พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ทั้งหมดของผู้จำนองร่วม แม้จะชำระหนี้บางส่วนแล้ว หากยังมีหนี้ค้างอยู่ จำนองยังไม่ระงับ
โจทก์และ ศ. ร่วมกันทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับจำเลยโดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินของโจทก์ไว้กับจำเลยเพื่อประกันหนี้โดยสัญญาจำนองระบุว่า โจทก์ตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงเพื่อประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของโจทก์และหรือ ศ. ที่มีต่อจำเลยผู้รับจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้และที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะทุกประเภทหนี้ ดังนี้ เมื่อข้อพิพาทนี้เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาจำนองไม่ใช่ข้อพิพาทกันในเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงต้องพิจารณาบังคับตามสัญญาจำนองเป็นสำคัญ แม้โจทก์จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่จำเลยจนครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อ ศ. ยังคงเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกและหนี้ของ ศ. เป็นหนี้ที่อยู่ในบังคับของสัญญาจำนองที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลย ภาระจำนองในที่ดินที่เป็นประกันจึงยังไม่ถูกล้างหรือระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ยื่นคำขอเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ ซึ่งมี ส. กับพวก รวม 11 คน เป็นผู้ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารประกอบคำขอครบถ้วน ทั้งผู้เริ่มก่อการยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์โดยมีหนังสือสัญญาจ้างขนส่งน้ำมันระหว่างผู้เริ่มก่อการกับโจทก์ ต่อมาสหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกและยื่นขอจดทะเบียนกรรมการสหภาพและข้อบังคับสหภาพต่อสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเป็นลูกจ้างของโจทก์จริงหรือไม่ โจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธ สหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่มิได้เจรจา เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันมีฐานะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์และสหภาพแรงงานกรีนไลน์ต่างมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัย กรณีที่มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม ตามนัย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมเป็นที่สุด ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า นายสังเวียนกับพวกรวม 11 คน ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานกรีนไลน์นั้นเป็นลูกจ้างโจทก์ การรับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ของจำเลยทั้งสี่จึงชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสหลังกระทำความผิดทางเพศกับเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี: ผลกระทบต่อการลงโทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 สมรสกัน ดังนั้น ความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7682/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเกินอายุความ, การพิสูจน์ราคาตลาด, และการประเมินราคาซากรถยนต์
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบ แม้เหตุผลในการคัดค้านของโจทก์จะไม่ได้ยกเรื่องการประเมินของเจ้าพนักงานขาดอายุความ ไม่ชอบด้วยมาตรา 88/6 แห่ง ป.รัษฎากรไว้ในคำอุทธรณ์ด้วย แต่ข้ออ้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ยกขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้ก็เป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อสนับสนุนว่าการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวไม่ชอบนั่นเอง ทั้ง ป. รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอ้างถึงเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการดังกล่าวได้
จำเลยให้การรับว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มจริง แต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยจึงชอบด้วยมาตรา 88/6 แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยจึงเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินโดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มอบอำนาจให้ จ. มีอำนาจอนุมัติให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88/6 แห่ง ป. รัษฎากรแทนอธิบดีแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี นับแต่วันยื่นแบบแสดงรายการ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
โจทก์นำสืบแสดงให้เห็นว่าราคาตลาดของสารเคมีไม่อาจกำหนดให้แน่นอนตายตัวได้ ทั้งนำผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์และซื้อจากผู้อื่นมาสืบแสดงถึงราคาที่ได้ซื้อไปจากบริษัทอื่นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาตลาดแล้ว ส่วนจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างว่าราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาตลาดเพราะมีบริษัทอื่นขายไปในราคาสูงกว่าที่โจทก์ขายซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาแจ้งราคาตลาดไม่ตรงกับความจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายตามราคาตลาด จำเลยจึงไม่มีสิทธิให้เอาราคาทุนเป็นราคาตลาด
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทในเดือนธันวาคม 2533 แล้วขายไปในเดือนพฤษภาคม 2538 ในราคา 200,000 บาท อ้างว่าคนขับขับรถไปเกิดอุบัติเหตุพังทั้งคัน จึงขายไปในสภาพซากรถ แต่ปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวไม่ได้ทำประกันภัยไว้ทั้งๆที่โจทก์ทำประกันภัยรถยนต์คันอื่นของโจทก์ทุกคัน บันทึกการแจ้งความก็ไม่ได้ระบุว่าการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถอยู่ในสภาพเสียหายใช้การไม่ได้อย่างไร ทั้งโจทก์ยังไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จะได้รับชดใช้มูลค่าของรถที่โจทก์สูญเสียไปไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท หากคิดตามราคาตลาดของรถยนต์รุ่นเดียวกับโจทก์ที่ซื้อขายกันในขณะนั้น หากรถยนต์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ การที่จำเลยประเมินราคาขายรถยนต์ดังกล่าวตามราคาตลาด จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
จำเลยให้การรับว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มจริง แต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยจึงชอบด้วยมาตรา 88/6 แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยจึงเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินโดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว หน้าที่นำสืบจึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มอบอำนาจให้ จ. มีอำนาจอนุมัติให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 88/6 แห่ง ป. รัษฎากรแทนอธิบดีแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี นับแต่วันยื่นแบบแสดงรายการ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
โจทก์นำสืบแสดงให้เห็นว่าราคาตลาดของสารเคมีไม่อาจกำหนดให้แน่นอนตายตัวได้ ทั้งนำผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์และซื้อจากผู้อื่นมาสืบแสดงถึงราคาที่ได้ซื้อไปจากบริษัทอื่นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาตลาดแล้ว ส่วนจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างว่าราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาตลาดเพราะมีบริษัทอื่นขายไปในราคาสูงกว่าที่โจทก์ขายซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาแจ้งราคาตลาดไม่ตรงกับความจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายตามราคาตลาด จำเลยจึงไม่มีสิทธิให้เอาราคาทุนเป็นราคาตลาด
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทในเดือนธันวาคม 2533 แล้วขายไปในเดือนพฤษภาคม 2538 ในราคา 200,000 บาท อ้างว่าคนขับขับรถไปเกิดอุบัติเหตุพังทั้งคัน จึงขายไปในสภาพซากรถ แต่ปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวไม่ได้ทำประกันภัยไว้ทั้งๆที่โจทก์ทำประกันภัยรถยนต์คันอื่นของโจทก์ทุกคัน บันทึกการแจ้งความก็ไม่ได้ระบุว่าการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถอยู่ในสภาพเสียหายใช้การไม่ได้อย่างไร ทั้งโจทก์ยังไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จะได้รับชดใช้มูลค่าของรถที่โจทก์สูญเสียไปไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท หากคิดตามราคาตลาดของรถยนต์รุ่นเดียวกับโจทก์ที่ซื้อขายกันในขณะนั้น หากรถยนต์ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ การที่จำเลยประเมินราคาขายรถยนต์ดังกล่าวตามราคาตลาด จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือแจ้งเบาะแสยาเสพติด ลดโทษจำเลยฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย
การที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ทั้งยังให้ความร่วมมือช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจในการจับกุมจำเลยที่ 2 อีก โดยโทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 2 ทำทีสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนและให้จำเลยที่ 2 นำมาส่งที่ร้านของจำเลยที่ 1 เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ได้รออยู่จับกุม เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนของกลาง นับเป็นการได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อตำรวจตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับคดีใหม่ และการแก้ไขคำพิพากษาที่มิชอบตามกฎหมาย
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 4 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานกระทำอนาจารและภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 4 กระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องนั้น เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีพรากผู้เยาว์ – ข่มขืนกระทำชำเรา ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุด
ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80, 279 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปรับคลื่นวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่อง
การที่จำเลยลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้วนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนนั้น แม้จำเลยจะกระทำในวันเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: เหตุผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และลักษณะของสัญญาบริการ
หลังจากที่โจทก์ทราบว่าสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าได้รับความเสียหายจากพายุฝนแล้ว แม้โจทก์จะทราบถึงจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทราบจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงได้จนกว่าจะได้มี การสำรวจค่าเสียหายก่อน ในวันที่โจทก์ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธินั้น โจทก์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด และไม่ทราบว่าโจทก์จะมีรายได้ที่จะได้รับจากค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ แก่โจทก์เพียงใด อีกทั้งไม่ทราบว่าบริษัทประกันภัยจะไม่รับเอาสินค้าที่ได้รับความเสียหายไป จึงทำให้โจทก์มีกำไรจากการขายซากทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก การที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงมีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาค้ำประกัน - สัญญาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร - ไถ่ถอนจำนอง - ข้อตกลงไม่มีผลผูกพัน
สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ทั้งสี่ เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่ได้ทำสัญญาค้ำประกันและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ที่ ม. กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้วจำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญา โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยที่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องจากมูลหนี้ของ ม. กับ บ. จำเลยยังไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246