พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,912 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนถูกต้อง แม้เจตนาลวง และการร่วมเป็นผู้จัดการมรดก
บุคคลที่จะร้องขอขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 นั้น ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธปืนได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้นำวัตถุต้องห้ามดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับแล้ว ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องรับฟังได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธปืนได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาต มามอบให้แก่ทางราชการ พ.ศ. 2546 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องรับฟังได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากจำเลยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการรอการลงโทษ และการแก้ไขโทษบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จำเลยมิได้อุทธรณ์ คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้อง ถือว่าจำเลยพอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ไม่รอการลงโทษจำคุกให้ แก่จำเลยแล้ว ปัญหาว่าควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่จึงไม่เคยเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยจะฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกมิได้ ถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและ ขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำโทษจำคุก ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยด้วยนั้น เป็นการมิชอบ
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและ ขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำโทษจำคุก ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยด้วยนั้น เป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่ใช้ในการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลภาษีอากร หาใช่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มจากจำเลยรวมเป็นเงิน 49,680 บาท แม้จะระบุจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นจำนวน 58,788 บาท ก็ตาม ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือ 49,680 บาท มิใช่ 58,788 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาทภาษีป้าย: การพิจารณาความเป็นเจ้าของป้ายก่อนตัดสินคดี แม้คดีมีข้อจำกัดในการอุทธรณ์
กรุงเทพมหานครโจทก์ฟ้องเรียกค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มจากจำเลยรวมเป็นเงิน 49,680 บาท จึงเป็นคดีที่จำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะระบุจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็น 58,788 บาท แต่ทุนทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 หมายถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลภาษีอากร มิใช่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ทั้งเงินเพิ่มที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันฟ้องก็ไม่อาจนำมารวมคิดเป็นทุนทรัพย์ได้ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของป้ายและไม่มีสิทธิรื้อถอนป้ายเพราะป้ายตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้วตามสัญญา อีกทั้งโจทก์ได้ให้สิทธิบริษัทอื่นใช้ป้ายโฆษณาไปแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีป้าย จำเลยให้การว่าจำเลยได้สิทธิในการดูแลศาลาที่พักผู้โดยสารรวมถึงป้ายโฆษณาจากโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญา และได้ทำสัญญาให้สิทธิแก่บริษัท จ. บริษัทดังกล่าวได้เข้าหาผลประโยชน์ในป้ายที่ติดอยู่ จำเลยมิได้เกี่ยวข้องในป้ายโฆษณาแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 12 กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้าย แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเจ้าของป้ายหรือไม่ ดังนั้น เมื่อการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นเจ้าของป้ายหรือไม่ก่อน และคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีป้าย จำเลยให้การว่าจำเลยได้สิทธิในการดูแลศาลาที่พักผู้โดยสารรวมถึงป้ายโฆษณาจากโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญา และได้ทำสัญญาให้สิทธิแก่บริษัท จ. บริษัทดังกล่าวได้เข้าหาผลประโยชน์ในป้ายที่ติดอยู่ จำเลยมิได้เกี่ยวข้องในป้ายโฆษณาแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 12 กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้าย แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเจ้าของป้ายหรือไม่ ดังนั้น เมื่อการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นเจ้าของป้ายหรือไม่ก่อน และคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนตัวที่ใช้ร่วมกับกิจการ การปันส่วนรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ค่าไฟฟ้าสำหรับมิเตอร์ที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์และครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารสถานประกอบการของโจทก์ เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แต่เมื่อรายจ่ายค่าไฟฟ้าจากมิเตอร์นั้นมีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวระคนปนกับรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ไม่สามารถแบ่งแยกออกได้ชัดเจนว่ารายจ่ายส่วนใดมีจำนวนใด การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้วิธีปันส่วนโดยแบ่งค่าไฟฟ้าให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 50 นั้น นับว่าถูกต้องสมควรและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
การพิจารณาว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี หรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับรายจ่ายตลอดจนเหตุผลความจำเป็นและหลักฐานในการจ่ายประกอบด้วยซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ จำนวนเท่าใด ตามความเป็นจริง ไม่จำต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งจำนวน
การพิจารณาว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี หรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับรายจ่ายตลอดจนเหตุผลความจำเป็นและหลักฐานในการจ่ายประกอบด้วยซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ จำนวนเท่าใด ตามความเป็นจริง ไม่จำต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เป็นส่วนตัวและเพื่อกิจการ การปันส่วนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ...(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว... (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ" หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้นต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานหล่อดอกยางรถยนต์และจำหน่ายยางรถยนต์ โดยใช้อาคาร 2 ชั้น ชั้นหนึ่งใช้ประกอบกิจการ ส่วนอีกชั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของหุ้นส่วนโจทก์ ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารสถานประกอบของโจทก์จึงแยกเป็น 2 มิเตอร์ เป็นชื่อโจทก์ 1 มิเตอร์ และ จ. หุ้นส่วนโจทก์อีก 1 มิเตอร์ ดังนั้น ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ของ จ. หุ้นส่วนโจทก์เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตาม ป.รัษฎากรณ 65 ตรี (3) และ (13)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์ของผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้ อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นอีก การที่ อ. ไม่สั่งคำร้องดับกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณาดังนั้น แม้ ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาจให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้ อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