พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีค่าทดแทน – กรมแรงงานมีหน้าที่จ่ายแม้จ่ายเงินสมทบไม่ตรงประเภท – การฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน กำหนดให้เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายและเงินอื่น ๆ ที่ประกอบเป็นกองทุนเงินทดแทนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมแรงงาน กรณีที่ นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบ ก็ให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างได้ และตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกันดังกล่าวก็บัญญัติให้มีสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในกรมแรงงาน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและให้มีคณะกรรมการเรียกว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานจำเลยนั้นเอง การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน จึงถือว่าเป็น การกระทำของจำเลย ฉะนั้นการที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนได้ โจทก์เป็นพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและได้รับคำสั่งจากนายจ้างให้เป็นนักฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคาร โดยมีระเบียบของนายจ้างว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร จึงถือได้ว่าการฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันกีฬาของโจทก์เป็นการทำงานให้นายจ้างตามคำสั่งของนายจ้าง เพราะการเล่นกีฬาย่อมก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงานและมีพลานามัย แข็งแรงเป็นประโยชน์แก่การทำงานให้แก่นายจ้าง การที่โจทก์ประสบอันตรายในการฝึกซ้อมฟุตบอลจึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนทดแทนประเภทกิจการสถาบันทางการเงินไม่ได้จ่ายตามประเภทกิจการบันเทิงและการกีฬาก็ตาม จำเลยก็ไม่หลุดพ้น จากความรับผิดในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมแรงงานในการเฉลี่ยหนี้เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน โดยให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและหรือเงินเพิ่มได้เองโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล ถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอก อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 กรมแรงงานจึงมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ แม้จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่หนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของกรมแรงงาน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีค้างชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรกที่บัญญัติให้เจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น หมายถึงเจ้าหนี้ผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ส่วนกรณีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 10ที่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบและหรือเงินเพิ่มได้ กรมแรงงานผู้ร้องจึงเป็นบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวด้วย โดยมีสิทธิจะบังคับเหนือทรัพย์สินของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 แม้ผู้ร้องจะไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้