พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งศาลล่างเรื่องอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. และเด็กชาย ศ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเป็นการชั่วคราวโดยเป็นการทดลองปกครองเลี้ยงดู ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้พิพากษาแก้ไขในส่วนนี้ แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. แต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ศ. แต่เพียงผู้เดียวแยกออกจากกันเช่นนี้แล้ว ย่อมมีผลทำให้คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการชั่วคราวนั้น ไม่อาจบังคับได้ต่อไป เนี่องจากต้องปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่หากจะจำหน่ายคดีโดยยังคงผลของคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้ในคดีนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 แยกกันใช้อำนาจในการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง จึงเห็นสมควรแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องเสียด้วย พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง แล้วให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์ฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องแล้ว เห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งมิได้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ทั้งสี่โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเป็นการละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ พิพากษายกฟ้องและยกคำขอในส่วนแพ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วนำข้อเท็จจริงในฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องส่วนแพ่งและพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2) ประกอบพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มีผลเป็นการพิพากษาคดีส่วนแพ่งแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเจ้าหนี้ซ้ำ ศาลวินิจฉัยเป็นกระบวนการซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องย่อมมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำร้องในวันนัดไต่สวน อันเป็นการสืบพยานเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี มิใช่การสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่โจทก์และจำเลยพิพาทกัน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดที่ศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 มาใช้บังคับดังที่ผู้ร้องฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาไต่สวนให้ได้ความตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิฉบับนี้โดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ อันเป็นเหตุเดียวกันกับคำร้องฉบับก่อนที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9835/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์/ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ถือเป็นคำฟ้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาล การยื่นคำร้องซ้ำถือเป็นกระบวนการไม่ถูกต้อง
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่า กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นของจำเลย ไม่ได้ตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด ยกคำร้องขอ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้แก่ผู้ร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแล้ว แทนที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น แต่ผู้ร้องกลับเลือกที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดของผู้ร้องเอง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้คืนเงินค่าธรรมเนียมศาลครั้งแรกแก่ผู้ร้องนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 168 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอให้บังคับใช้มาตรการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายใน และการใช้ดุลพินิจของศาล
ตามความในมาตรา 23 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 บัญญัติว่า "การดำเนินคดีใดๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหมวดนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. หรือ ป.วิ.อ. แล้วแต่กรณี ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนด ประกาศหรือคำสั่ง หรือกระทำการนั้น มาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงานหรือแสดงเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย" จึงเห็นได้ว่า ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาคำร้องของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับคดีการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้ โดยให้เรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนดมาชี้แจงข้อเท็จจริง รายงานหรือแสดงเหตุผลประกอบการสั่งได้ โดยไม่จำต้องสั่งรับคำร้องของผู้ร้องก่อนก็ได้ ทั้งยังสามารถที่จะเรียกไต่สวนพยานผู้ร้องฝ่ายเดียวเพื่อประกอบการพิจารณาได้โดยไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงฝ่ายอื่นก็ได้ เพราะเป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แล้ว นอกจากนี้ยังให้อำนาจศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. ทั้งนี้ในมาตรา 254 (2) แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (3)
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อบังคับให้ผู้คัดค้านทั้งสองกับกลุ่มบุคคล 3 คน และพวกที่เข้าร่วมชุมนุมทั้งหมดออกไปจากสถานที่ตามคำขอในคำร้อง ดังนั้น การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. เพื่อบังคับตามคำร้องดังกล่าวข้างต้นโดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 23 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเรียกไต่สวนและเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่อ้างในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งว่ากรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องมาใช้สิทธิทางศาล แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในเนื้อหาหรือประเด็นแห่งคดีตามคำร้อง ตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีดังกล่าวมิใช่เพียงการไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีด้วยเสมอ การไม่มีคำสั่ง
ในเรื่องนี้ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อบังคับให้ผู้คัดค้านทั้งสองกับกลุ่มบุคคล 3 คน และพวกที่เข้าร่วมชุมนุมทั้งหมดออกไปจากสถานที่ตามคำขอในคำร้อง ดังนั้น การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. เพื่อบังคับตามคำร้องดังกล่าวข้างต้นโดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 23 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเรียกไต่สวนและเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่อ้างในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งว่ากรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องมาใช้สิทธิทางศาล แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในเนื้อหาหรือประเด็นแห่งคดีตามคำร้อง ตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีดังกล่าวมิใช่เพียงการไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีด้วยเสมอ การไม่มีคำสั่ง
ในเรื่องนี้ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า การหักชำระหนี้ ค่าเสียหาย และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลแก้ไขคำพิพากษา
พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2522 ที่ใช้บังคับขณะฟ้อง มาตรา 4 และมาตรา 19 แสดงว่าอธิการบดีซึ่งเป็นผู้แทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการทั่วไปแทนโจทก์ การฟ้องคดีเป็นสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม และความประสงค์ของนิติบุคคลแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลนั้น อธิการบดีผู้แทนของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีในนามโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากสภามหาวิทยาลัย
จำเลยยอมรับว่าได้เช่าอาคารพาณิชย์พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าอีก และหากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า กรณียังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีและเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) อันมีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังไม่รับคำฟ้อง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยกลับมาฟ้องแย้งคดีนี้มีรายละเอียดและเหตุผลอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่าแน่นอน จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ร. เป็นนิติกรของโจทก์มีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลสัญญาเช่าพิพาท ถือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับพยานเอกสารในคดีที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ คำเบิกความของ ร. จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
จำเลยได้ทราบถึงความมีอยู่ของสำนวนคดีที่ประสงค์อ้างเป็นพยานตั้งแต่ก่อนวันสืบพยาน แต่มาระบุอ้างเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า เอกสารที่จำเลยขอให้ศาลเรียกจากบุคคลภายนอกไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ขอให้เรียกมานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยในคดีจะต้องนำสืบหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสาร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว สำหรับเอกสารอื่นที่มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลย
สัญญาเช่า ข้อ 22 ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน หากไม่ดำเนินการผู้เช่ายินยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินวันละ 5,000 บาท ต่อคูหา นับแต่วันที่สัญญาเช่าระงับจนถึงวันที่ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนเสร็จเรียบร้อย หรือวันที่ผู้ให้เช่าได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแล้วแต่กรณี ถือว่าสัญญาเช่าได้กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการให้เช่าอาคารพาณิชย์บริเวณพิพาทเป็นคูหาละ 154,200 บาท ต่อเดือน ใกล้เคียงกับเบี้ยปรับตามสัญญา จึงชอบด้วยเหตุผล
จำเลยยอมรับว่าได้เช่าอาคารพาณิชย์พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าอีก และหากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า กรณียังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีและเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) อันมีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังไม่รับคำฟ้อง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยกลับมาฟ้องแย้งคดีนี้มีรายละเอียดและเหตุผลอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่าแน่นอน จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ร. เป็นนิติกรของโจทก์มีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลสัญญาเช่าพิพาท ถือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับพยานเอกสารในคดีที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ คำเบิกความของ ร. จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
จำเลยได้ทราบถึงความมีอยู่ของสำนวนคดีที่ประสงค์อ้างเป็นพยานตั้งแต่ก่อนวันสืบพยาน แต่มาระบุอ้างเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า เอกสารที่จำเลยขอให้ศาลเรียกจากบุคคลภายนอกไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ขอให้เรียกมานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยในคดีจะต้องนำสืบหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสาร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว สำหรับเอกสารอื่นที่มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลย
สัญญาเช่า ข้อ 22 ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน หากไม่ดำเนินการผู้เช่ายินยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินวันละ 5,000 บาท ต่อคูหา นับแต่วันที่สัญญาเช่าระงับจนถึงวันที่ผู้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนเสร็จเรียบร้อย หรือวันที่ผู้ให้เช่าได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแล้วแต่กรณี ถือว่าสัญญาเช่าได้กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการให้เช่าอาคารพาณิชย์บริเวณพิพาทเป็นคูหาละ 154,200 บาท ต่อเดือน ใกล้เคียงกับเบี้ยปรับตามสัญญา จึงชอบด้วยเหตุผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ หากเห็นว่าคดีไม่มีมูลความผิด
แม้คดีอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องพิจารณาว่าคดีโจทก์มีมูลพอที่จะประทับฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลยดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 167 ซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยการกระทำของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดี โดยเห็นว่าจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง คดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยทั้งหกรับผิด จึงพิพากษายกฟ้องและยกคำขอส่วนแพ่ง จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13387/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การพิจารณาจากสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้อง ไม่ใช่ชื่อคู่ความ หากฟ้องหน่วยงานที่ไม่มีสถานะนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ถูกฟ้องในสถานะใด มิใช่ดูเพียงชื่อในช่องคู่ความของคำฟ้องเท่านั้น ข้อสำคัญต้องพิจารณาจากเนื้อหาตามคำบรรยายฟ้องที่เป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่โจทก์ทั้งสองมุ่งประสงค์จะฟ้องและมีคำขอให้บังคับนั้นคือผู้ใด โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นส่วนราชการสังกัดหน่วยงานของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนและสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 มีผู้บริหารเรียกว่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี เป็นผู้กระทำการแทน ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการสังกัดหน่วยงานของจำเลยที่ 3 ชื่อว่า ธนารักษ์พื้นที่สิงห์บุรี เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 3 โดยมี ธนารักษ์พื้นที่สิงห์บุรีกระทำการแทน และบรรยายฟ้องตอนหนึ่งว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องไม่ใช่ที่ราชพัสดุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองไม่ได้นำชี้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งสี่ เป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงสถานะจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่า เป็นส่วนราชการ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมุ่งประสงค์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในฐานะเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามลำดับ หาใช่ฟ้องตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของจำเลยที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด เมื่อฎีกาของโจทก์ทั้งสองยอมรับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4
การที่ศาลนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2), 172 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4
