คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเทพ เจตนาการณ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และวางค่าธรรมเนียม ศาลควรให้โอกาสชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งไม่รับอุทธรณ์
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2541 ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ และเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่จำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นออกไปอีก 15 วัน แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องและสั่งไม่รับอุทธรณ์ไปพร้อมกันในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะเห็นควรยกคำร้องขอขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมของโจทก์ แต่เมื่อยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นควรให้โอกาสแก่โจทก์ทั้งสองชำระหรือวางเงินดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แปลงหนี้จากค่าแชร์เป็นกู้ยืม การหักกลบลบหนี้ และการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เล่นแชร์กันโดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ เมื่อจำเลยที่ 1ประมูลแชร์ได้รับเงินไปแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ส่งค่าแชร์และดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์ต้องชำระค่าแชร์ให้ผู้ประมูลได้แทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 128,500 บาทโจทก์จึงระบุยอดเงินจำนวนดังกล่าวในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อในสัญญาแล้วให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อค้ำประกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จากหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ หนี้ค่าแชร์ระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับโดยสมบูรณ์
ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าโจทก์หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการหักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการนำสืบการใช้เงินของจำเลยทั้งสองโดยเห็นว่าต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แปลงหนี้ค่าแชร์เป็นหนี้เงินกู้ การชำระหนี้โดยหักกลบ และการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อจำเลยมีมูลหนี้ที่จะต้องชำระค่าแชร์แก่โจทก์ และโจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนจากมูลหนี้ค่าแชร์มาเป็นหนี้เงินกู้ จึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้ค่าแชร์จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้แล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สัญญากู้ยืมเงินชอบด้วยกฎหมาย มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในลักษณะหนี้กู้ยืม การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าโจทก์ ได้หักเงินค่าแชร์ของจำเลยชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยแล้ว เป็นการอ้างว่าจำเลยได้ชำระหนี้อย่างอื่นโดยการ หักกลบลบหนี้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8907/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นในคดีครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงข้ออ้างนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งมีชื่อ ว.เป็นเจ้าของโดยสงบเปิดเผยมีเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 23 ปี ว. กับโจทก์สมคบกันฉ้อฉลจำเลยด้วยการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนทำให้จำเลยซึ่งมีสิทธิที่จะบังคับให้ ว. ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทได้ก่อนโจทก์ต้องเสียเปรียบ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทหรือไม่ เป็นการกำหนดตามคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิมนับแต่ปี 2516 จำเลยแสดงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ด้วยการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทต่อธนาคารตลอดจนนำบ้านพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าและรับค่าเช่าเรื่อยมา แตกต่างไปจากที่ได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงอยู่นอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: น.ส.3ก. กับ สิทธิครอบครอง เป็นคนละส่วนกัน การคืน น.ส.3ก. ไม่ใช่การได้คืนการครอบครอง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) สำหรับที่ดินกับที่ดินพิพาทหรือสิทธิครอบครองในที่ดินถือเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้จากการที่โจทก์สามารถขอให้ทางราชการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้ใหม่ได้ แต่สิทธิครอบครองเป็นลักษณะอาการทางกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งจะได้มาก็ต้องด้วยเจตนายึดถือทรัพย์สินหรือที่ดินพิพาทไว้เพื่อตนเองเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คืนจากจำเลยและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์ จึงไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันจำเลยได้ยึดถือตัวทรัพย์ไว้หรืออาจยึดถือตัวทรัพย์ไว้เพื่อตน ซึ่งโจทก์จะต้องไปดำเนินการในเรื่องถูกแย่งการครอบครองและฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืนจากการครอบครองของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ราชการ: การมีสัญญาเป็นหนังสือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบการลาศึกษาต่อของโจทก์แสดงให้เห็นว่าต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขในการรับราชการชดเชย เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีการทำสัญญาเป็นหนังสือระบุเงื่อนไขให้จำเลยที่ 1 รับราชการชดเชยเป็นสองเท่าไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับราชการชดเชยเป็นสองเท่าตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8891/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา และการผิดสัญญาหลังไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
