คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการใช้มีดแทงบริเวณอวัยวะสำคัญ ศาลยืนโทษจำคุกตามเดิม
จำเลยและผู้ตายกอดปล้ำต่อสู้กัน จำเลยพลิกตัวขึ้นมานั่งคร่อมผู้ตายอยู่ด้านบน จึงย่อมสามารถใช้มีดแทงผู้ตายได้ถนัดและสามารถเลือกแทงได้ การที่จำเลยใช้มีดของกลางซึ่งเป็นมีดปลายแหลมขนาดใหญ่แทงไปที่บริเวณชายโครงขวาของผู้ตายจนเป็นบาดแผลฉกรรจ์ แสดงว่าจำเลยแทงโดยแรงถูกอวัยวะสำคัญ ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การฎีกาโดยไม่แสดงเหตุผลความไม่ถูกต้องของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่าจำเลยยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษาอีกชั้นหนึ่ง โดยมีข้อความเพียงว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เนื่องจากพยานโจทก์ที่นำสืบเป็นพยานบอกเล่าไม่ควรรับฟัง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลย 12 ปี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีความเห็นไม่ตรงกันเช่นนี้ สมควรที่คดีนี้จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุด เพื่อได้โปรดพิจารณาพิพากษาชี้ขาดเป็นที่สุด จำเลยก็พร้อมจะยอมรับตามคำพิพากษาของศาลฎีกาทุกประการ ฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานต้องพิจารณาฐานะนายจ้างและเหตุผลการเลิกจ้างควบคู่กัน เพื่อให้เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 48 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีแรงงานให้ศาลแรงงานคำนึงถึงสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของลูกจ้าง... รวมทั้งฐานะแห่งกิจการของนายจ้าง... ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดให้เป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายด้วย" การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่าการเลิกจ้างโจทก์ในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำวินิจฉัยลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลประกอบ ทั้งๆ ที่จำเลยให้เหตุผลในการเลิกจ้างว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และข้อที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์มาตั้งแต่ปี 2540 และมีค่าจ้างสูงถึงเดือนละ 30,000 บาท หากไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่แรกจำเลยน่าจะเลิกจ้างเสียตั้งแต่แรก แต่กลับจ้างมานานหลายปีนั้น เหตุผลดังกล่าวไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หรือไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานอันจะเป็นการหักล้างเหตุผลหรือข้ออ้างของจำเลย แสดงว่าศาลแรงงานกลางมิได้นำฐานะแห่งกิจการของจำเลยมาประกอบการพิจารณาด้วย จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ ต้องมีหลักฐานการยอมรับของจำเลย
การที่จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหลังตาม ป.อ. มาตรา 58 นั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีความปรากฏแก่ศาลเองหรือปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานก็ตาม จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยยอมรับหรือไม่คัดค้านในข้อที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในคดีก่อน และโทษจำคุกนั้นศาลให้รอการลงโทษไว้ ศาลจึงจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีหลังได้
คดีนี้จำเลยให้การว่า "ให้การรับสารภาพตลอดข้อหา" เป็นเพียงการยอมรับว่ากระทำผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ยอมรับว่าเคยต้องโทษถึงที่สุดในคดีก่อนตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงไม่ถูกต้องแต่การที่จำเลยบรรยายในคำฟ้องอุทธร์ว่า "เมื่อจำเลยต้องคำพิพากษาในคดีก่อนและศาลอุทธรณ์รอการลงโทษ" และในตอนท้ายอุทธรณ์ยังยอมรับอย่างชัดแจ้งว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในสถานเบาและนำโทษที่ศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7608/2543 ที่ศาลรอการลงโทษมาบวกเข้ากับคดีนี้ ถือได้ว่าความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์คดีนี้และจำเลยยอมรับในข้อที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์คดีดังกล่าวพิพากษาให้รอการลงโทษไว้ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7608/2543 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนเป็นคนละกรรม แม้เกิดในสถานที่เดียวกัน
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดมาตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่ง และเมื่อพาอาวุธปืนดังกล่าวไปในหมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกสำหรับความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน พิจารณาจากพฤติการณ์ที่ไม่ร้ายแรงและโอกาสในการฟื้นฟู
จำเลยกระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยจะใช้อาวุธปืนนั้นก่ออาชญากรรมใด พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขฟื้นฟูให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเพราะโทษจำคุกระยะสั้น นอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติของจำเลยแล้ว ยังทำให้มีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้วก็ยากที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยสุจริตต่อไปได้ การรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่า แต่เพื่อให้หลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการโอนคดีให้ศาลปกครองตาม พ.ร.บ.ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอีกศาลหนึ่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ศาลรับฟ้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็น ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อให้มีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลนั้นหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติถึงกระบวนการชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล กล่าวคือหากศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัตินี้
เมื่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งกรณีนี้คือศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองเชียงใหม่ หากศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองเชียงใหม่หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ แต่ถ้าศาลปกครองเชียงใหม่มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ทันทีนั้นไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ที่เกิดจากการยักยอกเงินและการฟ้องเรียกคืนจากผู้กระทำละเมิด
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมรับชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงันสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งรับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่หายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ที่เกิดจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกจ้างธนาคาร และสิทธิไล่เบี้ยของธนาคารต่อลูกจ้าง
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน & ความรับผิดนายจ้างในคดีค่าชดเชย
ความในมาตรา 125 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดนั้นต่อเนื่องมาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่าเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งนำคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวแสดงว่านายจ้างหรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็นที่สุดสำหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
of 292