พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทผู้ถือหุ้นขาดทุน แต่จำเลยยังมีกำไรและงานยังไม่ลดลง
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังคงมีกำไรอยู่ ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยได้ลดน้อยลงมากหรือประสบกับการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะของจำเลยให้อยู่รอด การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้บริษัทมีกำไร แต่ไม่มีเหตุผลความจำเป็นทางธุรกิจ
จำเลยเป็นบริษัทจำกัดที่ชำระมูลค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว บริษัทที่ถือหุ้นของจำเลยจะประกอบกิจการขาดทุนก็ไม่มีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของจำเลย แม้ผลประกอบการของจำเลยจะมีกำไรสุทธิน้อยลง แต่ก็ยังมีกำไรอยู่ ไม่ปรากฏว่างานของจำเลยลดน้อยลงมากหรือประสบการขาดทุนจนถึงขนาดต้องลดรายจ่ายและลดจำนวนพนักงานเพื่อพยุงฐานะจำเลยให้อยู่รอด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว หนี้ยังไม่ครบ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาไว้ด้วยแล้วแต่ปรากฏว่า เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวแล้วหนี้โจทก์ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้น จำเลยจะกล่าวอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้โจทก์ได้รับเงินบังคับคดีบางส่วนแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยต้องนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ได้รับเงินจำนวน 2,081,182.34 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ยังคงเหลือหนี้ที่ขาดอยู่อีก 1,342,867.90 บาท จำเลยจะอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินจำนวน 2,081,182.34 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ยังคงเหลือหนี้ที่ขาดอยู่อีก 1,342,867.90 บาท จำเลยจะอ้างว่าเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนได้รวมเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานพิจารณาจากพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วยก็ตาม ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญา เพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น การให้การต่อสู้เช่นนี้หาทำให้คดีนี้กลับกลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ประกอบ ป.วิ.พ. ในกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เป็นอย่างอื่น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 และ 227 อันเป็นวิธีพิจารณาคดีอาญามาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 นั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากลักทรัพย์นายจ้าง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วย ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญาเพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น หาทำให้กลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 และ 227 มาใช้บังคับได้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 จึงชอบแล้ว
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในความผิดอาญา ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก สำหรับการกระทำความผิดตามมาตรา 278 ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 ส่วนความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคสาม ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก ของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: หนี้ไม่แน่นอนเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน
จำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) แล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานได้ หนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามการแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้รับคืนไปในคดีนี้จึงยังเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: ค่าจ้างลูกจ้างมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้าง ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) อันมีอายุความ 2 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 เพราะคำว่า "เงินเดือน" ตามบทมาตราดังกล่าวหมายถึงเงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: 'เงินเดือน' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) ไม่ครอบคลุมค่าจ้างลูกจ้างทั่วไป
คำว่า "เงินเดือน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) หมายถึง เงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตาม พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งฯ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2541 เป็นเงินรวม 434,544 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) อันมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ไม่