คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืนและแจ้งข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา9เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาวพ.ศ.2517มาตรา4บัญญัติไว้ว่าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้นกรุงเทพมหานครจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบตามมาตรา9ค.เมื่อจำเลยที่1มิได้แจ้งจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหากจำเลยที่1ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขายเจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืนโจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่2ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ.ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้นโจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่2ไม่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อจึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จำเลยที่2มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้นคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยเวนคืนแจ้งเจ้าของ-เจ้าพนักงานที่ดิน ทำให้เสียหายจากการเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ในการแจ้งเวนคืนที่ดิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อที่ไม่ตรวจสอบสิทธิ
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไรเท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้าง ผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่...ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบเมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หน้าที่แจ้งการเวนคืนของเจ้าหน้าที่ และความรับผิดของผู้ขายที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง
ประกาศของคณะปฏิวัติและพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพียงแต่กำหนดว่าที่ดินจะถูกเวนคืนท้องที่ใด อำเภออะไร กว้างที่สุดและแคบที่สุดเท่าไร เท่านั้น แม้จะมีแผนที่แนบ ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าที่ดินแปลงใดถูกเวนคืนบ้างผู้ขายได้ซื้อที่ดินมาจากผู้อื่นและขออนุญาตทำการปลูกสร้างอาคาร แล้วขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้ซื่อโดยผู้ขายไม่รู้ว่าที่ดินถูกเวนคืน และความไม่รู้มิใช่เพราะความประมาทของผู้ขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องที่ผู้ซื้อฟ้องว่าผู้ขายปกปิดความจริงเรื่องการเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 กำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นให้แก่ .........ที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ เมื่อพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่ทราบ เมื่อไม่แจ้งย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้น