พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่ทำไปหลังถูกแจ้งหนี้ค่าละเมิดจากการใช้ไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ ทำให้โมฆียะ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใด ๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใด ๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่โมฆียะ แม้จะถูกข่มขู่ หากการแจ้งหนี้และการงดจ่ายไฟเป็นสิทธิที่ทำได้ตามสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใดๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่กรณีโอนสิทธิเช่า: ผู้โอนมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินและมีอำนาจฟ้องร่วมกับผู้รับโอน
วัดผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าแก่โจทก์ที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัดยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้ การที่โจทก์ที่ 1 ต้องทำสัญญาเช่ากับวัดโดยตรงเป็นเพียงต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าอันจะเกิดขึ้นในภายหน้าเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วงและการส่งมอบทรัพย์สินที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อมีการโอนสิทธิเช่า
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่าช่วงและการรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับของจำเลย
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิด
การที่ ด. ผู้ค้ำประกันมีหนังสือถึงโจทก์ขอผ่อนชำระหนี้ทั้งหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งควรจะชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียวแต่ก็ขอแบ่งชำระเป็นงวด ๆ เป็นเพียงเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้เก่าให้ผิดไปจากเดิม มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ที่จะทำให้หนี้ระงับ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการจัดการศพของทายาทโดยธรรม และความรับผิดร่วมของทายาทอื่น
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามแต่ละคนคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมมากที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง เมื่อผู้ตายมิได้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการทำศพ และทายาทก็มิได้ มอบหมายให้บุคคลใดจัดการทำศพ โจทก์จึงมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพของผู้ตายตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์จัดการทำศพไปแล้วย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการจัดการทำศพจากกองมรดกได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1650 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดการทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 253 (2) การที่โจทก์ได้ใช้จ่ายเงินในการทำศพผู้ตายไปหากไม่เป็นจำนวนเกินสมควรแล้ว โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามมาตรา 253 (2) ประกอบมาตรา 1739 (2) จึงมีอำนาจฟ้อง ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดในเงินดังกล่าวตามส่วนแต่ต้องไม่เกินจากทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสามได้รับ
โจทก์จัดการทำศพไปแล้วย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการจัดการทำศพจากกองมรดกได้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1650 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดการทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 253 (2) การที่โจทก์ได้ใช้จ่ายเงินในการทำศพผู้ตายไปหากไม่เป็นจำนวนเกินสมควรแล้ว โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามมาตรา 253 (2) ประกอบมาตรา 1739 (2) จึงมีอำนาจฟ้อง ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดในเงินดังกล่าวตามส่วนแต่ต้องไม่เกินจากทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสามได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1761/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายจัดการศพของทายาทโดยธรรมเมื่อผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการศพ
โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสามแต่ละคนคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมมากที่สุด เมื่อผู้ตาย มิได้ตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการศพ และทายาทก็มิได้มอบหมายให้บุคคลใดจัดการทำศพ โจทก์จึงมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพผู้ตายตามกฎหมาย เมื่อโจทก์จัดการศพไปแล้วย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการจัดการศพจากกองมรดกได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1650 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา 253(2) ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจัดการทำศพผู้ตายไปหากไม่เป็นจำนวนเกินสมควรแล้ว โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามมาตรา 253(2) ประกอบมาตรา 1739(2)จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดในเงินดังกล่าวตามส่วนแต่ต้องไม่เกินจากทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสามได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้: การดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและการพิสูจน์การยึดทรัพย์ที่ถูกต้อง
กรณีที่จะเป็นการยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณสถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียนเมื่อโจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่และต้องห้ามตามมาตรา 284 วรรคหนึ่ง หรือไม่ กรณีตามคำร้องของจำเลยยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้ตามคำพิพากษาและการดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 304
โจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้จากจำเลยไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามคำร้องตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 304 บัญญัติไว้แต่อย่างใด ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่ และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ดังจำเลยอ้างหรือไม่ กรณีตามคำร้องยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามคำร้องตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 304 บัญญัติไว้แต่อย่างใด ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่ และต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ดังจำเลยอ้างหรือไม่ กรณีตามคำร้องยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้