คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า ต้องรอการวินิจฉัยของ คชก. ก่อน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้ คชก. ตำบลมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาด้วย โดยต้องพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นแม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านหรือไม่มีคำร้องขอให้วินิจฉัย ก็ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลง หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดตามมาตรา 37(1) ถึง (4) หรือไม่ เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยแล้วผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัดได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีของโจทก์เมื่อ คชก. ตำบลยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่านาตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์/ฎีกา: กรณีคดีขอปลดเปลื้องทุกข์ที่ไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตารางค่าธรรมเนียม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การแล้วเห็นว่าคดีไม่จำต้องสืบพยานบุคคลจึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยพิเคราะห์จากคำแถลงของคู่ความและเอกสารที่ส่งศาลโจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การจำเลย ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์จำเลยใหม่ แม้จะอุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องมาด้วยก็เป็นการโต้แย้งข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เท่านั้น ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในเนื้อหาที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แม้อุทธรณ์ข้อนี้จะฟังขึ้น ก็จะเข้าไปวินิจฉัยเรื่องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มยังไม่ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน ต้องย้อนสำนวนไปให้สืบพยานแล้วพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกาเกินจริง: กรณีอุทธรณ์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์
แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ผู้ฎีกาก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเริ่มนับจากวันที่จ่ายเงินให้ผู้ถูกเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินทดแทนนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม การรับผิดชำระดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนหาใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยหรือไม่ และหนังสือของจำเลยที่แจ้งโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทนไม่ระบุว่าให้ไปรับเงินวันใดแต่ได้ความว่าจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539 จึงถือได้ว่าเป็นวันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ดิน ส่วนที่เพิ่มนับแต่วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนกลายเป็นที่สาธารณะ แม้ไม่มีการจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกแก่ผู้รับโอนต่อๆ กัน
พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนกับนายอำเภอภาษีเจริญและรับเงินค่าทดแทนไปครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความว่า พ. ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเพื่อจัดสร้างถนน โดยจะนำโฉนดไปขอรังวัดแบ่งแยกเป็นที่ดินสาธารณะและให้ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าดูแลสถานที่ได้ทันทีนับแต่วันทำสัญญา เห็นได้ชัดเจนว่า พ. มีเจตนาขายที่ดินพิพาทเพื่อให้ก่อสร้างถนนสาธารณะโดยให้ยอมสร้างได้ทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันทันทีนับแต่วันทำสัญญา แม้ภายหลังจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกันก็ตาม ที่ดินพิพาทจึงจะโอนให้แก่กันมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 การที่ พ. แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทออกเป็นชื่อของ พ. แล้วมีการโอนต่อให้ อ. และ อ. นำไปขายฝากให้แก่ น. แล้ว น. โอนให้แก่โจทก์ผู้รับโอนต่อ ๆ มารวมทั้งโจทก์ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของ พ. ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซื้อคืนที่ดินเช่า: ต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพิกถอนคำวินิจฉัยก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก. จังหวัดเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเสียก่อน การที่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยโจทก์จึงชอบที่จะฟ้อง คชก. จังหวัดเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุให้จำเลยโอนขายที่นาพิพาทคืนโจทก์ จึงเท่ากับขอให้กลับคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัด ดังนั้น ที่โจทก์ไม่ฟ้องหรือร้องขอให้เรียก คชก. จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยขายที่นาพิพาทคืนโจทก์โดยลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์ เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 , 9 , 11 , 13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นวันก่อนที่ พ.ร.ฎ. สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออก พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้มีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์มีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการจึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)
of 24