การที่ศาลนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องมาวินิจฉัยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2), 172 วรรคสาม ไม่ใช่มีคำสั่งไม่รับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11727/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตุลาการมีอิสระในการพิจารณาคดี การฟ้องละเมิดจากคำสั่งศาลต้องเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือมิชอบ
โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งเป็นศาลยุติธรรม โดยยืนยันมาในคำฟ้องว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีปกครอง ซึ่งแสดงถึงเจตนาของโจทก์ทั้งสามว่าไม่มีความประสงค์ที่จะนำคดีนี้ไปฟ้องที่ศาลปกครอง และการพิจารณาวินิจฉัยคดีตลอดจนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางโดยจำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางตามที่โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น เป็นการใช้อำนาจตุลาการมิใช่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครอง คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งทางปกครองซึ่งไม่เข้ากรณีคดีพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) ถึง (6) คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 271 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุและขณะที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 233 อันเป็นบทบัญญัติในหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไป บัญญัติว่า "การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" ทั้งยังมีบทบัญญัติในส่วนเดียวกัน มาตรา 249 รับรองอำนาจอิสระในการทำหน้าที่ของศาลด้วย ดังนี้
"ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา"
ตามบทบัญญัติในมาตรา 233 และมาตรา 249 ดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบมาตรา 277 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทบัญญัติหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง ที่บัญญัติว่า "การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล" ย่อมมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองผู้พิพากษาและตุลาการในศาลทั้งหลายรวมทั้งตุลาการศาลปกครองให้สามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้อย่างมีอิสระ ปราศจากการแทรกแซงครอบงำของบุคคล องค์กร หรืออำนาจอื่นใดทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถดำรงสถานะของความเป็นกลางในการทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความในคดีได้อย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้อย่างเป็นอิสระไม่ต้องกังวลหวั่นเกรงว่าจะต้องรับผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาและตุลาการผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รอดพ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนั้น อำนาจในการวินิจฉัยประเด็นปัญหาแห่งคดีจึงเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ บุคคลใดจะฟ้องร้องให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการรับผิดจากการใช้อำนาจทางตุลาการไม่ได้ เว้นแต่การใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่เท่านั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ โจทก์ทั้งสามมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางพิจารณาออกคำสั่งและวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เพียงแต่กล่าวอ้างว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสี่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดี จำเลยทั้งสี่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีด้วยซึ่งเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 132 โดยชัดแจ้งเท่านั้น อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ทั้งสามไม่พอใจและไม่เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ก็ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อตรวจสอบทบทวนแก้ไขให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสามต่อไปได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 73 ประกอบ มาตรา 11 (4) ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์ทั้งสามบรรยายมาในฟ้องจึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสาม ประกอบมาตรา 131 (2)
"ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา"
ตามบทบัญญัติในมาตรา 233 และมาตรา 249 ดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบมาตรา 277 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทบัญญัติหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง ที่บัญญัติว่า "การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล" ย่อมมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองผู้พิพากษาและตุลาการในศาลทั้งหลายรวมทั้งตุลาการศาลปกครองให้สามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้อย่างมีอิสระ ปราศจากการแทรกแซงครอบงำของบุคคล องค์กร หรืออำนาจอื่นใดทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถดำรงสถานะของความเป็นกลางในการทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความในคดีได้อย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้อย่างเป็นอิสระไม่ต้องกังวลหวั่นเกรงว่าจะต้องรับผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาและตุลาการผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รอดพ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนั้น อำนาจในการวินิจฉัยประเด็นปัญหาแห่งคดีจึงเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ บุคคลใดจะฟ้องร้องให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการรับผิดจากการใช้อำนาจทางตุลาการไม่ได้ เว้นแต่การใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่เท่านั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ โจทก์ทั้งสามมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางพิจารณาออกคำสั่งและวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เพียงแต่กล่าวอ้างว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสี่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดี จำเลยทั้งสี่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีด้วยซึ่งเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 132 โดยชัดแจ้งเท่านั้น อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ทั้งสามไม่พอใจและไม่เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ก็ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อตรวจสอบทบทวนแก้ไขให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสามต่อไปได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 73 ประกอบ มาตรา 11 (4) ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์ทั้งสามบรรยายมาในฟ้องจึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสาม ประกอบมาตรา 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11417/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วนในการวินิจฉัยอำนาจการยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัดจำนวน 15,875,688.13 บาท ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วสั่งว่า ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัด ไม่รับคำร้อง เป็นการวินิจฉัยอำนาจในการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องว่าไม่มีอำนาจตามกฎหมาย อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว ซึ่งมีผลเป็นการพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ก่อน กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อปรากฏว่าในการสั่งคำร้องขอของศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาคนเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26