โจทก์ไม่ได้จัดให้จำเลยทำสัญญาผูกมัดและกำหนดเวลาทำงานชดเชยไว้ กรณีเท่ากับเป็นการไม่มีสัญญาหรือข้อผูกมัดที่จะผูกพันหรือบังคับให้จำเลยต้องรับผิดชอบตามสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นสองเท่าของเวลาที่ไปศึกษาปริญญาโท
ส่วนที่จำเลยได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 6 ปีเศษ จำเลยจะต้องรับราชการชดเชยให้โจทก์เป็นเวลา 12 ปีเศษ เมื่อคำนวณระยะเวลาที่จำเลยเข้ารับราชการหลังจากกลับจากสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 10 ปีเศษ เมื่อรวมเวลากับที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษ รวมเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก 13 ปีเศษ เมื่อหักกลบลบกันแล้วจำเลยยังรับราชการชดใช้ทุนเกินไป 1 ปีเศษ ส่วนกรณีที่จำเลยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ป่าไม้ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติณ ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 2 ปีเศษนั้นจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะรับราชการเป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้ปฏิบัติงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับราชการชดเชย เมื่อจำเลยกลับจากประเทศบังคลาเทศเข้ามารับราชการให้แก่โจทก์เป็นเวลา 11 เดือนแล้วลาออกจากราชการ จึงเหลือเวลาที่จะต้องปฏิบัติราชการชดเชยให้โจทก์อีก 23 เดือน 1 วัน ซึ่งถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามการคำนวณจำนวนวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. และไม่มีการแจ้งเหตุ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 54 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้จดหมายเลขบัตรและสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลักฐาน ตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน..." และมีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "การตรวจสอบการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ 101 หรือข้อ 102 ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐาน และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐาน และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งหนึ่งบัตรให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน พร้อมทั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งตรงใต้ช่องพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย" ข้อ 106 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้วให้ไปยังคูหาลงคะแนน แล้วทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งหนึ่งเครื่องหมาย และนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง" ตามบทบัญญัติและระเบียบดังกล่าวกำหนดวิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไว้เป็นขั้นเป็นตอน นับแต่ตรวจสอบหลักฐานของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิ มอบบัตรเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและควบคุมการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้ง เห็นได้ว่า หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องบันทึกเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐานอื่นใดพร้อมสถานที่ออกบัตรของผู้ไปใช้สิทธิในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ในทางตรงข้ามหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็จะไม่ปรากฏบันทึกของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรณีของผู้คัดค้าน ผู้ร้องมีพยานบุคคลเบิกความประกอบเอกสารราชการอันเป็นหลักฐานในเบื้องต้นว่า ผู้คัดค้านมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านนำพยานบุคคลเข้าสืบพิสูจน์ว่าได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ในขั้นตอนการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ได้จดเลขประจำตัวประชาชนและไม่ได้ให้ผู้คัดค้านลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขั้นตอนการมอบบัตรเลือกตั้งนอกจากผู้คัดค้านพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งแล้ว ผู้คัดค้านยังได้ลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรด้วย และขั้นตอนการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้งผู้คัดค้านไม่ได้หย่อนบัตรด้วยตนเองแต่มอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน วิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดังที่ผู้คัดค้านนำสืบล้วนแต่ขัดแย้งกับขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 และ 106 ทั้งสิ้น เมื่อผู้คัดค้านนำสืบแสดงข้อเท็จจริงไม่ได้ว่าตนได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 และคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนนทบุรีได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุหรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิได้เป็นเหตุอันสมควร โดยมีชื่อผู้คัดค้านอยู่ในบัญชีดังกล่าว และผู้คัดค้านมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้คัดค้านจึงเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(คำสั่งศาลฎีกา)
of 24