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความในเรื่องใด อายุความมีกำหนดเท่าใด ซึ่งเริ่มนับแต่เมื่อใด และเพราะเหตุใด คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องอายุความ
จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่หายไป เมื่อมีข้อสงสัยว่าที่ดินซื้อขายกันนั้นขาดจำนวนไป 397 ตารางวา หรือ 297 ตารางวา ป.พ.พ. มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ก็คือจำเลยผู้ขายนั่นเอง เพราะมูลหนี้ที่ต้องเสียในคดีนี้เป็นการชำระเงินคืนแก่โจทก์ผู้ซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา ก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับคืน
แม้มีเหตุจะเป็นอุปสรรคในการทำการก่อสร้างของโจทก์อยู่บ้าง แต่โจทก์ยังสามารถทำการก่อสร้างในส่วนอื่นได้ และต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันโดยจำเลยผ่อนผันยืดเวลาทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จออกไปอีก และกำหนดไว้ในข้อ 3 ว่าความรับผิดชอบส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จเดิมเป็นต้นไป โจทก์ยอมให้จำเลยปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารโดยส่งมอบให้จำเลยล่าช้ากว่ากำหนดจำเลยจึงปรับโจทก์ตามสัญญา โดยหักเงินค่าปรับไว้จากค่าจ้าง เมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนค่าปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น เพราะการที่จำเลยหักค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างอาคารโดยส่งมอบให้จำเลยล่าช้ากว่ากำหนดจำเลยจึงปรับโจทก์ตามสัญญา โดยหักเงินค่าปรับไว้จากค่าจ้าง เมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ให้จำเลยคืนค่าปรับบางส่วนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้น เพราะการที่จำเลยหักค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: การห้ามก่อสร้างและเก็บค่าเช่าบนที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินควรจะเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อห้ามเก็บค่าเช่าต้องมีประเด็นพิพาทเรื่องค่าเช่าเสียก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย หากโจทก์ชนะคดีโจทก์จะได้เงินค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเช่าอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แผงลอย บนที่ดินพิพาทควรจะเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้งบุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและ ดูแลกิจการแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดหลังยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 โดยให้เพิ่มวรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1)และ (2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 บัญญัติว่า"ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเป็นที่สุดห้ามฎีกา: ผลของกฎหมายใหม่ต่อการยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 288โดยให้เพิ่ม วรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ(2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้...ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม"ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223 บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้...จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหลักประกันชำระหนี้ต้องเป็นเงินจริง เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะดำเนินการขายทอดตลาดได้หากหลักประกันไม่พอชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสองมอบให้ผู้อื่นนำสมุดเงินฝากของบุคคลอื่นมาวางเพื่อประกันการชำระหนี้ พร้อมคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้งดการขายทอดตลาดไปยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีจึงมิใช่เป็นการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เข้าหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อาจงดการขายทอดตลาดได้
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สมควร มิเช่นนั้นถือว่าไม่ได้โต้แย้งและขาดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จึงต้องให้คู่ความมีโอกาสและระยะเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้น แต่มิได้มีความหมายเลยไปจนถึงกับให้คู่ความใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการแทงต่อเนื่องที่อวัยวะสำคัญ และการพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้องกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้ายขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้องกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้ายขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด ศาลพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288, 80, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295, 83 ผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลถูกแทงบริเวณหน้าท้อง กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 3เซนติเมตร ลึกเข้าช่องท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด ขณะนำส่งโรงพยาบาลโจทก์ร่วมมีอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดในช่องท้อง หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้บาดแผลดังกล่าวใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้โจทก์ร่วมยังมีบาดแผลถูกแทงที่บริเวณต้นแขนซ้าย ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร อันเป็นบาดแผลที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 2 แทงโจทก์ร่วมที่หน้าท้อง แล้วจำเลยที่ 2 ได้แทงซ้ำแต่โจทก์ร่วมหลบได้ทันจึงถูกที่แขนซ้ายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ใช้มีดปลายแหลมแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ คมมีดลึกเข้าช่องท้องถูกกระเพาะอาหารและลำไส้ฉีกขาด เห็นได้ว่าเป็นการแทงโดยแรงและยังแทงซ้ำอีก แต่โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบเสียได้จึงถูกที่บริเวณต้นแขนซ้าย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย