พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซ่อมแซมแล้วเข้าอยู่: สิทธิผู้เช่ายังคงมีอยู่แม้คนกลางปฏิเสธกำหนดค่าเช่า ผู้ให้เช่าผิดสัญญาเมื่อให้ผู้อื่นเช่า
ผู้เช่าและผู้ให้เช่าทำสัญญายอมความกันว่า ผู้เช่ายอมออกจากห้องเช่าชั่วคราวเพื่อให้เจ้าของห้อง คือผู้ให้เช่าทำการซ่อมแซมห้องเช่าเมื่อซ่อมแล้ว ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าเข้ามาอยู่ในห้องที่เคยเช่าได้ ส่วนอัตราค่าเช่าตกลงกันให้คนกลางกำหนด ดังนี้ เป็นสัญญากันครบถ้วนตั้งแต่วันทำสัญญายอมความกันแล้ว
แม้คนกลางจะไม่ยอมเป็นผู้กำหนดอัตราค่าเช่าให้สิทธิของผู้เช่าที่จะเข้าอยู่ในห้องพิพาทก็ยังคงมีอยู่ส่วนอัตราค่าเช่าคู่กรณีมีทางที่จะขอให้ศาลชี้ขาดได้ฉะนั้นเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าได้นำห้องพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าเสียผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าจะฟ้องศาลขอเข้าอยู่ในห้องพิพาทนั้นบุคคลภายนอกได้เข้าอยู่เสียแล้วจึงเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ผู้เช่าคงฟ้องได้แต่เรียกค่าเสียหายจากผู้ให้เช่า
แม้คนกลางจะไม่ยอมเป็นผู้กำหนดอัตราค่าเช่าให้สิทธิของผู้เช่าที่จะเข้าอยู่ในห้องพิพาทก็ยังคงมีอยู่ส่วนอัตราค่าเช่าคู่กรณีมีทางที่จะขอให้ศาลชี้ขาดได้ฉะนั้นเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าได้นำห้องพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าเสียผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าจะฟ้องศาลขอเข้าอยู่ในห้องพิพาทนั้นบุคคลภายนอกได้เข้าอยู่เสียแล้วจึงเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ผู้เช่าคงฟ้องได้แต่เรียกค่าเสียหายจากผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วม vs. เจ้าของทรัพย์สินที่มีส่วนแบ่งชัดเจน, สิทธิในการบังคับขายตามสัญญา, และเบี้ยปรับ
เจ้าของรวมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1357 นั้น ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สสินอันรวมกันไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้น ๆ กฎหมายจึงสันนิษฐษนไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไร ชัดแจ้งแล้ว เช่นนี้ หาใช่ เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมานั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อขายกันในวันมาทำการจะทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยแรับชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้
(อ้างฎีกาที่ 131 / 1449)
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไร ชัดแจ้งแล้ว เช่นนี้ หาใช่ เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมานั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อขายกันในวันมาทำการจะทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยแรับชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้
(อ้างฎีกาที่ 131 / 1449)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขห้ามโอนกรรมสิทธิในที่ดินพระราชทานต้องตีความอย่างเคร่งครัด และมีขอบเขตจำกัดเฉพาะเงื่อนไขที่ระบุไว้
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมฤดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีที,วอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า "..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน.." นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า " เรื่องเช่นนี้ " จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชการใด ๆ นั้นหาได้ไม่
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมฤดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีที,วอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า "..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน.." นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า " เรื่องเช่นนี้ " จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชการใด ๆ นั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน: การตีความต้องจำกัด และมีข้อแตกต่างตามแต่ละรัชกาล
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขพินัยกรรม: การไม่ทราบเงื่อนไขของผู้รับ ไม่ทำให้การวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงตามความประสงค์ผู้ทำพินัยกรรม
เจ้าของพินัยกรรมผู้ให้ระบุเงื่อนไขไว้ในพินัยกรรมว่า ให้มารดาของผู้รับเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามสัญญากลัดต่อท้ายพินัยกรรมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทำพินัยกรรมฉบับนั้น แม้มารดาของผู้รับ และผู้รับจะไม่ทราบเงื่อนไขนี้ก็ตาม เมื่อปรากฏว่ามารดาของผู้รับมิได้เซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวไว้ในพินัยกรรมแล้ว ผู้รับก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขพินัยกรรม: การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขทำให้เสียสิทธิรับมรดก แม้ผู้รับไม่ทราบเงื่อนไข
เจ้าของพินัยกรรม์ผู้ให้ระบุเงื่อนไขไว้ในพินัยกรรม์ว่าให้มารดาของผู้รับเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม สัญญากลัดต่อท้ายพินัยกรรม์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทำพินัยกรรม์ฉะบับนั้น แม้มารดาของผู้รับและผู้รับจะไม่ทราบเงื่อนไขนี้ก็ตาม เมื่อปรากฎว่ามารดาของผู้รับมิได้เซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวไว้ในพินัยกรรม์แล้ว ผู้รับก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามที่พินัยกรรม์กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นยังไม่สมบูรณ์-สัญญาต่างตอบแทนไม่เป็นผลเมื่อไม่สมรส: สิทธิเรียกร้องที่นา
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่ โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่มีโฉนดแล้วแต่ยังไม่ได้มอบหมายแบ่งแยกออกเป็นส่วนสัดให้เป็นของหมั้นแก่หญิง ต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้ก็เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สร้อยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้/หมั้นที่ยังไม่สมบูรณ์: ข้อกำหนดเรื่องการสมรสตามกฎหมายและการไม่เป็นไปตามเจตนาเดิม
พ่อแม่ฝ่ายชายทำสัญญายกที่นา 10 ไร่โดยแบ่งออกจากนาแปลงใหญ่ + ให้เป็นของหมั้นแก่หญิงต่อมาหญิงชายได้แต่งงานอยู่กินด้วยกันที่บ้านชายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้นตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1436 หญิงจะฟ้องเรียกนา 10 ไร่นี้ในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้ หากจะถือว่าเป็นสัญญาให้ที่มีการตอบแทน จุดประสงค์ของผู้ให้เพื่อให้คู่สมรสได้ใช้สรอยทำกินด้วยกันเป็นสำคัญ เมื่อหญิงกับชายไม่ได้สมรสกันโดยถูกต้องตาม ก.ม.แล้วและบัดนี้ยังแยกไม่ได้อยู่กินด้วยกันอีก ก็นับว่าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ให้ จึงไม่มีเหตุที่หญิงจะเรียกร้องเอานานี้ได้ส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อที่ดินร่วมกับเงื่อนไขการโอน และผลกระทบต่อสิทธิเจ้าของเมื่อมีการโอนโดยไม่สุจริต
โจทก์ออกเงินซื้อที่ดินร่วมกับจำเลยโดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียกร้อยแล้ว จำเลยจะโอนโฉนดใส่ชื่อโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้หาเป็นสัญญาที่ผิดกฎหมายไม่และต่อมาเมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อที่ดินร่วมกับเงื่อนไขการโอนสิทธิ - การโอนโดยไม่สุจริตไม่กระทบสิทธิเจ้าของร่วม
โจทก์ออกเงินซื้อที่ดินร่วมกับจำเลยโดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยจะโอนโฉนดใส่ชื่อโจทก์ร่วมด้วย ดังนี้ หาเป็นสัญญาที่ผิดกฎหมายไม่ และต่อมาเมื่อสามีโจทก์แปลงชาติเป็นไทยได้เรียบร้อยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น