พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงทำลายทรัพย์สิน: ลดโทษจำเลยวัยรุ่นเนื่องจากเหตุผลและพฤติการณ์
ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องชาวบ้านมาชุมนุมกันประมาณ 600 ถึง 800 คนเพื่อขอให้ย้ายสถานีทดลองยางออกไปจากพื้นที่เกิดเหตุ เนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ แสดงว่าประชาชนที่มาชุมนุมนั้นได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บางส่วนที่จะใช้เป็นสถานีทดลองยางเป็นที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ในวันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจประมาณ 150 คน เมื่อประชาชนพูดโจมตีด้วยเครื่องขยายเสียงเจ้าพนักงานตำรวจจึงให้หัวหน้าสถานีทดลองยางไปแก้ข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มาชุมนุมแต่เจรจาตกลงกันไม่ได้ ระหว่างเจรจามีประชาชนคนหนึ่งนำไม้ไปตีตุ่มน้ำและเสาของโรงเรือนเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีความวุ่นวายโดยประชาชนเริ่มปาสิ่งของแล้วจุดคบเพลิงปาไปที่หลังคาจาก ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เริ่มก่อเหตุวุ่นวายขึ้น จำเลยเพียงร่วมอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มาชุมนุมและร่วมกับประชาชนอื่นอีกเป็นจำนวนมากก่อเหตุร้าย ผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเพียงคนเดียว ทั้งจำเลยอายุเพียง17 ปีเศษ อยู่ในเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในที่เลี้ยงสัตว์และไม่พอใจทางราชการย่อมเป็นการยากที่จะใช้สติในวัยเช่นนั้นยับยั้งชั่งใจไม่ร่วมกับเหตุการณ์หรือห้ามปรามประชาชนไม่ให้ก่อเหตุร้าย จึงมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา โดยกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขออนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าเป็นการจงใจ ขาดนัดและไม่มีเหตุสมควร ยกคำร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่ง ไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดแห่งคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)