พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าสงวน: จำเลยต้องมีเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพียงรับจ้างทำงาน
ในชั้นสอบสวนกับชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ และไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยเข้าไปใส่ปุ๋ยหรือดูแลรักษาต้นยางพาราในสวนยางพาราที่เกิดเหตุก่อนหน้านี้หรือไม่และทำมานานเท่าใด กรณีอาจเป็นเรื่องที่จำเลยอาจจะรับจ้างใส่ปุ๋ยเมื่อใส่เสร็จแล้วจำเลยก็หมดภาระหน้าที่ โดยมิได้ครอบครองพื้นที่เกิดเหตุด้วยก็เป็นได้คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราที่เกิดเหตุเพื่อผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ
คำขอท้ายฟ้องขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้
คำขอท้ายฟ้องขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาและการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีป่าไม้ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
จำเลยฎีกาขอให้สั่งคืนของกลางให้แก่จำเลย ในทำนองว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ควรริบของกลาง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้โดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานก่นสร้างแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด เมื่อโทษดังกล่าวต่างมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานก่นสร้างแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,73 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด เมื่อโทษดังกล่าวต่างมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ การรับฟังพยานหลักฐาน และการรอการลงโทษ
ในคดีอาญา กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานเท่านั้น ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่อย่างใดเพียงแต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังว่าคำซัดทอดนั้นมิได้เกิดจากเจตนาเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้ประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ด้วย ในชั้นสอบสวน ไม่มีการกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาแก่ อ. ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า อ. ทราบดีว่าที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติถือได้ว่า อ. เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เกิดจากความเข้าใจของจำเลยมิได้เกิดจากการสอบสวน อ. จึงมิใช่ผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดในคดีนี้ คำเบิกความของ อ. ไม่ถือเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิด
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเจตนา: การไถดินในพื้นที่ครอบครองตามปกติ ไม่เป็นความผิดป่าสงวน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติชื่อป่าขุนซ่องซึ่งการกำหนดเขตป่าสงวนดังกล่าวได้ออกเป็นกฎกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งได้ปิดประกาศให้ ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เขตป่าสงวนแห่งชาติ บริเวณนี้มีราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่ทั่วไป โดยทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังและไร่ต้นยูคาลิปตัส ซึ่งทางกรมป่าไม้และ ฝ่ายปกครองอนุโลมผ่อนผันให้ราษฎรที่ทำประโยชน์อยู่แล้วได้ทำ ประโยชน์ต่อไปเป็นแต่ไม่ให้บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะได้รับหนังสือสิทธิทำกิน บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ผ่านการทำประโยชน์มาแล้ว สภาพทั่วไปมีแต่กิ่งไม้ ตอไม้จะมีต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นต้นเล็ก ๆ แสดงว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็น ที่ดินที่ได้รับการผ่อนผันให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นคนอยู่นอกพื้นที่ห่างไกลจากเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณ ที่เกิดเหตุมีอาชีพรับจ้างขับรถ แบคโฮ ขุดสระน้ำและไถดิน เมื่อ จำเลยที่ 3 ว่าจ้างมาขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ทั้งบริเวณใกล้เคียงก็ล้วนเป็นที่ดินทำไร่มีผู้ครอบครอง หลังจากขุด สระน้ำให้จำเลยที่ 3 เสร็จแล้วก็ถูกว่าจ้างให้เข้าไปไถในบริเวณ ที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับที่ดินไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 อีก ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุ เป็นที่ดินที่มีผู้ครอบครองที่จะนำรถขุดเข้าไปไถได้เช่นที่ จำเลยที่ 3 ให้ขุดสระน้ำในไร่อ้อยของจำเลยที่ 3 ซึ่งในชั้นจับกุม และชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ก็ให้การยืนยันว่ามีผู้ว่าจ้าง ให้เข้าไปไถดินในบริเวณที่เกิดเหตุ ทำให้เห็นว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำไปโดยสำคัญผิดเข้าใจว่าสามารถที่จะเข้าไปไถที่บริเวณที่เกิดเหตุได้ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทบัญญัติศุลกากรที่ถูกต้อง และการแก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินบนรางวัล
การที่จำเลยที่ 2 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยยังมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ อันเป็นความผิดสำเร็จในตัวอยู่แล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 กับพวกนำเลื่อยยนต์ของกลางไปบุกรุกแผ้วถางป่าโดยมิได้รับอนุญาตย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี วรรคหนึ่ง,74,74 ทวิ อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิด 2 กรรม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 66,768 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27 ทวิ เป็นการปรับเป็นเงิน 4 เท่า โดยรวมค่าอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเจ็ดเข้าไปด้วยซึ่งไม่ถูกต้องเพราะตามกฎหมายให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึง ค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยแก้เป็นปรับ 63,128 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองป่าสงวนหลังประกาศเขต – เจตนาบุกรุก – การซื้อสิทธิครอบครองจากผู้อื่น
แม้จำเลยจะซื้อสิทธิครอบครองที่ดินจากบุคคลผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่ทางการจะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นเพียงแสดงว่าเฉพาะตัวผู้ที่ขายสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยขาดเจตนาที่จะบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยซื้อได้มีกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่12มิถุนายน2529จำเลยเบิกความว่าได้ซื้อมาระหว่างปีพ.ศ.2530ถึงปี2535จึงเป็นระยะเวลาที่รัฐประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วและจำเลยก็ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา54ซึ่งบัญญัติห้ามยึดถือครอบครองป่าเช่นกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม กรณีโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วในคดีบุกรุกป่า
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 3 ปีแต่ให้ลงโทษปรับ 10,000 บาท แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากป่าก็มิใช่โทษที่ลงแก่จำเลย แต่เป็นการสั่งไปตามที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 72 ตรีให้อำนาจไว้ คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินจำนวน 19 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา แต่เป็นที่ดินมี ส.ค.1มาก่อนแล้วร่วม 3 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส่วนที่ดินที่เหลืออีก 16 ไร่ 20 ตารางวา จำเลยไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินหรือผู้มีสิทธิคนเดิมมาแสดง จึงเป็นที่ป่าตามความหมายในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1) เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินอันเป็นที่ป่า จำเลยจึงมีความผิดฐานเข้ายึดถือครอบครองป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54,72 ตรี การที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ทั้งหมดมีผู้อื่นครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนแล้วและเป็นที่ดินที่มีส.ค. 1 แล้วทั้งหมด จำเลยเพียงแต่ซื้อมาจากเจ้าของเดิมและสืบสิทธิครอบครองต่อ ไม่ใช่เป็นการเข้าครอบครองที่ป่าเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 219