พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการลดอัตราดอกเบี้ยตามข้อบังคับธนาคาร กรณีผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ธนาคารไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปี ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปีตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปี จึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31(ข) โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แม้ผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน โจทก์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปีต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปีจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31 (ข)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน: การจดทะเบียนเช่าเป็นสำคัญ
จำเลยประสงค์จะให้เช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเกิน 3 ปีจึงระบุในสัญญาว่าจำเลยมอบให้โจทก์ไปจัดการให้จดทะเบียนณ สำนักงานที่ดิน แล้วจำเลยยอมจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 5% ของเงินดังกล่าวโดยจ่ายให้ในวันจดทะเบียนที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน จึงเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน คือถือการจดทะเบียนการเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าที่สำนักงานที่ดินเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการเป็นนายหน้า เมื่อยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าเพราะผู้เช่าผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกค่านายหน้าจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง ถือเป็นสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับสงเคราะห์พนักงานเป็นสัญญาทางแรงงาน ข้อกำหนดจ่ายบำเหน็จไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อต่อสู้เรื่องการซื้อขายไม่มีผลบังคับทำให้เช็คขาดอายุความ ผู้ทรงเช็คต้องพิสูจน์มูลหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยให้การว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ป. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับที่ดิน ป. เอาเช็คดังกล่าวไปชำระให้โจทก์เป็นค่าซื้อหิน 2 ก้อน ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเหล็กไหลโดยมีเงื่อนไขว่า ป. ขอนำหินดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ก่อนว่าใช่เหล็กไหลหรือไม่ ถ้าใช่จึงจะรับซื้อ ถ้าไม่ใช่จะเอามาคืนและรับเช็คคืน ผลการพิสูจน์ปรากฏว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายไม่เกิดขึ้น โจทก์ต้องคืนเช็คให้ป. จึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้ เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คพิพาทมาไว้ในความครอบครอง อันเนื่องมาจากการซื้อขายดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรง เพราะไม่มีมูลหนี้นั่นเอง อันเป็นการยกข้อต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน มิใช่ข้อต่อสู้ที่จำเลยมีต่อผู้ทรงคนก่อนๆ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 คดีย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับการซื้อขายเหล็กไหล ว่า วัตถุ 2 ก้อนที่โจทก์ขายนั้นเป็นเหล็กไหลหรือไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายเหล็กไหลก็ไม่มีต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้จำเลยไม่ได้ลงนาม ก็มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อมาสด้าแบบเก๋งจากบริษัทจำเลย และยังได้ทำหนังสือรับรองให้จำเลยยึดถือไว้มีความตอนแรกว่า"...นอกจากข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าขอรับรองต่อบริษัทฯ ตามเงื่อนไขแห่งข้อความต่อไปนี้อีกด้วยคือ..."และข้อ 2 แห่งหนังสือรับรองก็ว่า "เนื่องจากราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อนี้บริษัทฯ ได้คิดให้ข้าพเจ้าในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายทั่วไป ดังนั้นในระหว่างอายุแห่งสัญญาเช่าซื้อยังไม่ครบกำหนด ข้าพเจ้าจะไม่นำรถคันที่เช่าซื้อนี้โอนให้แก่บุคคลภายนอกไม่ว่าโดยนิตินัยหรือพฤตินัยเป็นอันขาด และหากข้าพเจ้าจะต้องออกจากงานของบริษัทไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ข้าพเจ้าจะต้องจัดการชำระค่าเช่าซื้อที่ติดค้างทั้งหมดแก่บริษัทฯ ทันที หรือจะต้องเพิ่มราคาค่าเช่าซื้อตามจำนวนที่บริษัทฯ ได้ลดให้และจัดหาหลักประกันให้แก่บริษัทฯ จนเป็นที่พอใจแล้วแต่กรณี" และในข้อ 3มีข้อความว่า "ให้ถือเอาเงื่อนไขแห่งหนังสือนี้ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญาเช่าซื้อฉบับลงวันที่ 11 เดือยเมษายน พ.ศ. 2512 โดยเป็นสารสำคัญอันเป็นเหตุให้บริษัทฯ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ เดือนเมษายนพ.ศ. 2512 โดยเป็นสารสำคัญอันเป็นเหตุให้บริษัทฯ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ในกรณีที่ข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญานี้" จากข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแล้วนี้ ล้วนแต่เป็นเงื่อนไขที่โจทก์สมัครใจยินยอมผูกพันตนกับจำเลยเองและยอมรับเอาผลที่จะเกิดจากการแสดงเจตนาตามข้อความในหนังสือรับรองนั้น ดังนั้นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหนังสือรับรองดังกล่าว แม้จำเลยจะมิได้เซ็นชื่อในหนังสือนั้นก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงกับโจทก์ตามนั้น เพราะจำเลยเป็นฝ่ายยึดถือหนังสือรับรองนี้ไว้ และยังถือได้อีกว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเงื่อนไขอันหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อด้วยเมื่อสัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ ข้อความตามหนังสือรับรองก็ใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันการชำระเบี้ยประกัน และผลกระทบต่อความมีผลบังคับของกรมธรรม์ประกันชีวิต
ป.ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทจำเลย กำหนดชำระเบี้ยประกันปีละ 2 งวด หากไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด บริษัทจำเลยจะผ่อนเวลาให้อีก 30 วันโดยไม่คิดดอกเบี้ย ป.ชำระเบี้ยประกันแล้ว 3 งวด งวดที่ 4 ป.ไม่ได้ชำระภายในกำหนดหรือภายในเวลา 30 วันที่ผ่อนผันให้ตามกรมธรรม์ แต่ชำระให้หลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้ว 1 เดือนเศษ ทั้งยังชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้าต่อไปอีก 1 เดือนเศษด้วย บริษัทจำเลยก็ยังตกลงรับเบี้ยประกันงวดนั้น ต่อมาในงวดที่ 5 ป.ก็ชำระหลังจากระยะเวลาที่ผ่อนผันให้นั้นล่วงเลยไปแล้วประมาณ 10 วัน และชำระด้วยเช็คซึ่งลงวันที่ล่วงหน้า 1 เดือนเศษ โดยชำระแก่ผู้แทนของบริษัทจำเลยเมื่อบริษัทจำเลยทราบมิได้ทักท้วงประการใด แม้ตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่ผ่อนให้ กรมธรรม์ย่อมขาดอายุและไม่มีผลบังคับ แต่พฤติการณ์ดังกล่าวของบริษัทจำเลยนั้น เห็นได้ว่าบริษัทจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การที่บริษัทจำเลยไม่ทักท้วงในการที่ผู้แทนของบริษัทจำเลยรับชำระเบี้ยประกันงวดที่ 5 ที่ ป.ชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าเช่นนี้ เท่ากับบริษัทจำเลยยอมสละเงื่อนไขดังกล่าวโดยผ่อนผันให้ ป.ชำระเบี้ยประกันงวดนี้ไปจนถึงวันที่ลงในเช็ค กรมธรรม์ประกันชีวิตจึงไม่ขาดอายุและยังมีผลบังคับอยู่ แม้ ป.จะตายก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดชำระ ก็ไม่ทำให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือไม่มีผลบังคับ บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์