พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดขอบเขตการพิจารณาคดีอาญาตามฟ้อง และการเล็งเห็นผลการกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุการกระทำของจำเลยว่าจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อพร้อมรถพ่วงด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชนผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า เหตุเกิดที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร แต่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 คือ จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อพร้อมรถพ่วงพุ่งเข้าชนผู้เสียหาย เหตุเกิดที่เชิงสะพานพระราม 7 ถนนวงศ์สว่าง ตอนที่ 2 คือ จำเลยขับรถคันดังกล่าวแล่นไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ขณะที่ผู้เสียหายยืนเกาะอยู่ที่ประตูรถในลักษณะที่อาจทำให้ผู้เสียหายตกจากรถได้ และตอนที่ 3 คือ จำเลยขับรถคันดังกล่าวพุ่งเข้าชนผู้เสียหายที่ถนนจรัญสนิทวงศ์หน้าร้าน ฮ. เฟอร์นิเจอร์ ดังนี้ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่
พยานโจทก์ไม่สมเหตุผลไม่น่าเชื่อว่าจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อในลักษณะที่จะพุ่งเข้าชนผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามการที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อตรงไปในขณะที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานยืนโบกมืออยู่บนถนนเพื่อเรียกให้จำเลยจอดรถนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ารถอาจเฉี่ยวชนผู้เสียให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ความผิดฐานนี้รวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานโจทก์ไม่สมเหตุผลไม่น่าเชื่อว่าจำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อในลักษณะที่จะพุ่งเข้าชนผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามการที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อตรงไปในขณะที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานยืนโบกมืออยู่บนถนนเพื่อเรียกให้จำเลยจอดรถนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ารถอาจเฉี่ยวชนผู้เสียให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ความผิดฐานนี้รวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ที่ดินราคาเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงมิได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากมารดา ส่วนจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของ บ. ย่าของโจทก์ ซึ่งต่อมายกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ล. ภริยาจำเลยซึ่งเป็นหลาน จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของภริยา คดีนี้จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์และเมื่อหนังสือสัญญาให้ตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา มีราคาเพียง 20,000 บาท ดังนั้น ค่าเช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 88 ตารางวา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่จะมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท เมื่อคดีนี้เป็นกรณีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์นอกประเด็นในคำให้การ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินเป็นเหตุต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามคำฟ้องและใส่ชื่อโจทก์ในเอกสารสิทธิดังกล่าว พร้อมกับเรียกเก็บค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงไม่ได้สูญหายแต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 โจทก์ต้องไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้จำเลยที่ 4 ส่งมอบ ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยที่ 1 จะออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหกแปลงตามฟ้องโจทก์ให้ได้หรือไม่เพราะเอกสารสิทธิดังกล่าวไม่ได้สูญหาย แต่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 4 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ออกใบแทนเอกสารสิทธิทั้งหกแปลงให้โจทก์ไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอออกใบแทน จึงเป็นอุทธรณ์ที่นอกเหนือจากประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย: พฤติการณ์หลอกลวง-สร้างความเชื่อถือเพื่อขอกู้เงินจำนวนมาก
จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืมในลักษณะที่จะให้ผลประโยชน์มากเพียงพอที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้ หากแต่การจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายในครั้งแรก ๆ เป็นเพียงอุบายทุจริตตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายให้หลงเชื่อและส่งมอบเงินให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และการที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน และร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยรับผิดค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้น แม้ศาลฎีกาแก้แก้ค่าเสียหาย
ค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้เป็นพับ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องวางเงินค่าขึ้นศาลจำนวนนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อยื่นฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา ศาลฎีกากำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งรวมทั้งค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ โดยระบุว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้ย่อมหมายความว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลเฉพาะในศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับแก่คู่ความอยู่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเพียงใดนั้นย่อมเป็นดุลพินิจของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยไม่จำต้องคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นที่สุดตามที่จำเลยที่ 2 อ้างมา คดีนี้จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดีในจำนวนทุนทรัพย์ 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเมื่อคำนวณค่าขึ้นศาลทั้งสามชั้นศาลแล้วฎีกาจึงไม่กำหนดให้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเป็นพับไปด้วย ที่ศาลชั้นต้นไม่คืนค่าขึ้นศาลเฉพาะศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 วางใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 42,602.50 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175-176/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายโดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบข้อความก็ฟังไม่ขึ้น หากไม่มีเหตุผลแตกต่างจากครั้งก่อน
