คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ศาลฎีกาพิจารณาเจตนาของผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความถึงการกระทำผิดของจำเลยเนื่องจากผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปเสียก่อน แต่โจทก์มีคำให้การของผู้เสียหายที่ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทันทีหลังเกิดเหตุ และได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันรุ่งขึ้นซึ่งคำให้การของผู้เสียหายเป็นเรื่องราวต่อเนื่องสอดคล้องกับหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคาร และยังสอดคล้องกับคำเบิกความของ พ. ซึ่งเป็นเพื่อนจำเลยและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายเคยรักใคร่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับจำเลย ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุที่ผู้เสียหายจะปรักปรำจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำผิดเป็นส่วนสำคัญว่าต้องการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมหรือไม่ เมื่อจำเลยมีเจตนาจะลักเงินสดที่อยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายที่วางอยู่ในรถที่จำเลยขับอยู่ก่อนแล้วโดยใช้อุบายหลอกผู้เสียหายให้ลงจากรถไปซื้อน้ำอัดลม แล้วถือโอกาสขับรถซึ่งมีกระเป๋าสะพายใส่เงินและกระเป๋าเสื้อผ้าของผู้เสียหายหนีไป จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้รถเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาเอาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิคงผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากร: พิจารณาแยกแต่ละเที่ยวสินค้า
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคท้าย ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินไว้ภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112, 112 ทวิ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมิน ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้โจทก์จะนำใบขนสินค้าทั้ง 12 เที่ยว จำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาพ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องด้วยพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยวที่โจทก์นำเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากรเพิ่มเติม: มาตรา 10 พ.ร.บ.ศุลกากร vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..."หมายถึงผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่การที่ฟ้องโจทก์ฟ้องขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มเติมตามมาตรา 112,112 ทวิ โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196-1218/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเสียหายจากค่านายหน้าลูกจ้าง และการจ่ายค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงกัน มิขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างเป็นอย่างอื่นได้ แม้จำเลยกับโจทก์ทั้งยี่สิบสามจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 จึงต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง บังคับแทนเมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสามได้ยื่นใบลาออกต่อจำเลย โดยประสงค์ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30วัน นับแต่วันยื่นใบลาออก แต่จำเลยกลับอนุมัติให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามยื่นใบลาออกก่อนกำหนดที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะให้มีผลเป็นการลาออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานจนถึงวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะลาออกพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามนายจ้างหักค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้ที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้าง เว้นแต่การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1)-(5) โจทก์ที่ 10เป็นหัวหน้าพนักงานขาย มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งข้อ 2 ระบุว่า ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหายของเจ้าหน้าที่การตลาด จะนำมาหักออกจากค่าตอบแทนของหัวหน้าส่วนที่ได้รับจากทีม ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธินำค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในส่วนความรับผิดชอบของโจทก์ที่ 10 มาหักออกจากค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการหักเงินดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับ มิใช่เป็นการนำค่าจ้างที่โจทก์ที่ 10 ได้รับมาหักเพื่อชำระหนี้ที่โจทก์ที่ 10 เป็นหนี้จำเลย จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาการเสียภาษีป้ายตามนิยามของ พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ป้ายและการเชื่อมโยงของป้าย
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูนแยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตร SYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือว่าเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ต้องเสียภาษีป้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาว่าป้ายโฆษณาและป้ายบอกทางเข้าสถานีบริการน้ำมันถือเป็นป้ายเดียวกันตามกฎหมายภาษีป้ายหรือไม่
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูน แยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โดยป้ายดังกล่าวโจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตรSYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ อันต้องเสียภาษีป้ายตามขนาดของป้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดแต่การค้ำประกันให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์? เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ตามบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งประกาศใช้โดยชอบแล้ว การโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาใช่การซื้อขายความกันดังที่จำเลยทั้งสองอ้างไม่ กรณีจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
หนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของธนาคารโจทก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นอันชอบด้วยพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และมาตรา 9 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยัง จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ทั้งการโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องมิใช่การซื้อขายความจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกปฏิบัติทางแรงงาน: นายจ้างสั่งงานล่วงเวลาเพื่อบีบคั้นลูกจ้างที่ยื่นข้อเรียกร้อง
แม้โจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 3 กะก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติโจทก์ให้ลูกจ้างทำงานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ทำกะละ 12 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทำงานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมง เป็นการทำงานล่วงเวลา ดังนั้น การที่โจทก์มีคำสั่งให้ จำเลยร่วมกับพวก ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานวันละ 3 กะ ซึ่งโจทก์สั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากโจทก์และจำเลยร่วมกับพวกทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นจำเลยร่วมกับพวกให้ไม่สามารถทนทำงานอยู่ ต่อไปได้ เพราะเหตุที่จำเลยร่วมกับพวกยื่นข้อเรียกร้องหรือเป็นตัวแทนเจรจา อันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 (1)
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ได้วินิจฉัยในคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า การสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และไม่มีกฎหมายรองรับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ออกคำสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จำเลยร่วมกับพวกทำงานล่วงเวลาได้ คำสั่งดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง
of 292