คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิโต้แย้งและการหมดอายุความตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนี้ ทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในปี 2538 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2539 โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาคำนวณตามแบบแจ้งรายการจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 หากจำเลยยังไม่พอใจคำชี้ขาดก็อาจนำคดีไปสู่ศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องทำภายในสามสิบวันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งต่อศาลว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบ ในการโต้แย้งนั้นไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ผู้รับประเมินก็หมดสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องก่อนฟ้องคดี หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืน เป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนโจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีปิดหมายแจ้งคดี: การแสดงให้เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
การปิดหมายจะกระทำด้วยวิธีใด เช่น การใช้เชือกผูกการตอกตะปู การแปะติดไว้ หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องแสดงไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เพื่อให้ผู้รับแจ้งทราบว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีหรือมีกระบวนพิจารณาใดที่จะต้องปฏิบัติหรือรับทราบ ก็ถือได้ว่าเป็นการปิดหมายโดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดี และมิใช่เป็นการขาดนัดพิจารณา
หลังจากจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและศาลภาษีอากรกลางได้นัดชี้สองสถาน และได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ทราบโดยชอบแล้ว ต้องถือว่าโจทก์ทราบวันนัดชี้สองสถานของศาลภาษีอากรกลางแล้ว ในวันชี้สองสถานทนายโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้อง คงมาแต่ฝ่ายจำเลย ศาลจึงทำการชี้สองสถานไปโดยให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนแล้วให้จำเลยนำสืบแก้ แต่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร และโจทก์ไม่มาศาล ศาลภาษีอากรกลางจึงสั่งงดสืบพยานโจทก์ได้ และถือว่าโจทก์ได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันชี้สองสถานแล้ว
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร และโจทก์ไม่มาศาล ศาลจึงสั่งงดสืบพยานโจทก์ และต่อมาพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี มิใช่เป็นกรณีที่ศาลสั่งให้โจทก์ขาดนัดพิจารณา โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการหลังเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษี และการคิดดอกเบี้ยเมื่อจำเลยผิดนัดชำระ
ประเด็นในคดีนี้มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 9 ตามสัญญาจ้างหรือไม่ ส่วนประเด็นในคดีก่อนนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มจากสัญญาจ้างฉบับเดียวกันกับสัญญาจ้างในคดีนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8ประเด็นในคดีดังกล่าวจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8 ตามสัญญาจ้างนั้นหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นในคดีนี้กับประเด็นในคดีก่อนจึงแตกต่างกัน คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534มาตรา 7 ได้บัญญัติให้ยกเลิกภาษีการค้า และมาตรา 8 ประกอบด้วยมาตรา 2 (2)ได้บัญญัติให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535เป็นต้นไป แต่สินค้าที่ได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1มกราคม 2535 มาตรา 24 ได้บัญญัติให้ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการยังคงเสียภาษีการค้าต่อไป ในทางกลับกันหากการขายมิได้เสร็จเด็ดขาดหรือการให้บริการมิได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต่อไป แต่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดย ป.รัษฎากรมาตรา 82/4 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แต่เนื่องจากในระยะแรกที่นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้านั้น หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไม่ได้ตั้งงบประมาณเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ จึงทำให้หน่วยราชการซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไม่อาจชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเรียกเก็บได้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลจึงได้ตรา พ.ร.ฎ.ออกตามความในป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 ขึ้นใช้บังคับโดยมาตรา 3 บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเก่าหรือเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายใหม่ก็ได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการได้ทำสัญญาไว้ก่อน แต่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาและวิธีการเลือกเสียภาษีไว้ ฉะนั้นกรณีใดจึงจะถือว่าผู้ประกอบการเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ไปยังจำเลยว่าโจทก์ได้ขอเลือกปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าว โดยโจทก์ขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับงวดงานตามสัญญาจ้างที่โจทก์ได้รับชำระตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 จึงถือได้ว่าโจทก์เลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างงวดที่ 9 จากจำเลย
ตามหนังสือแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าในการชำระค่าจ้างสำหรับงานงวดที่เหลือขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยสำหรับงานงวดที่ 9 จำนวน 4,468,086.90 บาท เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่ได้รับชำระค่าจ้างตามป.รัษฎากรมาตรา 82/4 วรรคแรก ประกอบมาตรา 78/1 (2) เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่ได้รับชำระนับแต่วันที่ได้รับค่าจ้างเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ ... 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรมกอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น" และข้อ 575 กำหนดว่า"สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ ส.จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ ส.ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อ ส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่า ส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนอากรและการฟ้องละเมิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีตรวจสินค้าไม่ตรงกับเอกสาร
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า แต่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี ได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออก โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ ย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอน มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ การที่มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาเนโบติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีต้องยื่นภายในกำหนด และมีข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหรือยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรในเรื่องเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
การประเมินอากรขาเข้ากฎหมายมิได้กำหนดว่าจะต้องมีรายละเอียดอย่างไร การที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบโดยมีรายการเกี่ยวกับจำนวนเงินอากรขาเข้าที่สำแดง เงินประกันภาษีอากร ภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มและเงินเพิ่ม นับว่าเป็นการประเมินที่ชอบและถูกต้องแล้ว
เมื่อจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ฉบับ ซึ่งนำเข้าในวันเดียวกัน อันถือเป็นทุนทรัพย์แห่งคดีมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมและการวินิจฉัยรายจ่ายพิเศษที่ไม่เข้าข่ายรายจ่ายต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วย ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่า ค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว คำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงาน รายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฟ้องคดีอนาถา: การแก้ไขกระบวนพิจารณาหลังศาลฎีกาตัดสินถึงที่สุด และการกำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาล
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพราะโจทก์มอบอำนาจให้ ก.ผู้ฟ้องคดีแทนเป็นผู้สาบานตัว โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และเมื่อศาลฎีกาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้ว คำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวจึงถึงที่สุด โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรอีกเพื่อขอให้กรรมการบริษัทสาบานตัวประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา เพื่อชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล อันเป็นการขอแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องที่ไม่ถูกต้องเสียใหม่ ย่อมไม่อาจทำได้เพราะไม่มีคำร้องโจทก์เหลืออยู่ให้ดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาเสียใหม่ได้ และคำร้องดังกล่าวมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องและนัดไต่สวนโจทก์ที่ขอให้ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เข้าสาบานตัว แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นให้ยกคำร้องโจทก์ศาลจะต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควร จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไปทันทีหาชอบไม่
of 2