พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584-2585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่อิงราคาประเมินเบื้องต้น ย่อมมีผลผูกพัน แม้เนื้อที่จริงคลาดเคลื่อน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนฯ กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ถูกต้องตามขั้นต้นของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แม้จะระบุไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ข้อ 2 (1) ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ก็ตาม แต่ในข้อ 8 ก็ระบุว่า ถ้ามีการคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงยินยอมให้คิดราคาค่าทดแทนตามจำนวนเนื้อที่ที่ซื้อขายตามความเป็นจริงที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว เนื้อที่ที่ถูกเวนคืนที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ดังกล่าว เป็นการประมาณการ แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินจึงทราบเนื้อที่ที่ดินจำนวนที่แน่อนอนว่าถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 30.90 ตารางวา มากกว่าที่ประมาณการไว้เนื้อที่ 42.90 ตารางวา ซึ่งก็คือจำนวนเดียวกันกับที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มาตั้งแต่ต้นอันเป็นส่วนเดียวกันกับที่โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฯ ที่ทำขึ้นถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินเนื้อที่ 42.90 ตารางวา คืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์จากการประมูลขายทอดตลาด แม้มีการคัดค้าน การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
การพิจารณาเรื่องอำนาจฟ้องต้องพิจารณาในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาล คดีนี้โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 92998 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในทรัพย์พิพาทโดยบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ แม้ภายหลังจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม คงเป็นเพียงการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด เท่านั้น หาใช่เรื่องการขายทอดตลาดตกเป็นโมฆะไม่ และตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด สิทธิของโจทก์ในที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทก็ยังคงบริบูรณ์อยู่ คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีสบัญญัติของจำเลยไม่กระทบต่อสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ จำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์พิพาท จำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์จากการขายทอดตลาด vs. คำร้องเพิกถอน: สิทธิของผู้ซื้อยังคงบริบูรณ์จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
การพิจารณาเรื่องอำนาจฟ้องต้องพิจารณาในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์ประมูลซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล ดังนั้นนับแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในทรัพย์พิพาทโดยบริบรูณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติแม้ภายหลังการขายทอดตลาดจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตามคงเป็นเพียงการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น หาใช่เรื่องการขายทอดตลาดตกเป็นโมฆะไม่ และตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดสิทธิของโจทก์ในทรัพย์พิพาทก็ยังคงบริบูรณ์อยู่ คำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีสบัญญัติของจำเลยไม่กระทบต่อสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์พิพาทอีกต่อไป เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกไปจากทรัพย์พิพาทและจำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท และเรียกค่าเสียหายจากการเพิกเฉยไม่ออกไปจากทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6542/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การไม่รอฟังคำสั่งศาลชั้นต้นถือเป็นความบกพร่องของทนาย
ในวันที่ 14 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 1 เดือน แล้วไม่รอฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาให้เพียงถึงวันที่ 21 กันยายน 2544 มิใช่ระยะเวลา 1 เดือนตามที่ขออันเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ และการที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดวันที่ 21 กันยายน 2544 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังกล่าว แต่กลับมายื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน เมื่อภายหลังระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ได้หมดสิ้นไปแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อ้างเหตุสุดวิสัยไว้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดถึงตัวผู้เสียหาย ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และพวกคนร้ายนั่งอยู่ด้วยไปจอดที่หน้าบ้านเกิดเหตุ คนร้ายส่วนหนึ่งไปเคาะประตูบ้านเกิดเหตุ เรียกให้คนงานเปิดประตูและส่งเงินให้ มิฉะนั้นจะยิง เจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มอยู่จะเข้าจับกุม คนร้ายดังกล่าววิ่งขึ้นรถยนต์กระบะซึ่งจำเลยที่ 1 ขับย้อนกลับมาพาหลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจจึงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกไว้ได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกย่อมมีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกประสงค์จะปล้นทรัพย์ชาวมอญซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และได้ลงมือปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดว่าผู้ที่อยู่ในบ้านเกิดเหตุเป็นชาวมอญ แต่ความจริงเป็น ส. ผู้เสียหาย เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะยกความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้เจตนากระทำต่อ ส. หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่การพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรจุผลได้อย่างแน่แท้
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกประสงค์จะปล้นทรัพย์ชาวมอญซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และได้ลงมือปล้นทรัพย์โดยสำคัญผิดว่าผู้ที่อยู่ในบ้านเกิดเหตุเป็นชาวมอญ แต่ความจริงเป็น ส. ผู้เสียหาย เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะยกความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้เจตนากระทำต่อ ส. หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่การพยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถบรรจุผลได้อย่างแน่แท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อหน้าธารกำนัล แม้ไม่มีผู้เห็นโดยตรงก็ถือเป็นธารกำนัลได้
คำว่า "อนาจาร" มีความหมายว่าเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวบุคคลที่ไม่สมควรทางเพศซึ่งมิได้หมายความเฉพาะการประเวณีหรือความใคร่เท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำให้อับอายขายหน้าในทางเพศด้วย การที่จำเลยกอดเอวโจทก์ร่วม จับมือและดึงแขนโจทก์ร่วมเช่นนั้นจึงเป็นการกระทำอนาจารแก่โจทก์ร่วมโดยใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 แม้บางตอนจำเลยจะได้กระทำขณะอยู่ในรถยนต์กระบะแต่การที่จำเลยจับมือและดึงแขนโจทก์ร่วมให้เข้าไปในห้องพักของโรงแรมขณะอยู่ต่อหน้าพนักงานโรงแรมเช่นนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยในที่ซึ่งอาจมีคนเห็นได้ แม้ไม่มีผู้ใดเห็นในขณะกระทำนั้นก็เป็นธารกำนัลแล้ว เพราะการกระทำต่อหน้าธารกำนัลมิได้หมายความเฉพาะแต่กระทำโดยประการที่ให้บุคคลอื่นได้เห็นโดยแท้จริงเท่านั้น เพียงแต่กระทำในลักษณะที่เปิดเผยให้บุคคลอื่นสามารถเห็นได้ก็เป็นต่อหน้าธารกำนัลแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำอนาจารแก่โจทก์ร่วมโดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อหน้าธารกำนัล จึงเป็นความผิดที่มิใช่ความผิดอันยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นริบของกลางซ้ำ หากคำสั่งริบในคดีหลักถึงที่สุดแล้ว
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่า ศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเรือของกลางคดีลักลอบขนน้ำมัน: เจ้าของเรือเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือไม่
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินที่มิใช่ของตน
ช. และ ป. ยกที่ดินพิพาทให้ ภ. มารดาโจทก์ แม้การให้จะไม่สมบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของ ภ. จากบุคคลอื่น ภ. ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของตั้งแต่ได้รับการยกให้ตลอดมาจนถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรได้ครอบครองต่อมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ดังนั้น การที่ ป. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ทรัพย์ของตนเองให้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ถูกต้องและสิทธิในการอุทธรณ์เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนในครั้งนี้โดยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะในส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนตารางวาละ 40,000 บาท อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24 หากโจทก์เห็นว่า ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เฉพาะเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเท่านั้นยังไม่ชอบเพราะการเวนคืนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามมาตรา 21 วรรคสาม กรณีนี้มิใช่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เป็นกรณีที่ไม่กำหนดเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอันทำให้โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดซึ่งโจทก์สามารถที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เพื่อขอให้รัฐมนตรีวินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงตามขั้นตอนที่มาตรา 25 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ก่อนใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้