คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ซึ่งต่อมาคู่ความในคดีดังกล่าวตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ส่วนคดีนี้โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอ้างเหตุผลเดียวกันว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับที่ดินของส. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอันเป็นการฟ้องอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 แม้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 รายเดียวกันนั่นเองโจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่ความเดียวกันและต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งมีคำวินิจฉัยมาแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลคดีเลือกตั้งเป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้ แม้มีข้อผิดพลาดทางกฎหมาย
ผู้ร้องทั้งสี่ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 57เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้คัดค้าน และเมื่อศาลสั่งอย่างใดแล้วให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านทั้งแปดผู้ได้รับเลือกตั้งยื่นคำคัดค้านแล้วว่าตนได้รับการเลือกตั้งมาโดยชอบและต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนผู้คัดค้านที่ 4และที่ 5 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความหมายของมาตรา 58 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลแล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดทุกกรณีคู่ความไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายฉะนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งแปดอุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 เนื่องจากมิได้วินิจฉัยว่าคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่เคลือบคลุมหรือไม่ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทั้งแปดจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อฎีกาของผู้คัดค้านทั้งแปดต้องห้ามแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาดังกล่าวไว้จึงไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิทธิขายอาหาร: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมของผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟ ไม่ใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์บริเวณสถานีรถไฟเพียงอย่างเดียว หากแต่ให้สิทธิโจทก์ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงส่วนที่เป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ไม่ได้ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเข้าทุบร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งห้ามปราม แต่กลับขอให้จำเลยที่ 1 ลดค่าเช่าให้เนื่องจากไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติ พฤติการณ์มีเหตุเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อปรับปรุงอาคารเสร็จ เคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงเป็นห้องประชาสัมพันธ์ และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์สถานที่เช่าตามสัญญาได้อีก จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิทธิ: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมาระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ตกลงว่า โจทก์จะรักษาที่เช่าให้คงอยู่ในสภาพเรียบร้อยและจะรักษาความสะอาดโดยกวดขัน โจทก์จะไม่ปลูกขึ้นใหม่ หรือปลูกสร้างต่อเติมส่วนหนึ่งส่วนใดขึ้นในสถานที่เช่า โจทก์ต้องยอมให้จำเลย หรือพนักงานจำเลยเข้าตรวจสถานที่เช่าได้ทุกเมื่อ จะไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงมิใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเท่านั้น หากแต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วยโดยถือเป็นสถานที่เช่าตามสัญญาเช่าสิทธิ ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ดังนั้น จำเลยจะเข้าปรับปรุงอาคารส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์: การปรับปรุงสถานที่เช่า, ความเสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
แม้โจทก์ทำสัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่าโจทก์ต้องรักษาที่เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต้องไม่ปลูกสร้างต่อเติมส่วนใดส่วนหนึ่งต้องให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจที่เช่าได้ทุกเมื่อ และต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นเป็นข้อสัญญาที่มิได้ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครอง ส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วย ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ดังนั้น ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟดังกล่าวในส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์อันเป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ให้ฝ่ายช่างโยธามาทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือห้ามปราม ฉะนั้น การที่โจทก์มาร้องขอลดค่าเช่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติหลังจากจำเลยที่ 1 เข้าปรับปรุงอาคารแล้วถึง 1 เดือนเศษ จึงเป็นพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อการปรับปรุงอาคารเสร็จแล้วเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงกลายสภาพเป็นห้องประชาสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์สืบมาอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าตามสัญญาได้ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิ่งราวทรัพย์ การสืบพยานก่อนฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานผ่านล่ามที่ไม่ได้รับการรับรอง
การสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันยากแก่การนำมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีแม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ"แต่จำเลยก็มิได้ยืนยันว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองในคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง
แม้ ส. จะเป็นเพียงเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่ามก็ตาม เมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยโดยมี ส. เป็นล่ามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 วรรคสี่ และ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองโดยราชการชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลซึ่งจะต้องนำมาสืบในภายหน้าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ยากแก่การนำมาสืบ ดังนี้การสืบพยานผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และก่อนสืบพยานศาลก็ได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ได้ต้องการทนายความ การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสืบพยานผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ โจทก์ได้จัด อ. เป็นล่าม ซึ่งก่อนจะแปลคำเบิกความ อ. ได้สาบานตนแล้ว แม้ อ. จะเป็นเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองเป็นล่ามก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ อีกทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กและพาหญิงเพื่อการอนาจาร โดยพระภิกษุใช้อำนาจครอบงำผู้เสียหาย
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษ ผู้เสียหายพักอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 284 วรรคแรก ให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุก
10 ปี ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และความผิดฐานกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี รวมจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เฉพาะความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม มาตรา 91 เมื่อรวมโทษจำคุกทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นวางโทษแล้ว ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โทษจำคุกในความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก จึงถูกลดโทษลงเหลือ 8 เดือน และโทษจำคุกในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ถูกลดโทษลงเหลือ 2 ปี 8 เดือน อันเป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กำหนดโทษจึงคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว โทษจำคุกคงเหลือ 6 ปี 8 เดือน ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยเรียกเด็กหญิง พ. ไปพบเพื่อบอกให้ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่กุฏิ เมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยแล้ว จำเลยได้ว่าจ้างรถยนต์กระบะพาผู้เสียหายไปวัดอื่นโดยให้ผู้เสียหายพักหลับนอนกับจำเลยที่กุฏิวัด 2 คืน ระหว่างนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปีเศษ ย่อมเกรงใจจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุผู้อุปการะ ครอบครัวของผู้เสียหายเป็นธรรมดาจึงจำต้องยอมติดตามจำเลยไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม ทั้งย่อมเป็นพฤิตการณ์บังคับให้ผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำทำอนาจารและกระทำชำเราในเวลากลางคืนอันเป็นการกระทำที่ล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย และเป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมจำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
of 24