คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง หรือข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ประกอบธุรกิจประกันภัยไม่ใช่สถาบันการเงินที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ และอายุความของคดี
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่ง
การเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ดังนั้นเมื่อกิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุกำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 193,650 บาท แก่โจทก์โดยคำนวณตามระยะเวลาทำงานของโจทก์ แต่ไม่พิจารณาเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาจ้างนั้นชอบหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุด: นายจ้างไม่ได้จัดวันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่ม 1 เท่า
โจทก์ให้ลูกจ้างทั้งห้าซึ่งมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินให้แก่ธุรกิจของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทั้งห้าทำงานในวันหยุด เมื่อลูกจ้างทั้งห้าเป็นลูกจ้างรายวันที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2) แต่โจทก์ได้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าไปแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดขาดไปจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหากไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักตามกฎหมาย
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 28 มาตรา 62 และมาตรา 64 หมายความว่า นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งวัน หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดและจ่ายในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุด
โจทก์ให้ลูกจ้างของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6787/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้าง การสิ้นสุดสัญญาจ้าง และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาอาจแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญากันได้ตามหลักเกณฑ์ใน ป.พ.พ. มาตรา 386 และมาตรา 582 โดยนายจ้างหรือลูกจ้างบอกเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน เมื่อโจทก์ยื่นใบลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 31 มกราคม 2546 ย่อมมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แม้จำเลยจะมีระเบียบขององค์การค้าของคุรุสภาที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ พ.ร.บ.ครูฯ กำหนดให้การลาออกของลูกจ้างของจำเลยต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาก่อน จำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือสั่งให้ระงับใบลาออกของโจทก์ จนกระทั่งการสอบสวนที่กล่าวหาว่าโทษกระทำผิดสิ้นสุดลงโดยที่โจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยก็มิได้สั่งการเกี่ยวกับใบลาออกของโจทก์แต่กลับจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2546 แสดงว่าจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยปริยายแล้ว
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้สิ้นสุดลงด้วยการลาออก มิได้สิ้นสุดลงเนื่องจากโจทก์กระทำความผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จ เงินทำขวัญ และเงินช่วยเหลือในการทำศพเจ้าหน้าที่คุรุสภา (ฉบับที่ 2)ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6783/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: อำนาจบริหารเต็มและการไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาทำให้ไม่เข้าข่ายลูกจ้าง
ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้างซึ่งต้องทำงานตามที่นายจ้างมอบหมายในวันเวลาทำงานที่นายจ้างกำหนด และต้องปฏิบัติตามคำสั่งระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากฝ่าฝืนนายจ้างลงโทษได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 มาตรา 119 และ ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อโจทก์มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการและไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์บริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ไปตามที่เห็นสมควร เพียงแต่รายงานผลการทำงานให้กรรมการอื่นทราบเดือนละครั้ง ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทำงานให้บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของลูกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการทำงานไว้ และโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานตลอดมา ไม่มีช่วงใดเลยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น แม้ประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์จะลดลงไปบ้าง แต่ต้องถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของจำเลย ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบจึงฟังไม่ขึ้น การที่จำเลยมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2543 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ และบริการโทรทางไกลราคาประหยัดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่เสนอกลยุทธ์ในการตลาดเพื่อแข่งขันกับภายนอก และโจทก์ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจภายนอกให้เป็นผลสำเร็จดังที่จำเลยอ้าง แต่โจทก์ก็ยังทำงานได้เกณฑ์ตามมาตรฐานของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จำเลยไม่สามารถเสนองานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่โจทก์ได้ จึงยังไม่ใช่เหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการไม่ส่งเรื่องให้วินิจฉัยซ้ำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
of 292