คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 145

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาและการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่งและบำเหน็จค่านายหน้าไม่เกิด
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส.และล.เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส.2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส.2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการประมูลและการผิดสัญญา: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้ำประกัน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแก่ผู้ซื้อ โดยไม่งดการขายทอดตลาดไว้รอพิจารณาคำขอประนอมหนี้ตามคำขอของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยประวิงคดี ขอให้ยกคำร้องของจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยและ ส.ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงกันว่า ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงวางเงิน 100,000 บาทให้ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดรับไปเป็นค่าเสียหาย เพื่อจะได้ไม่คัดค้านที่จะมีการขายทอดตลาดใหม่ มิใช่เป็นการตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดสละสิทธิในที่ประมูลซื้อได้ในครั้งก่อน เพราะการที่ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงจะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทครั้งใหม่ในราคาไม่ต่ำกว่า 18,000,000 บาทนั้น จะต้องจัดหาธนาคารมาค้ำประกันจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายแก่กองทรัพย์สินหากผู้ซื้อรายใหม่เข้าสู้ราคาต่ำกว่า 18,000,000 บาท ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องปฏิบัติก่อน เมื่อผู้ซื้อรายใหม่ไม่สามารถหาธนาคารมาค้ำประกันได้ จึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงศาลต้องจำหน่ายคำร้องของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน หากเงื่อนไขไม่สำเร็จ นายหน้าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
จำเลยทั้งสามทำสัญญาจะขายที่ดินให้ผู้จะซื้อโดยตกลงกันว่าที่ดินที่จะซื้อขายยังมีคดีพิพาทอยู่กับบุคคลภายนอก ถ้าคดีถึงที่สุดเมื่อใดไม่ว่าจะโดยคำพิพากษาของศาลหรือโดยการประนีประนอมยอมความ ถ้าผู้ขายชนะคดีและมีสิทธิแต่ฝ่ายเดียว ผู้ขายจะแจ้งยืนยันให้ผู้ซื้อทราบ ถ้าผู้ขายไม่มีสิทธิตามกฎหมายโดยผลแห่งคำพิพากษา ผู้ขายจะคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จ ได้มีการเลิกสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าให้กับการซื้อขายดังกล่าว เมื่อข้อตกลงการเป็นนายหน้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาบำเหน็จค่านายหน้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: เงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้ การตีความสัญญา
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความเงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายทันที เมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของจำเลยแม้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้พิจารณา ใหม่ของจำเลยแล้ว คำสั่ง ศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดย่อมมีผลบังคับได้ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 จึงไม่กระทบกระเทือนในการที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินคดีล้มละลายต่อไปตามขั้นตอนเนื่องจากคดีล้มละลายจะต้องกระทำโดยเร่งด่วนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาคดีถึงที่สุดโดยให้พิจารณา ใหม่ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็เป็นอันเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 153 และคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายก็เป็นอันเพิกถอนไปด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการล้มละลายเริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 62.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยผลของคำพิพากษา แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อผู้รับโอนที่ดิน
โจทก์มีกรณีพิพาทกับ ป. ในที่ดินแปลงพิพาทแล้วตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ ป. และป.ยอมให้ที่ดินแปลงพิพาทรับภาระใช้เป็นที่สัญจรของโจทก์ ประชาชนและรถยนต์เข้าออกโรงภาพยนตร์ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมา ป. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยและจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินแปลงพิพาท ทำให้ทางเข้าออกแคบโจทก์และประชาชนไม่ได้รับความสะดวก โจทก์ได้รับความเสียหายดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิในภาระจำยอมตามคำพิพากษาได้ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินแปลงพิพาทจะกระทำการใดให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิในภาระจำยอมดังกล่าวหาได้ไม่จึงต้องรื้อถอนแผงขายสินค้าและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตั้งแผงขายสินค้าบนที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิใช้เป็นทางสัญจร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรื้อถอนแผงสินค้านั้นไป จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น แม้จะมีการปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดกันเองและเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งคดีไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างหรือตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่1สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่1จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญาการที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ก็เนื่องจากบริษัทน.และจำเลยที่1ตกลงเลิกสัญญากันไม่ทำให้จำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่าจำเลยที่1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่1ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่นหรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาสำเร็จผล แม้ไม่มีโอนกรรมสิทธิ์ การเลิกสัญญายังต้องชำระ
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน
of 7