พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากพินัยกรรม: ที่ดินที่ได้มาขณะสมรสแม้ไม่มีระบุเป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรส
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรหรือสินส่วนตัวเมื่อปีพ.ศ 2509 ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากมรดกและทรัพย์สินที่ได้จากการขายมรดก แม้มีการหย่าขาด กรรมสิทธิ์ในสินสมรสยังคงอยู่
ผู้ร้องได้รับมรดกจากบิดาระหว่างสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มรดกที่ได้จึงเป็นสินสมรส การที่ผู้ร้องนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวไปซื้อที่ดินพิพาทภายหลังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แม้ต่อมาจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก็หากระทบกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ในที่ดินพิพาทใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากมรดก: ที่ดินที่ได้มาหลังสมรสด้วยเงินมรดกยังคงเป็นสินสมรส แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ บ. มารดาผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 บ.ได้จำนองไว้แก่ธนาคาร บ.ถึงแก่ความตายเมื่อพ.ศ. 2513 เมื่อ บ. ตายทรัพย์สินทั้งหมดก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททุกคนทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599ถือได้ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทใน พ.ศ. 2513 มาในระหว่างสมรสและผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิใช่กรณีที่ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463 และ 1464 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1466 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และตราบใดที่ยังไม่แบ่งทรัพย์มรดกผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์มรดกทั้งหลายย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาททุกคนร่วมกันผลประโยชน์ส่วนที่เป็นของผู้ร้องย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อีก ดังนั้นเงินที่ได้จากการขายพืชผลของสวนและนามรดกที่นำไปไถ่ถอนที่ดินพิพาทจากธนาคารย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ไม่ใช่สินส่วนตัวของผู้ร้องแม้ผู้จัดการมรดกของ บ.จะได้จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียวในพ.ศ. 2520ภายหลังจากพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งมรดกระหว่างทายาทมิใช่เป็นการได้รับทรัพย์มรดกอันจะเป็นสินส่วนตัวเพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1471(3) บัญญัติไว้ไม่ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 2บัญญัติไว้ว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อยู่ก่อนวันดังกล่าว แม้จะได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกก็ไม่กลับกลายเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง เพราะจะเป็นการใช้มาตรา 1471(3)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ย้อนหลังขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวทั้งความตามมาตรา 5 ก็มีความหมายเฉพาะว่า ความสมบูรณ์ของการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ไม่ถูกกระทบกระเทือน คือไม่เสื่อมเสียไปเท่านั้น ไม่ได้มีข้อความให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ย้อนหลังอันเป็นการยกเว้นความตามมาตรา 2 ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วจะถือว่าความสมบูรณ์ของการอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5ต้องถูกกระทบกระเทือนถึงคือต้องเปลี่ยนไปใช้กฎหมายใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดก: การเปลี่ยนแปลงสถานะหลังพ.ร.บ.ใหม่ และการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ผู้ร้องได้รับทรัพย์มรดกซึ่งรวมทั้งที่พิพาทมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นสามีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์มรดกอื่นส่วนที่เป็นของผู้ร้องย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกันดังนั้น แม้จะมีการนำเงินที่ได้จากการขายพืชผลของสวนและนา มรดกไปไถ่ถอนจำนองที่พิพาทและโอนที่พิพาทให้กับผู้ร้องในปี พ.ศ. 2520ภายหลังจาก พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ทำให้ที่พิพาทกลับกลายเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่พิพาทที่โจทก์นำยึด บทบัญญัติมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มีความหมายเฉพาะว่าความสมบูรณ์ของการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ไม่ถูกกระทบกระเทือน คือไม่เสื่อมเสียไปเท่านั้น ไม่ได้มีข้อความว่าให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ย้อนหลังอันเป็นการยกเว้นความตามมาตรา 2 แต่อย่างใด จะถือว่าความสมบูรณ์ของการอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 จะต้องถูกกระทบกระเทือนคือต้องเปลี่ยนไปใช้กฎหมายใหม่หาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้กฎหมายไม่ต้องด้วยความตามตัวอักษรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 และมาตรา 5 ดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การลงชื่อเป็นเจ้าของรวม, การโต้แย้งสิทธิ, อายุความ และบทบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีนี้จึงมีว่า ทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 นั้น กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์ได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรสจำเลยเพิกเฉย เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิม จึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1475 ย่อมมีอยู่ตลอดเวลาเท่าที่ยังเป็นสามีภริยากันไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสามีภริยาในสินสมรส: การขอลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วม แม้เวลาผ่านนาน และไม่ใช่ฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินแต่อย่างใด ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสประเด็นของคดีนี้จึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1475 นั้น เป็นการที่กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉยอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยนั้นมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้มา สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1475 นั้น เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสก็ยังมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวในคดีล้มละลาย พิจารณาจากสินเดิมและสินส่วนตัวระหว่างสมรส
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2522 โดยมีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังนี้ ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนที่จำเลยกับล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466 เดิม บัญญัติไว้ไม่.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ส. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462,1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล. จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115.
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส สินส่วนตัว และการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่ ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา14621463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5747/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากพฤติการณ์จงใจละทิ้งร้างและการแบ่งสินสมรสที่ดินที่ได้รับจากการยกให้
จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำให้จำเลยถูกบัตรสนเท่ห์ จึงทำร้ายโจทก์จนกระดูกซี่โครงร้าว แล้วออกจากบ้านไปอยู่กับภริยาเก่าโดยไม่กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลยแม้ปรากฏว่าจำเลยเคยช่วยออกค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ในบ้านโจทก์โดยฝากบุตรไปให้ แต่เมื่อพบกันก็ไม่พูดกัน ดังนี้ ถือว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ เมื่อเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4) ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยมารดายกให้โดยเสน่หาและให้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่อีก 3 คน ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ เมื่อการยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรส แม้ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปเป็นส่วนของโจทก์เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์หลังแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกทรัพย์สินระหว่างสินเดิม สินสมรส และการช่วงทรัพย์ในการแบ่งสินสมรส
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส. บิดามารดาของจำเลยที่ 1ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้น จึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไป และนำเงินที่ขายได้มาซื้อ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาทจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อนก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั่นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้าง จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม