พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งไปยังสถานที่รื้อถอนแล้ว และขาดหลักฐานความสัมพันธ์ของผู้รับ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของพัสดุ: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุและข้อตกลงระหว่างประเทศ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจากส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรกที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส. มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส. จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่งประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับกฎหมายไม่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่ การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จำนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสินค้าสูญหาย: การชดใช้ค่าเสียหายตามประเภทพัสดุ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าอัญมณีจำพวกทับทิมและไพลินเจียระไนจาก ส. ซึ่งส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์อากาศประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา ไปยังผู้รับปลายทางที่สหรัฐอเมริกา เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคแรก ที่บัญญัติให้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการฝากส่งไปรษณีย์ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ ส.มิได้จัดส่งพัสดุภัณฑ์ในประเภทพัสดุไปรษณีย์รับประกันและต่อมาพัสดุไปรษณีย์ดังกล่าวสูญหายไป ส.จึงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราการชดใช้ค่าเสียหายในประเภทพัสดุไปรษณีย์ธรรมดาตามที่ กำหนดไว้ในภาคผนวกของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2514 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 522 บาท จำเลยที่ 1 จะอ้างไม่ต้องรับผิดเนื่องจากมีข้อตกลงพัสดุไปรษณีย์ระหว่างการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกาและการไปรษณีย์แห่ง ประเทศไทยตามไปรษณีย์นิเทศข้อ 393.6 และคำสั่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ 175/2525 เช่นนั้นไม่ได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวแม้จะทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ก็หามีผลเช่นเดียวกันกับ กฎหมายไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ ส.ทราบว่าพัสดุไปรษณีย์ถึงสหรัฐอเมริกาชิ้นนี้หากสูญหายจะไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นความรับผิดหาได้ไม่
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้
การขนไปรษณีย์ภัณฑ์ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้