พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีเลือกปฏิบัติการทำงานหลังยื่นข้อเรียกร้อง
โจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 3 กะ แต่ในทางปฏิบัติให้ทำงานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่โดยให้ทำกะละ 12 ชั่วโมง จำนวน 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทำงานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมงเป็นการทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยร่วมกับพวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทำงานวันละ 3 กะ แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์จะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่ก็เป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นไม่ให้ทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องหรือเป็นตัวแทนเจรจาอันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(1) การที่จำเลยได้มีคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้โจทก์เปลี่ยนแปลงเวลาทำงานสำหรับจำเลยร่วมกับพวกเป็นเวลาการทำงานตามเดิมและวินิจฉัยว่าการสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ทำหรือไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 และไม่มีกฎหมายรองรับให้จำเลยออกคำสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จำเลยร่วมกับพวกทำงานล่วงเวลาได้จึงเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์มีจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า, หน่วงเหนี่ยว, ชิงทรัพย์, อนาจาร: การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันและเจตนาต่อเนื่อง
จำเลยใช้แขนล็อกคอผู้เสียหายด้านหลังแล้วลากผู้เสียหายไปที่คูน้ำข้างถนนกดตัวผู้เสียหายลงไปในน้ำจนมิดศีรษะทำให้ผู้เสียหายหมดสติ ซึ่งจากการตรวจร่างกายผู้เสียหาย ปรากฏว่าปอดอักเสบเนื่องจากสำลักน้ำ โดยแพทย์ให้ความเห็นว่าคนที่สำลักน้ำหายใจเอาอากาศเข้าไปไม่ได้ หากไม่ได้หายใจภายใน 5 นาที จะถึงแก่ความตาย ถ้าถูกกดน้ำหายใจไม่ออกไม่ถึง 5 นาที จะมีผลต่อปอดและขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยงสมองทำให้ไม่รู้สึกตัว และทำให้ถุงลมเสียสมรรถภาพในการแลกเปลี่ยนอากาศ ซึ่งกรณีของผู้เสียหายมีผลทางสมองเล็กน้อย แต่ปอดนั้นสูญเสียสมรรถภาพของถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น การที่จำเลยกดหน้าผู้เสียหายลงไปในคูน้ำเป็นเวลานานจำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากผู้เสียหายเพียงแต่หมดสติไปชั่วขณะไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
การที่จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ อันเป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย ซึ่ง ก. ได้ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาล แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตูรถยนต์ที่จำเลยกำลังขับทิ้งตัวลงบนถนนเพื่อหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตน อันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่ง ต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกผู้เสียหายบอกจำเลยว่าเป็นโรคเอดส์ จำเลยมีอาการลังเล ผู้เสียหายจึงลุกขึ้นวิ่งหนีไปอันเป็นการกระทำฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยดังกล่าวกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน แม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ อันเป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย ซึ่ง ก. ได้ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาล แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตูรถยนต์ที่จำเลยกำลังขับทิ้งตัวลงบนถนนเพื่อหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตน อันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่ง ต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกผู้เสียหายบอกจำเลยว่าเป็นโรคเอดส์ จำเลยมีอาการลังเล ผู้เสียหายจึงลุกขึ้นวิ่งหนีไปอันเป็นการกระทำฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยดังกล่าวกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน แม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า พยายามฆ่า หน่วงเหนี่ยวกักขัง ชิงทรัพย์ อนาจาร: การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยใช้แขนล็อกคอผู้เสียหายแล้วลากไปที่คูน้ำข้างถนนกดตัวผู้เสียหายลงไปในน้ำจนมิดศีรษะหมดสติและปอดอักเสบเนื่องจากสำลักน้ำ ทำให้ปอดสูญเสียสมรรถภาพของถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 1 สัปดาห์ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ เป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย เมื่อ ก. ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาลจำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตู รถยนต์ที่จำเลยขับทิ้งตัวลงบนถนนหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตนอันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่งต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกอันเป็นการกระทำผิดฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกันแม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยจับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ เป็นการกระทำผิดฐานพยายามฆ่าสำเร็จขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงอุ้มผู้เสียหายขึ้นรถยนต์ของจำเลย เมื่อ ก. ตามมาพูดขอตัวผู้เสียหายเพื่อนำไปส่งโรงพยาบาลจำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหาย ซึ่งมีเจตนาต่างหากอีกกรรมหนึ่ง หลังจากผู้เสียหายรู้สึกตัวแล้วเปิดประตู รถยนต์ที่จำเลยขับทิ้งตัวลงบนถนนหลบหนี จำเลยจอดรถวิ่งไล่ตามแล้วกระชากผมผู้เสียหายลากเข้าไปที่พงหญ้าแล้วกระชากเสื้อผู้เสียหายหลุดออก เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตนอันเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกกรรมหนึ่งต่อจากนั้นจำเลยดึงกางเกงของผู้เสียหายหลุดออกอันเป็นการกระทำผิดฐานอนาจารผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง เมื่อการกระทำผิดของจำเลยกระทำด้วยเจตนาต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกันแม้จะกระทำต่อเนื่องกันแต่ได้กระทำความผิดแต่ละฐานหลังจากกระทำความผิดฐานหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุรายงานข้อสงสัยผู้บริหารต่อ กลต. และข้อผิดพลาดในการทำงานที่ไม่ร้ายแรง
การทำงานของโจทก์ที่ล่าช้าในการส่งรายการฐานะการเงินให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) และปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กลต. กำหนด เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกเปรียบเทียบปรับนั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติและเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในปีแรกที่เพิ่งดำเนินการ ต่อมาโจทก์ก็ไม่เคยทำผิดพลาดอีก ข้อผิดพลาดเช่นนี้บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็เคยถูกเตือนหรือถูกปรับเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าอีกทั้งส่วนงานอื่นของจำเลยก็เคยถูก กลต. มีมติให้เปรียบเทียบปรับเช่นกัน การกระทำผิดพลาดของโจทก์จึงมิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับการฟ้องคดีอย่างคนอนาถา: เฉพาะผู้ขอเท่านั้น
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการฟ้องคดีอย่างคนอนาถา เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ขอไม่มีผลถึงคู่ความอื่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติให้คู่ความอื่นที่มิได้ยื่นคำขอพิจารณาคดีอย่างคนอนาถามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์บางส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับการขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา: สิทธิมีเฉพาะผู้ขอ
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ขอ ไม่มีผลถึงคู่ความอื่น หากขอฟ้องคดีหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แล้วศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำสั่งนั้นเป็นที่สุด หากศาลชั้นต้นยกคำขอหรืออนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้บางส่วน ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ส่วนคู่ความอื่นมิได้ยื่นคำขอพิจารณาคดีอย่างคนอนาถานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถบรรทุกไม่รู้เห็นการกระทำผิดฐานขนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิในการขอคืนของกลาง
จำเลยว่าจ้างให้ ท. ขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องบรรทุกช้าง2เชือก ผ่านบริเวณด่านกักสัตว์ จึงถูกจับกุมดำเนินคดีฐานไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ มาตรา 4,34,49 ในชั้นร้องขอคืนของกลางจำเลยเบิกความเป็นพยานผู้ว่า จำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง ท. เอง ผู้ร้องมิได้รู้เห็นในการว่าจ้างบรรทุกช้างของจำเลย ซึ่งจำเลยเป็นพยานคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับการยึดรถยนต์บรรทุกของกลาง จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ อีกทั้งความผิดคดีนี้อยู่ที่จำเลยไม่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายช้าง หาใช่ความผิดอยู่ที่การเคลื่อนย้ายไม่ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ต้องคืนรถยนต์บรรทุกของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโทรศัพท์: ผู้เช่าต้องชำระค่าบริการค้างชำระ แม้โจทก์จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบการงดบริการโดยเคร่งครัด
แม้องค์การโทรศัพท์โจทก์จะมีระเบียบในการแจ้งเตือนให้ผู้เช่าที่ค้างชำระค่าเช่าใช้บริการตั้งแต่ 30 วัน นำเงินมาชำระภายใน 15 วัน หากไม่ชำระตามกำหนดหนังสือแจ้งเตือนแล้วเสนอผู้จัดการเพื่องดให้บริการก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบภายในเพื่อให้พนักงานของโจทก์ปฏิบัติ ไม่ใช่ข้อที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าเช่าที่ค้างแต่อย่างใด และการที่จำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ก็เป็นการชำระค่าเช่าโทรศัพท์ที่ค้างชำระ มิได้เกิดจากการที่โจทก์แจ้งเตือนหรืองดให้บริการ ประกอบกับในสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่ผู้เช่าสงสัยว่าจำนวนเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ไม่ถูกต้อง ผู้เช่ามีสิทธิยื่นคำร้องขอตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยผู้เช่าต้องชำระค่าบริการก่อน แต่จำเลยก็มิได้ทำการเช่นนั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาการเช่าใช้บริการโทรศัพท์ เมื่อปรากฏว่ามีการใช้โทรศัพท์หมายเลขที่จำเลยเช่า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าใช้บริการที่ค้างชำระมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะนำพฤติการณ์ที่โจทก์งดให้บริการล่าช้ามาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าเสียหายของโจทก์