คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1129 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การประเมินราคาที่ดิน, รายได้จากการขายหุ้น, และการหลีกเลี่ยงภาษี
ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าทนายความคนก่อนขอถอนตัวยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ จำเลยแถลงคัดค้านว่าได้เตรียมพยานมาพร้อมแล้วไม่ควรให้เลื่อน ศาลภาษีอากรกลางให้เลื่อนสืบพยานจำเลยไปวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ครั้นถึงวันนัด โจทก์ขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าโจทก์เพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนก่อนที่ถอนตัว คดีมีเอกสารมาก ทนายความคนใหม่ไม่สามารถซักค้านพยานจำเลยได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลภาษีอากรกลางได้ให้โอกาสโจทก์เลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว แม้โจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ก็ชอบที่ทนายความคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัด หาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายความคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภาษีอากรกลาง พฤติการณ์ของโจทก์ จึงเป็นการประวิงคดี ทั้งคดีได้ความว่าทนายความคนใหม่ก็ได้ซักค้านพยานจำเลยทุกปากที่สืบไปครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.และตารางหนึ่งท้าย ป.วิ.พ.หาได้มีบทบังคับว่าในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใด จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้จึงเป็นคำฟ้องและฟ้องอุทธรณ์หลายข้อหาซึ่งแต่ละข้อหาสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี และจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีดังกล่าวรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้อง อุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
โจทก์ซื้อที่ดินจำนวน 66 โฉนด รวมเนื้องที่ 1128 ตารางวาและซื้อที่ดินอีกส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 1051 เนื้อที่ 189 ตารางวาจากบริษัท ส.แล้วเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 9 ปี และลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า51,000,000 บาท ก่อสร้างอาคารประกอบกิจการศูนย์อาหาร และต่อมาประสงค์จะขายต่อเอากำไร ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 และ 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องไปในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยมิได้นำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองก็รู้ดีว่า โจทก์ขายที่ดินไปในทางการค้าหรือหากำไร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการค้า แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นชำระภาษีการค้าเนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมายดีพอเชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร และได้ให้ความร่วมมือในชั้นตรวจสอบด้วยดีจึงมีเหตุอันควรผ่อนผันลดเบี้ยปรับภาษีการค้าลงคงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายก็ดี ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หามีผลผูกพันให้ศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2)
การประเมินภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เมื่อการโอนนั้นมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) สำหรับค่าตอบแทนการโอนที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเท่ากับราคาตารางวาละ 25,000 บาท นั้นเป็นการคิดคำนวณจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ส.บวกด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12 ต่อปี นับแต่วันที่บริษัท ส.ได้รับเงินไป ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ใช่ราคาตลาดของที่ดิน และเป็นการขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดราคาที่ดินตารางวาละ 160,000 บาท โดยเทียบเคียงกับราคาที่ดินซึ่งมีทำเลที่แตกต่างจากที่ดินตามฟ้องเป็นอย่างมาก และนำเอาจำนวนมูลค่าการลงทุนในศูนย์อาหารของโจทก์ ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนทิ้งรวมเข้าไปในการคำนวณด้วย ก็เป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ราคาตลาด
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสาม เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา และการคำนวณรายได้จากเงินปันผลหลังการขายหุ้น
การเรียกค่าขึ้นศาลต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ ในกรณีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา ย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ โดยต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไป โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องอุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดชอบค่าหุ้นค้างชำระ กรณีผู้รับโอนเป็นกรรมการบริษัท
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสามนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยกฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น
ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แม้ ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีก การที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจำเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 อีกด้วย บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1133 เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนนั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน (1) และ (2) ที่ให้รับผิดเฉพาะในหนี้ของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนโอน และให้รับผิดต่อเมื่อผู้ที่ยังถือหุ้นอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหนี้ของบริษัทกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ อันผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นและการพักการโอนหุ้น: การฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องอาศัยสถานะผู้ถือหุ้นที่ถูกต้อง
ในวันประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 จำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม โดยจำเลยปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อจะเรียกประชุมวิสามัย* โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ การประชุมวิสามัญครั้งที่ 3/2529 เป็นเพียงการลงมติรับรองมติของที่ประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 เป็นมติพิเศษ ซึ่งโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่ามีการนัดเรียกหรือประชุมหรือลงมติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอย่างไร โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นเรื่องที่ได้พิจารณากันในการประชุมครั้งก่อนมาขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ไม่ได้ การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้ และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยมีมติให้ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้แทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดชอบมูลค่าหุ้นค้างชำระ: การโอนหุ้นที่มีการลงนามพยานและประทับตราบริษัท ใช้ยันบริษัทได้
สัญญาโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ก. มีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยลงชื่อเป็นพยานพร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัทแม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นก็อาจนำการโอนหุ้นนั้นมาใช้ยันบริษัทจำเลยได้ไม่เป็นกรณีที่ต้องตก อยู่ ในบังคับของมาตรา 1129 วรรคสาม ความรับผิดของผู้โอนสำหรับจำนวนเงินในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1133 หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบต่อบริษัททั้งที่ได้โอนหุ้นนั้นไปและนำการโอนหุ้นนั้นมาใช้อ้างแก่บริษัทได้ตามมาตรา 1129วรรคสามไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่มีการลงนามและประทับตราจากกรรมการบริษัท ย่อมใช้ยันบริษัทได้ แม้ไม่ได้จดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้น
เมื่อการโอนหุ้นมีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทลงชื่อเป็นพยานพร้อมกับประทับตราสำคัญของบริษัท แม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น การโอนนั้นสามารถใช้ยันบริษัทได้ ไม่เป็นกรณีที่ต้องตกอยู่ในบังคับมาตรา 1129วรรคสาม ความรับผิดของผู้โอนสำหรับจำนวนเงินในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1133 นั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบต่อบริษัท ทั้งที่ได้โอนหุ้นนั้นไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น vs. การไม่จดแจ้งทะเบียน และความรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลย กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