การส่งหมายเรียกและหมายนัดให้แก่จำเลยในครั้งก่อน ๆ ล้วนเป็นการส่งโดยวิธีปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสิ้น และทุกครั้งจำเลยก็ไม่เคยโต้แย้งว่ามิได้ทราบข้อความตามหมายเหล่านั้น สำหรับในครั้งนี้ก็เป็นการส่งโดยวิธีปิดหมายเช่นเดียวกัน จึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 จำเลยกล่าวอ้างมาในคำร้องและอุทธรณ์ฎีกาเพียงว่า จำเลยไม่เห็นและไม่ทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามหมายนัดดังกล่าว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการปิดหมายในครั้งนี้จึงแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ แม้มีผู้ใดรับหมายไว้แทนจำเลย จำเลยก็อาจบ่ายเบี่ยงอีกว่าผู้รับหมายไว้แทนไม่ได้นำหมายไปมอบให้จำเลย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เสียนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอท้ายฟ้องให้ชำระเงินค่าปรับปรุงที่ดินไม่ใช่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ คดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยชำระค่าทำที่ดินให้เรียบร้อย ทำขอบกันดินเช่นแปลงอื่นและยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบหลักเขตพร้อมปักหลักเขตที่ดินใหม่เป็นเงิน 25,000 บาท เป็นการขอบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เท่านั้นมิได้ให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ การที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวและเสียค่าใช้จ่ายก็เป็นเรื่องของโจทก์ในทำนองเดียวกับการเรียกค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมแซมทรัพย์สินไว้ก่อนโดยที่ยังไม่มีการซ่อมแซม ส่วนการที่โจทก์จะเรียกร้องเงิน 25,000 บาท จากจำเลยได้หรือไม่ เพียงใดนั้น ย่อมเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีต่อไปไม่อาจแปลไปได้ว่าเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอท้ายฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการทำที่ดินและการตรวจสอบหลักเขต ไม่ถือเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาได้ คดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งมีความว่า "ให้จำเลยชำระค่าทำที่ดินให้เรียบร้อย ทำขอบกันดินเช่นแปลงอื่น และการยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบหลักเขตพร้อมปักหน้าเขตที่ดินใหม่ เป็นเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)" ตามคำขอเช่นนี้เป็นการขอบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 25,000 บาท เท่านั้น มิได้ขอบังคับให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด การที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวและเสียค่าใช้จ่ายก็เป็นเรื่องของโจทก์ในทำนองเดียวกันกับการเรียกค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมแซมทรัพย์สินไว้ก่อนโดยที่ยังไม่มีการซ่อมแซม ส่วนการที่โจทก์จะเรียกร้องเงิน 25,000 บาท จากจำเลยได้หรือไม่ เพียงใดนั้น ย่อมเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีต่อไป กรณีไม่อาจแปลไปได้ว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย คดีของโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินติดทางสาธารณะ: การกีดขวางทางออกไม่ใช่เหตุให้บังคับรื้อถอน หากที่ดินส่วนบุคคลไม่ได้เชื่อมต่อโดยตรง
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวง แต่ก็มิใช่ตัวทางหลวง ไม่ว่าจะเป็นผิวจราจรหรือทางเท้า ที่ดินของโจทก์จึงมิได้เชื่อมกับถนนกันตังเนื่องจากยังมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ หากโจทก์จะเข้าออกระหว่างที่ดินของโจทก์กับถนนกันตัง โจทก์จะต้องผ่านที่ดินพิพาทเสียก่อนซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากที่ดินของโจทก์ต่อเชื่อมกับถนนกันตังโดยผ่านที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินของโจทก์มิได้ติดต่อกับถนนกันตังมาแต่เดิมเนื่องจากมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ และจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตน โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทกีดขวางทางออกสู่ถนนกันตังหาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 และมาตรา 1337 ในอันที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและต้นมะพร้าวออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินสาธารณะและการกีดขวางทางออกของที่ดินข้างเคียง สิทธิในการฟ้องรื้อถอน
จำเลยปลูกต้นไม้และก่อสร้างห้องน้ำในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะที่คั่นอยู่ระหว่างที่ดินของโจทก์กับถนนหลวง เมื่อที่ดินของโจทก์มิได้ติดต่อกับถนนหลวงมาแต่เดิมเนื่องจากมีที่ดินพิพาทคั่นอยู่ และจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเช่นนี้ โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทกีดขวางทางออกสู่ถนนสาธารณะหาได้ไม่ กรณียังไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 421 และมาตรา 1337 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนต้นไม้และสิ่งก่อสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท