พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมสละที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ทำให้ที่ดินตกเป็นของแผ่นดิน แม้มีการโอนสิทธิภายหลัง
เมื่อไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อก่อสร้างถนนสายอักษะตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 และจำเลยก็ไม่ได้ดำเนินการให้มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ฉะนั้นที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ได้ถูกเวนคืนตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่เนื่องจากพฤติการณ์ของ บ. แสดงออกชัดว่าได้ยอมสละที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพื่อสร้างถนนสายอักษะตั้งแต่ปี 2508 และรับเงินค่าตอบแทนไปบ้างแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ต่อมาภายหลัง บ. ได้โอนที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทด้วย ก็หาทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยเวนคืนแจ้งเจ้าของ-เจ้าพนักงานที่ดิน ทำให้เสียหายจากการเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของเจ้าหน้าที่เมื่อออกกฎหมายเวนคืน ผู้รับโอนที่ดินจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน แต่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนหากไม่พอใจต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ในขณะที่มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง-เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทาอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วโจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของรัฐทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้รับโอนไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ และต้องอุทธรณ์เรื่องค่าทดแทนตามขั้นตอน
ในขณะที่มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทา อำภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้ว โจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินที่ถูกเวนคืน: สิทธิของผู้ซื้อก่อนมีผลบังคับใช้กฎหมายเวนคืน
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2524เป็นกฎหมาย จึงถือว่าผู้ร้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้ร้องอ้างไม่ได้ว่าขณะที่ผู้ร้องเข้าประมูลในการขายทอดตลาดผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงเช่นว่านี้ จึงไม่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อจากการขายทอดตลาด การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงยังไม่ตกเป็นของรัฐ ขณะมีการขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อไม่อยู่ในข่ายห้ามโอนตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295พ.ศ. 2530 แล้ว ก็สามารถทำนิติกรรมซื้อขายกันได้ตามกฎหมายแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินใช้บังคับและรวมที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วยก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังการขายทอดตลาดที่เสร็จสิ้นไปแล้ว การขายทอดตลาด จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หน้าที่แจ้งการเวนคืนของเจ้าหน้าที่ และความรับผิดของผู้ขายที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไร เท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้างผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื่อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่ .........ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบ เมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่ .........ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบ เมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ในการแจ้งเวนคืนที่ดิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อที่ไม่ตรวจสอบสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไรเท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้าง ผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่...ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบเมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น