คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 549

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่า: กรณีจำเลยรุกล้ำพื้นที่เช่าที่สิ่งปลูกสร้างมีอยู่ก่อน ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เช่าไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าการที่จะจัดการให้จำเลยผู้ซึ่งไม่ได้เช่าที่ดินส่วนนั้นรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าของที่ดิน ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 774-776/2505)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ต้องยกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อโต้เถียงอื่นๆ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่า: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าเป็นอำนาจของเจ้าของที่ดินเมื่อผู้เช่ายังมิได้เข้าครอบครอง
ผู้เช่าไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่า การที่จะจัดการให้จำเลยผู้ซึ่งไม่ได้เช่าที่ดินส่วนนั้นรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าของที่ดิน ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 774-776/2505)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ต้องยกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อโต้เถียงอื่นๆ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความรอนสิทธิเช่า: มาตรา 482 ไม่กำหนดอายุความ ใช้ อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าตึกจากจำเลยถูกรบกวนขัดสิทธิในอันจะได้ครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิในการเช่าเหนือทรัพย์สินดีกว่าโจทก์ได้ชื่อว่าโจทก์ผู้เช่าถูกรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ประกอบด้วยมาตรา 549
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482 เป็นบทบัญญัติถึงเรื่องที่ว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อผู้ซื้อต่างกับมาตรา 481 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แม้ข้อความในมาตรา 482วรรคท้ายจะบัญญัติถึงความรับผิดของผู้ขายอยู่ด้วยก็ดีแต่ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา 482 มาตราเดียวกันและมาตรา 482 นี้หาได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องไว้ไม่จึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ขายถูกศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดีแล้วไม่ยอมเข้ามาเป็นกรณีที่ผู้ขายจงใจหลบหลีกความรับผิดอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงไม่บัญญัติหรือท้าวความให้มีอายุความเพียง 3 เดือนเท่ามาตรา 481 จึงต้องถือว่าอายุความสำหรับมาตรา 482 นี้ ยกเว้นหรือแยกต่างหากไปจากอายุความในมาตรา 481 จึงต้องใช้อายุความธรรมดาเหมือนดังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คือ มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่ากับสิทธิการครอบครองก่อนสัญญาเช่า: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากโรงที่ปลูกก่อนทำสัญญา
ในกรณีที่จำเลยผู้เช่าได้ปลูกโรงของจำเลยไว้ในที่พิพาทก่อนที่โจทก์ได้มาทำสัญญาเช่าที่พิพาทต่อเจ้าของที่พิพาทนั้น โจทก์จะอาศัยสิทธิสัญญาเช่านั้นมาฟ้องขับไล่จำเลย เพื่อโจทก์จะได้เข้าครอบครองที่พิพาทนั้นหาได้ไม่ โจทก์เป็นเพียงผู้มีสิทธิเช่า ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทที่เช่ามานั้นเลย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะพื้นที่เช่า ผู้เช่าเดิมมีสิทธิเหนือพื้นที่ปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่า
ในกรณีที่จำเลยผู้เช่าได้ปลูกโรงของจำเลยไว้ในที่พิพาทก่อนที่โจทก์ได้มาทำสัญญาเช่าที่พิพาทต่อเจ้าของที่พิพาทนั้น โจทก์จะอาศัยสิทธิสัญญาเช่านั้นมาฟ้องขับไล่จำเลยเพื่อโจทก์จะได้เข้าครอบครองที่พิพาทนั้นหาได้ไม่ โจทก์เป็นเพียงผู้มีสิทธิเช่า ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทที่เช่ามานั้นเลย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับผู้ให้เช่ารายใหม่สิ้นสุด และผลของการไม่จดทะเบียนสัญญาเช่า
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว นั้น เป็นสัญญาที่มีผลพูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาสัญญานั้น จึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับเลย เมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้
ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียว มีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้ว โดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่ 1593/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองห้องเช่าก่อนสัญญาใหม่: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองก่อนไม่ได้ หากไม่รวมเจ้าของเดิม
จำเลยได้ครอบครองห้องพิพาทอยู่ก่อนที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าจากเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 477,549 ซึ่งถ้าโจทก์ไม่ขอให้ศาลเรียกเจ้าของเดิมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยลำพังได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองก่อนสัญญาเช่า: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ครอบครองก่อนไม่ได้ หากไม่ร่วมฟ้องเจ้าของเดิม
จำเลยได้ครอบครองห้องพิพาทอยู่ก่อนที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าจากเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองกรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477,549 ซึ่งถ้าโจทก์ไม่ขอให้ศาลเรียกเจ้าของเดิมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยลำพังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแยกส่วน และการหักเงินประกันค่าเช่า กรณีผู้ให้เช่าผิดสัญญา
ตึกกับเครื่องเรือนอาจทำสัญญาแยกกันได้ จะถือเป็นสัญญาควบหรือรวมกันเสมอไปไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนโดยโจทก์ได้รบกวนไม่ให้จำเลยใช้ประโยชน์แห่งสถานที่เช่าตามสัญญาด้วยประการต่างๆ จำเลยผู้เช่าจึงมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งถึงการถูกรบกวนและให้เอาเงิน 4,000 บาทที่จำเลยวางเป็นประกันว่าจำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ใช้เป็นค่าเช่าเดือน มิ.ย.และ ก.ค. และว่าหากยังรบกวนอยู่อีกจะยึดหน่วงค่าเช่าสำหรับเดือนต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญา กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะถือว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าเช่าสำหรับ 2 เดือนดังกล่าวยังไม่ได้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าดังฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแยกส่วน & การหักเงินประกันค่าเช่า: จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเครื่องเรือนเมื่อโจทก์ผิดสัญญา
ตึกกับเครื่องเรือนอาจทำสัญญาแยกกันได้ จะถือเป็นสัญญาควบหรือรวมกันเสมอไปไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนโดยโจทก์ได้รบกวนไม่ให้จำเลยใช้ประโยชน์แห่งสถานที่เช่าตามสัญญาด้วยประการต่างๆ จำเลยผู้เช่าจึงมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งถึงการถูกรบกวนและให้เอาเงิน 4,000 บาทที่จำเลยวางเป็นประกันว่าจำเลยจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ใช้เป็นค่าเช่าเดือนมิ.ย. และ ก.ค. และว่าหากยังรบกวนอยู่อีกจะยึดหน่วงค่าเช่าสำหรับเดือนต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญา กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะถือว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าเช่าสำหรับ 2 เดือนดังกล่าวยังไม่ได้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าดังฟ้อง
of 11