พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานเป็นผลจากการโอนย้ายและหนังสือรับรองการจ้างงาน นายจ้างมีอำนาจเลิกจ้างเฉพาะตน
บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (ฮ่องกง) จำกัด บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด และจำเลย เป็นบริษัทในเครือเดียวกันแต่จดทะเบียนแยกต่างหากคนละประเทศกัน โจทก์เคยทำงานในบริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (ฮ่องกง) จำกัด ต่อมาโจทก์ได้รับการโอนย้ายมาทำงานกับจำเลย จากนั้นโจทก์ก็ได้รับการโอนย้ายมาทำงานในบริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด โดยโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยอมรับข้อเสนอการจ้างงานตามหนังสือแจ้งการโอนย้ายดังกล่าว ซึ่งในหนังสือมีข้อความระบุถึงสถานที่ทำงาน ตำแหน่งงานของโจทก์ รวมทั้งเงินเดือน เงินโบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พักอาศัย วันลาพักผ่อนประจำปี สวัสดิการอื่น การบอกเลิกสัญญาจ้างและอื่น ๆ หนังสือนี้จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด กับโจทก์ ดังนั้น บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ แม้ว่าบริษัทดังกล่าวทั้งสามจะเป็นบริษัทลูกซึ่งมีบริษัทแม่เดียวกัน แต่เมื่อต่างเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ย่อมมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดแยกต่างหากจากกัน เมื่อบริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นกรณีที่บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด ในฐานะนายจ้างบอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในขณะที่โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย ทั้งยังไม่มีข้อความหรือข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดว่า บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด ได้กระทำการแทนจำเลย จึงถือไม่ได้ว่า บริษัทเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน (สิงคโปร์) จำกัด ได้เลิกจ้างโจทก์แทนจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานนอกสถานที่และเวลาทำงาน: การพิจารณาค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานที่และลักษณะงานไม่แน่นอน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุรถยนต์ที่ประกันภัยไว้กับจำเลย จำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติ 8.30 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เวลาพักวันละ 1 ชั่วโมง วันทำงานปกติ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์วันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน การทำงานของโจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ณ สถานที่ทำการของจำเลยแต่จะประจำอยู่ที่บ้านโจทก์ เมื่อมีลูกค้าของจำเลยแจ้งต่อจำเลยว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำเลยจะโทรศัพท์แจ้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการตรวจสอบอุบัติเหตุ เมื่อดำเนินการเสร็จโจทก์เดินทางกลับบ้านเพื่อรอรับโทรศัพท์แจ้งเหตุรายต่อไป ในการตรวจสอบอุบัติเหตุแต่ละครั้ง โจทก์ต้องทำรายงานเพื่อส่งแก่จำเลย งานดังกล่าวของโจทก์จะมีขึ้นต่อเมื่อรถยนต์ที่ประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดอุบัติเหตุซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพที่ต้องออกไปทำนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (6) การที่โจทก์ประจำอยู่ที่บ้านแม้จะเตรียมพร้อมที่จะออกไปทำงานตรวจสอบอุบัติเหตุเมื่อได้รับแจ้งจากจำเลย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบอุบัติเหตุให้แก่จำเลยก็ยังถือว่าทำงานให้แก่จำเลยไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกับโจทก์ได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทำงานวันละกี่ชั่วโมง จึงต้องถือกำหนดเวลาทำงานแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 วรรคสอง โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานนอกเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 8.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงในวันใด จำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน: อายุความ, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในระหว่างทำงานให้แก่โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานให้แก่โจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หลายครั้ง โดยบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำความเสียหายเมื่อใด อย่างไร จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธว่าใบมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และศาลแรงงานกลางก็ไม่มีเหตุสงสัยว่า ไม่ใช่ใบอำนาจอันแท้จริงจึงเท่ากับจำเลยที่ 2 รับว่า ส. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ประกอบมาตรา 47 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่ลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้างนอกจากเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้างในระหว่างการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างแล้วยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานอีกด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งวางประกันในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: หลักฐานเบื้องต้นและการใช้ดุลพินิจ
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยนำเงินหรือหลักประกันมาวางศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนได้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องดังกล่าวไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติว่าหลักฐานเบื้องต้นนั้นจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มาจากการไต่สวนคำร้องที่ยื่น ดังนั้น คำร้องของจำเลยประกอบรายงานข้อเท็จจริงในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหลักฐานเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไต่ส่วนคำร้องของจำเลยเสียก่อน และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นชอบที่ยกคำร้องของจำเลยได้ และคำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการนอกเวลางาน: ไม่อยู่ในข้อยกเว้น พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบ
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวันและลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรมคือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ สำหรับพยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการนอกเวลาราชการเป็นลูกจ้างประกันสังคม: กรณีพยาบาลนอกเวลาที่ทำงานให้โรงพยาบาลเอกชน
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และ ราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ เมื่อฟังได้ว่าพยาบาลนอกเวลาแม้เป็นข้าราชการประจำ แต่ได้ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสอง พยาบาลนอกเวลา จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และเป็นลูกจ้างซึ่งต้องอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองผู้เป็นนายจ้างจึงต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบ กองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการทำงานพิเศษนอกเวลาราชการ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ พยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความใน มาตรา 4 (1) พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์จึงเป็นนายจ้างที่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายตำแหน่งงานที่ลดระดับและไม่เป็นธรรม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้นายจ้างจะมีอำนาจบริหารในการโยกย้ายตำแหน่งงานของลูกจ้างเพื่อให้เหมาะสมแก่งาน เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างมีประสิทธิภาพซึ่งมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างก็ตาม แต่การย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือค่าจ้างของลูกจ้าง อีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้างด้วย การที่จำเลยย้ายโจทก์ในตำแหน่งเลขานุการประสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ สาขาสุขาภิบาล 1 ของจำเลยซึ่งทำหน้าที่จัดเตรียมสินค้าและชั่งผลไม้ รวมทั้งทำความสะอาดในบริเวณสถานที่ซึ่งมีลักษณะงานที่ด้อยกว่าเดิม ทั้งเป็นการย้ายโจทก์จากตำแหน่งเลขานุการซึ่งเป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็นพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของโจทก์ลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิม ก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง จำเลยไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างผู้ประสบอันตรายในการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 บัญญัติให้สิทธิแก่นายจ้างที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ หาใช่บทบัญญัติที่จะตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายตามมาตรา 49 แต่ประการใด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายได้ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากจำเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้งการประสบอันตรายของโจทก์ต่อจำเลยตามมาตรา 48 แล้ว เมื่อจำเลยแจ้งมติของคณะอนุกรรมการการแพทย์ให้โจทก์ และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้นายจ้างของโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 52 แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามาตรา 52 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา 53