พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาค้ำประกันและจำนอง: ต้องรอจนกว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ก่อน จึงมีสิทธิเรียกร้อง
สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ทั้งสี่เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการที่ ม. กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญากู้ ดังนั้น ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องมาจากมูลหนี้ของ ม. กับ บ. ผู้กู้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยตกลงว่าจำเลยจะไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวแล้วคืนโฉนดนั้นแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจำเลยก็จะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว และเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
การที่จำเลยตกลงว่าจำเลยจะไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวแล้วคืนโฉนดนั้นแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจำเลยก็จะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว และเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่คัดค้านเอกสาร แต่ศาลยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งจะมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความอีกฝ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ก็เพียงแต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของเอกสารนั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารนั้น เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ศาลต้องพิจารณาและมีอำนาจรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงอีกชั้นหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รังวัดพื้นที่ไม่ตรงตามสัญญา ไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญา หากสัญญาระบุให้คิดราคาตามพื้นที่รังวัดจริง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยระบุจำนวนเนื้อที่ไว้หากผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าหรือมากกว่าเกินร้อยละห้าของจำนวนเนื่อที่ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหรือรับเอาไว้โดยชำระราคาตามส่วนก็ได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท แม้ตอนแรกจะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันมีเนื้อที่แน่นอน แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดที่คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดตามราคาเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทแล้วจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนดก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตราดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาให้สิทธิผู้จะซื้อที่จะบอกเลิกสัญญาในกรณีรังวัดที่ดินแล้วได้เนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่โฉนดมาก โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายในกรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินใหม่, เนื้อที่ต่างกัน, สิทธิเลิกสัญญา, ฝ่ายผิดสัญญา
แม้สัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.8 จะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันจำนวน 31 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดให้คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดราคาตามเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนด ก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 466
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน และช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ 2 ข้อ ข้อ ก. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และข้อ ข. ว่า ภายหลังการกระทำความผิดข้อ ก. จำเลยให้ที่พำนัก ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่คนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองและรับเข้าทำงาน ศาลพิจารณาเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยรับคนต่างด้าวเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง และนอกจากการรับเข้าทำงานแล้วจำเลยยังช่วยด้วยประการอื่น ๆ อีก โดยให้ที่พำนักและพักอาศัย ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมและไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำสุราเถื่อนและการจำหน่าย โดยแยกพิจารณาบทบัญญัติและอัตราโทษที่ถูกต้อง
สุรากลั่นของกลางคดีนี้จะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าในความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 5, 30, 32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้คนละมาตรากัน ดังนั้น การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่นนั้น จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
สำหรับความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือการทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทเพิ่มโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้น ที่จำเลยขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
ศาลล่างทั้งสองลงโทษเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
สำหรับความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือการทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทเพิ่มโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้น ที่จำเลยขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
ศาลล่างทั้งสองลงโทษเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำ, มี, ขายสุรากลั่น: การแยกกระทงความผิด และการลงโทษตาม พ.ร.บ.สุรา
คำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทำสุรากลั่นบรรจุถุงพลาสติก 4 ใบ บรรจุถุงพลาสติก 7 ถุง บรรจุแกลลอน 20 ใบ ปริมาณ 592 ลิตร โดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วจำเลยมีสุรากลั่นจำนวนและปริมาณดังกล่าวไว้ในครอบครอง จากนั้นจำเลยขายสุรากลั่นจำนวนและปริมาณดังกล่าว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสุราที่ทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นการกระทำในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อจำเลยทำสุรากลั่นแล้ว จำเลยมีสุรากลั่นดังกล่าวไว้ในครอบครอง จากนั้นขายสุรากลั่นนั้น การกระทำความผิด ของจำเลยสำเร็จไปในแต่ละขั้นตอนของการกระทำแต่ละครั้ง หาได้ขัดแย้งหรือขัดต่อเหตุผลแต่ประการใดไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่น แม้สุรากลั่นจะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกันและสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือ การทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทฝ่าฝืนโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้นที่จำเลย ขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่น แม้สุรากลั่นจะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกันและสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือ การทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทฝ่าฝืนโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้นที่จำเลย ขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31