พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีบุคคลต่างด้าว: เจ้าพนักงานต้องไต่สวนและแจ้งการประเมินก่อนฟ้องเรียกรับผิด
การที่จะเรียกให้ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อรับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้นเจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 19 และ 20ก่อน กล่าวคือ จะต้องเรียกบุคคลผู้ต้องรับผิดนั้นมาไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนเงินที่จะประเมินไปยังบุคคลผู้ต้องรับผิด เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามความใน มาตรา 76 ทวิวรรคสามก่อน มิฉะนั้นกรมสรรพากร โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบุคคลนั้นให้รับผิดตาม มาตรา 76 ทวิ และย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบุคคลนั้นให้ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: เจ้าพนักงานประเมินต้องไต่สวนและแจ้งการประเมินให้ผู้ถูกประเมินทราบก่อน จึงจะฟ้องร้องเรียกค่าภาษีได้
การที่จะให้ลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก นั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องเรียกบุคคลผู้ต้องรับผิดมาไต่สวนแล้วแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้ต้องรับผิด ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20ก่อน เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามความในวรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียก ด. ไปไต่สวนและแจ้งการประเมินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ด. ให้ต้องรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ และย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ด. ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ ศาลฎีกาวินิจฉัยการซื้อขายสินค้าตามสัญญาตัวแทนกับวิธีส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรงมีลักษณะต่างกัน
การซื้อขายสินค้าของโจทก์มี 2 วิธี วิธีที่ 1 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามาในสต็อกของโจทก์เพื่อขายให้ลูกค้า ส่วนวิธีที่ 2ในกรณีสินค้ามีมูลค่าสูงหรือเสื่อมสภาพง่าย โจทก์จะไม่สั่งซื้อเข้ามาในสต็อก แต่เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้า แล้วโจทก์จะสั่งซื้อจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศที่มีสัญญาตั้งโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่าย (DistributorshipAgreement) เป็นหนังสือโดยให้บริษัทดังกล่าวส่งสินค้าให้กับลูกค้าและลูกค้าชำระราคาให้กับผู้ขายในต่างประเทศโดยตรงแต่โจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้กับลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าโจทก์ดำเนินธุรกิจซื้อขายด้วยทุนของตนเอง หากมีการขาดทุนหรือมีกำไรก็ตกเป็นของโจทก์ นอกจากนี้ใบกำกับสินค้าในการซื้อขายตามวิธีที่ 2 นี้ก็ยังออกในนามของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเอง มิได้เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าโดยผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าทีและความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยผ่านตัวแทน: หน้าที่เสียภาษีของบริษัทต่างประเทศและผู้ทำการติดต่อ
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ต่าง ๆของบริษัท ท. แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา ไม่มีอำนาจทำสัญญาแทนบริษัท ท. วิธีการปฏิบัติในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของโจทก์นั้น วิศวกรของโจทก์จะต้องไปสำรวจออกแบบและสั่งเครื่องปรับอากาศเข้ามา โดยโจทก์จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้ขายถ้าไม่มีใบสั่งซื้อ บริษัทผู้ขายจะขายให้ใครไม่ได้ ก่อนทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบระบาย อากาศกับบริษัท ต. ในประเทศ ไทย โจทก์ก็ให้วิศวกรของโจทก์ไปสำรวจออกแบบ แล้วแยกคำนวณราคาค่าเครื่องปรับอากาศกับค่าแรง ในการติดตั้งไว้ต่างหาก แต่เนื่องจากบริษัท ต. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรโดยไม่ต้องเสียภาษีอากร โจทก์จึงให้บริษัท ต. เป็นผู้สั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากบริษัท ท. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยตรงการกระทำของโจทก์ดังกล่าวฟังได้ว่าบริษัท ท. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีโจทก์เป็นผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศ ไทย เป็นเหตุให้บริษัท ท. ได้รับเงินได้ในประเทศ ไทย ถือได้ว่าบริษัท ท. ประกอบกิจการในประเทศ ไทยและโจทก์ผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้อัตรากำไรสุทธิ และการรวมเงินค่าภาษีที่บริษัทจะจ่ายแทน
ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเยี่ยงโจทก์เสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือ ผลกำไรในประเทศไทยนั้น เงินได้หรือผลกำไรดังกล่าวหมายถึงเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริง ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ตรงกันข้ามใน มาตรา 76 ทวิ วรรคสองนั้นเองเป็นบทบัญญัติที่เป็นทางแก้สำหรับกรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามวรรคแรก โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาใช้บังคับ คือให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิ 21.87เปอร์เซ็นต์ ของนิติบุคคลมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: ห้ามใช้อัตรากำไรสุทธิของผู้อื่นเป็นฐานคำนวณ ต้องใช้ตามความเป็นจริงหรือประเมินตามมาตรา 71(1)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเยี่ยงโจทก์เสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยนั้นเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าวหมายถึงเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ตรงกันข้ามในมาตรา 76 ทวิ วรรคสองนั้นเอง เป็นบทบัญญัติที่เป็นทางแก้สำหรับกรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามวรรคแรก โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาใช้บังคับคือให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิ 21.87เปอร์เซ็นต์มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวร - การมีอำนาจเจรจาและทำสัญญา - ความตกลงภาษีซ้อน
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆ แทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด บริษัทต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัท แอลเอ็มอีริคสัน จำกัด ตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานประกอบการถาวรตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน การมีอำนาจเจรจาทำสัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ
โจทก์มิได้มีอำนาจทั่วไปในการเจรจาและตกลงทำสัญญาต่าง ๆแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสันจำกัดซึ่งเป็นวิสาหกิจของประเทศสวีเดนตั้งอยู่ในประเทศสวีเดนเป็นปกติวิสัย โจทก์จึงไม่เป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัดตามความตกลงว่าด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศสวีเดนเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน โจทก์จึงไม่มีภาระที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทแอลเอ็มอีริคสัน จำกัด