พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พรบ.ฉลองครองราชย์ 50 ปี ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ใดๆ แม้ถูกลงโทษก่อนใช้บังคับ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออก จากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึง ต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงาน และเงินโบนัสแก่โจทก์ พระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์อ้าง เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้นดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับ โจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการล้างมลทินทางวินัยและการพิจารณาคุณสมบัติช่างรังวัดเอกชน
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มาตรา5ตอนท้ายที่ระบุว่าโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆย่อมหมายความเพียงว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้นส่วนความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยหาได้ถูกลบล้างไปด้วยไม่เพราะความประพฤติหรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วไม่อาจล้างมลทินให้หมดไปได้ กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยให้ปลดออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มีผลเพียงให้ถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้นแต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่นๆไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชนพ.ศ.2535มาตรา19(7)ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการล้างมลทินทางวินัย: ไม่ลบล้างพฤติการณ์กระทำผิดเดิม
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา60พรรษาพ.ศ.2530มาตรา5ตอนท้ายที่ระบุว่าโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆหมายความเพียงว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้นหาได้หมายความว่าความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยลบล้างไปด้วยไม่ กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษทางวินัยให้ปลดโจทก์ออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาพระราชบัญญัติล้างมลทินฯดังกล่าวมีผลเพียงให้ถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้นแต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่นๆไม่ได้ถูกลบล้างไปด้วยการที่คณะกรรมการช่างรังวัดเอกชนเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชนฯมาตรา19(7)ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินทางวินัยกับการพิจารณาคุณสมบัติช่างรังวัด: การล้างมลทินไม่กระทบประพฤติกรรม
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ. 2530 มาตรา 5 ตอนท้ายที่ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ย่อมหมายความเพียงว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยถูกลบล้างไปด้วยเพราะเรื่องความประพฤติหรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วไม่อาจล้างมลทินให้หมดไปได้ กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยให้ปลดออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มีควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา แต่ตามพระราชบัญญัติ ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มีผลเพียงให้ถือว่าโจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้นแต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่น ๆ ไม่ได้ถูกลบล้างไปด้วย ดังนั้นที่คณะกรรมการช่างรังวัดเอกชน เห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการกระทำที่ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชน พ.ศ. 2535 มาตรา 19(7)ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ลบล้างพฤติกรรมเดิม เหตุขาดคุณสมบัติช่างรังวัด
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 มาตรา 5ตอนท้ายที่ระบุว่า โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ย่อมหมายความเพียงว่า ผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้น ส่วนความประพฤติหรือการกระทำที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษทางวินัยหาได้ถูกลบล้างไปด้วยไม่ เพราะความประพฤติหรือการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วไม่อาจล้างมลทินให้หมดไปได้
กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยให้ปลดออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 มีผลเพียงให้ถือว่า โจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้น แต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่น ๆ ไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชน พ.ศ.2535 มาตรา19 (7) ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
กรมที่ดินมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยให้ปลดออกจากราชการฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 มีผลเพียงให้ถือว่า โจทก์ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการเท่านั้น แต่การกระทำหรือความประพฤติของโจทก์ที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่หรืออื่น ๆ ไม่ได้รับการล้างมลทินและเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติช่างรังวัดเอกชน พ.ศ.2535 มาตรา19 (7) ที่ว่าไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินทางวินัยกับการเลิกจ้าง: การพิจารณาโทษทางวินัยที่ได้รับการล้างมลทินแล้วและการลงโทษซ้ำ
เมื่อปี พ.ศ. 2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน1 ขั้น และถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้นส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มา กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยอีกในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติ ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้