พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) ป.รัษฎากร เมื่อผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสารประกอบการตรวจสอบ
หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีให้กรรมการโจทก์ไปพบและส่งบัญชีพร้อมทั้งเอกสารไปให้ตรวจสอบ โจทก์ส่งสมุดบัญชีแยกประเภทไปให้จำเลยที่ 1 เพียง 1 เล่ม และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่าจะทำหนังสือขอให้เจ้าพนักงานประเมินไปตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ในสำนักงานของโจทก์ในภายหลัง แสดงว่าโจทก์ทราบดีว่ายังมีเอกสารที่จะต้องให้เจ้าพนักงานประเมินไปตรวจสอบอีก แต่โจทก์ก็ไม่ส่งไปให้ตรวจสอบ และมิได้แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินไปตรวจสอบ ณ สำนักงานของโจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์ไม่ส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 71 (1)
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการขายส่งสินค้าประเภทซึ่งเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่ายเช่นเดียวกับกิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซิเมนต์ เป็นต้น ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 เรื่อง ขอบเขตการใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ในกรณีของโจทก์ได้
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการขายส่งสินค้าประเภทซึ่งเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่ายเช่นเดียวกับกิจการขายส่งสุรา เบียร์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซิเมนต์ เป็นต้น ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 78/2541 เรื่อง ขอบเขตการใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงไม่อาจนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ในกรณีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9226/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากอาวุธปืน และการริบอาวุธปืนไม่มีทะเบียน
ความผิดฐานมีอาวุธปืน ฐานพาอาวุธปืน และฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ผู้กระทำมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละอันแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสามฐานนี้ในเวลาเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำเพียงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน ผู้ใดมีไว้ย่อมเป็นความผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบจึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 32 แม้จะมิได้ระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจนว่าเป็นการริบของกลางตามบทบัญญัติใด ก็ถือว่าได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้ศาลต้องยกบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการริบของกลางขึ้นปรับในคำพิพากษาด้วยแต่ประการใด
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน ผู้ใดมีไว้ย่อมเป็นความผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบจึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 32 แม้จะมิได้ระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจนว่าเป็นการริบของกลางตามบทบัญญัติใด ก็ถือว่าได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้ศาลต้องยกบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการริบของกลางขึ้นปรับในคำพิพากษาด้วยแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9225/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา หากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยเองก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด แต่จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงว่ามิได้กระทำผิดทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา และถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ดังนั้นที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบกระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำ: ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยใช้กระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำสำหรับซุกซ่อนธนบัตรที่ได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ใช้สำหรับซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ ของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 และ 33 (2) จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานสืบเสาะฯ และการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษ – ศาลมีอำนาจใช้รายงานได้หากจำเลยไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลล่างทั้งสองมีอำนาจที่จะหยิบยกเอารายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีเดิม: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีเฮโรอีนจำนวน 1 ถุง หนัก 347.340 กรัม ซึ่งมีน้ำหนักสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าคำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ได้ทั้งหมดเท่าใด จึงฟังได้เพียงว่า เฮโรอีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 20 กรัม โทษจำคุกต้องด้วย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ความผิดฐานปลอมเอกสาร: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการประนีประนอมยอมความในคดีก่อนหน้า
โจทก์ร่วมเคยร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินตามเช็คของโจทก์ร่วมไปจำนวน 3,000,000 บาทเศษ แล้วต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยและถอนคำร้องทุกข์ในคดีกังกล่าวไป ก็เพียงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายจากมูลละเมิดที่เกิดจากการปลอมเช็คและเบิกเงินตามเช็คไป ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีอาญาหลังประนีประนอมและฟ้องแพ่ง – ศาลมีอำนาจลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องไม่ตรงตาม ป.อ. มาตราที่ถูกต้อง
จำเลยปลอมเช็คของโจทก์ร่วมแล้วนำเช็คไปเบิกเงินและยักยอกเงินตามเช็คไป โจทก์ร่วมไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่โจทก์ร่วมนำมูลหนี้ตามเช็คไปฟ้องคดีแพ่งในมูลละเมิด ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วม คดีถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเช็คอันเป็นเอกสารสิทธิ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ดังนั้น เมื่อทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมสืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คและใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต: การจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีและหน้าที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้ผู้รับจ้างลาป่วย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย