พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่าเดิม-บอกเลิกสัญญาใหม่-ฟ้องขับไล่ได้ แม้มีการรับค่าเช่าภายหลัง
สัญญาเช่าอาคารและพื้นที่ว่างด้านหลังอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 564 ซึ่งย่อมระงับสิ้นไป เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ การที่ภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ได้ประกาศแจ้งความประสงค์แก่ผู้ที่ค้าขายหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่จำเลยเช่าว่าโจทก์จะไม่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่ารายใดรวมถึงจำเลยด้วยนั้น ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ทั้งที่โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติเช่นนั้น การที่โจทก์ยอมรับค่าเช่าจากจำเลยต่อมาเป็นเพียงรับไว้ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอยู่จากการที่จำเลยยังไม่ส่งมอบพื้นที่เช่าเท่านั้นหาใช่เป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่อย่างใดไม่เมื่อจำเลยยังไม่ออกจากพื้นที่เช่าดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องของห้องชุดเกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่สัญญา เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาได้
ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่จำเลยเปลี่ยนแปลงผนังห้องชุดจากอิฐฉาบปูนไปเป็นผนังยิปซัม ก่อสร้างห้องน้ำสำหรับห้องนอนใหญ่เปลี่ยนไปจนล้ำเข้าไปในเนื้อที่ของห้องนอนใหญ่ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ห้องน้ำรวมทั้งเนื้อที่ของห้องชุดจากทั้งหมด 117 ตารางเมตรเหลือเพียง 96 ตารางเมตรขาดหายไป 21 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 17.95 ของเนื้อที่ตามสัญญาที่ทำกับโจทก์นั้น ล้วนแต่เป็นข้อสำคัญ โดยเฉพาะเนื้อที่ที่ขาดตกบกพร่องเกินกว่าร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมด อันเป็นการขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยอย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466ฎีกาจำเลยที่โต้เถียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกา ซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมายเห็นว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นปัญหาที่ไม่ควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยล้วนมีสาเหตุหลายประการมิใช่เพียงสาเหตุที่จำเลยได้ใช้แผ่นยิปซัมเป็นฉากแต่ประการเดียวตามที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ ดังนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อนี้ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังผิดกฎหมายสิ้นสุดเมื่อมีการฟ้องคดีและจำเลยถูกขังตามหมายขังของศาล
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไวัโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอปล่อยตัวจากการคุมขังไม่ชอบด้วยกฎหมายสิ้นสุดเมื่อมีหมายขังใหม่จากศาล
สิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น จะมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. ว่าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาลชั้นต้นได้นั้น ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยในความผิดต่อ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ต่อศาลชั้นต้น โดยจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาการควบคุม พ. ในชั้นสอบสวนว่าชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ฎีกาของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9701/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกใบกำกับภาษีเท็จและบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้กระทำผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวด 4 เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น แม้คดีนี้จำเลยที่ 3 จะมีอาชีพค้าขายก๋วยเตี๋ยวมิได้ประกอบกิจการค้าอื่น แต่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้ น. พี่ชายนำสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปจดทะเบียนเป็นห้างจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างดังกล่าว และยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการ โดยใช้บ้านพักของตนเป็นสถานประกอบการโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการประกอบกิจการตามที่ได้มีการจดทะเบียนไว้แต่อย่างใด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ถือได้ว่าได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในการออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิจะออกโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 90/5 ประกอบด้วย มาตรา 90/4 (3) และ (6)
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ร่วมกันออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของหลายบริษัทโดยไม่มีสิทธิออกเนื่องจากไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริง โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ต่างวาระกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ร่วมกันออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของหลายบริษัทโดยไม่มีสิทธิออกเนื่องจากไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริง โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ต่างวาระกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดฐานฉายวิดีโอคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะ อันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี แผ่นวิดีโอซีดี และเครื่องเสียงพร้อมลำโพง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 เพราะจำเลยได้นำไปฉายหรือให้บริการ วิดีโอซีดีคาราโอเกะที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงบริการลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควมคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4, 20 วรรคสอง, 38 แต่ผู้ร้องทราบความต้องการของจำเลยว่าจำเลยต้องการติดตั้งตู้คาราโอเกะอย่างเร่งด่วนในทันทีแม้จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอาใจลูกค้ารวมถึงกิจการค้าขายเจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุที่คำพิพากษาเดิมไม่ชอบ มิใช่เพียงอ้างว่าหากต่อสู้แล้วจะชนะ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยได้ต่อสู้คดีจำเลยต้องชนะคดีได้ คำร้องของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลประการใด และหากมีการพิจารณาคดีใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีได้อย่างไร จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9452/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ล่าช้า ต้องระบุวันที่ทราบคำบังคับชัดเจน จึงจะถือว่าแจ้งเหตุอย่างละเอียด
ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า แม้จำเลยจะอ้างในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า จำเลยไปประกอบธุรกิจต่างจังหวัดเป็นเวลาปีเศษ ไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันแสดงว่าจำเลยได้อ้างเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับให้จำเลยเป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยหาได้กล่าวไว้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่เท่าใด เพื่อให้ทราบว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใดอันไม่อาจเริ่มต้นนับกำหนด 15 วันได้ถือได้ว่าจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณียื่นคำขอล่าช้าและเหตุแห่งการล่าช้านั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยต้องไม่ใช่ความผิดผู้ประสบภัย และป้องกันไม่ได้แม้ใช้ความระมัดระวัง
เหตุที่จะถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลผู้นั้นและต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แม้บุคคลผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่จำเลยได้ประกาศขายโครงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งโจทก์ไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ตระเตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อน เมื่อเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้กู้ในระหว่างนั้นอันเป็นผลมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้การดำเนินกิจการโครงการก่อสร้างหยุดชะงักอันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยโดยแท้ที่ไม่เตรียมป้องกันทั้ง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้